วิกฤติ “พลังงาน” ลากยาว “พาณิชย์”ขยับเงินเฟ้อปีนี้ 4.5%

วิกฤติ “พลังงาน” ลากยาว “พาณิชย์”ขยับเงินเฟ้อปีนี้ 4.5%

พาณิชย์ ปรับเป้าเงินเฟ้อปี 65 เป็น 4.5% หลังเงินเฟ้อสูงต่อเนื่อง จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำราคาพลังงานพุ่ง คาดเดือนเม.ย.ยังสูงต่อ

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือน มี.ค.2565 เท่ากับ 104.79 เทียบกับเดือน ก.พ.2565 เพิ่มขึ้น 0.66% และเมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.2564 เพิ่มขึ้น 5.73% ถือว่าสูงสุดในรอบ 13 ปี นับจากปี 2551 หลังจากทำสถิติสูงสุดในรอบ 13 ปีมาแล้วเมื่อเดือน ก.พ.2565 ที่สูงขึ้น 5.28% ส่วนเงินเฟ้อรวมไตรมาส 1 ปี 2565 (ม.ค.-มี.ค.) เพิ่มขึ้น 4.75% 

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งหักอาหารสดและพลังงานที่มีความผันผวนด้านราคาออก อยู่ที่ 102.43 เพิ่มขึ้น 0.23% เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.2565 และเพิ่มขึ้น 2.0% เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.2564 และรวมไตรมาส 1 ปี 2565 เพิ่มขึ้น 1.43%

สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อเดือน มี.ค.2565 สูงขึ้น มาจากสินค้าในกลุ่มพลังงานสูงขึ้น 32.43% โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น 31.43% และค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้น 39.95% 

รวมถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าประเภทอาหาร ได้แก่ ผักสด เพิ่ม 9.96% เนื้อสัตว์ ทั้งสุกร ไก่สด เพิ่ม 5.74% ไข่ไก่และผลิตภัณฑ์นม เพิ่ม 6.08% เครื่องประกอบอาหาร เพิ่ม 8.16% อาหารบริโภคในบ้าน เช่น กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว เพิ่ม 6.28% และอาหารบริโภคนอกบ้าน เช่น ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง เพิ่ม 6.15% โดยปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ และยังมีสาเหตุจากฐานราคาในเดือนเดียวกันของปีก่อนอยู่ในระดับต่ำ มีส่วนทำให้เงินเฟ้อในเดือนนี้สูงขึ้น

วิกฤติ “พลังงาน” ลากยาว “พาณิชย์”ขยับเงินเฟ้อปีนี้ 4.5%

เงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาสูงขึ้น 5.73% มีสาเหตุสำคัญจากราคาพลังงานในตลาดโลกที่เร่งสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น และราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ก็ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการคว่ำบาตรของสหรัฐและพันธมิตรที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจหลายประเทศทั่วโลก” นายรณรงค์ กล่าว

นอกจากนี้ ยังคงมีสินค้าที่จำเป็นอีกหลายรายการที่ราคาปรับลดลง เช่น ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง รวมถึงผลไม้สดบางชนิดที่ราคาลดลง เช่น ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง กล้วยหอม ในขณะที่ค่าใช้จ่ายการบันเทิง การอ่านและการศึกษาลดลงเช่นกัน เช่น ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา และเครื่องนุ่งห่ม เช่น กางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยืดสตรีและบุรุษ

ทั้งนี้ ในเดือน มี.ค.2565 มีสินค้าที่ราคาสูงขึ้น 280 รายการ เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง อาหารกลางวัน ข้าวราดแกง กับข้าวสำเร็จรูป เนื้อสุกร ไข่ไก่ อาหารเช้า น้ำมันพืช น้ำประปา เป็นต้น  สินค้าไม่เปลี่ยนแปลง 59 รายการ เช่น ค่าใบอนุญาตขับขี่ ค่าเบี้ยประกันทรัพย์สิน ค่าเดินทางไปเยี่ยมญาติและทำบุญ ค่าเบี้ยประกันภัยรถ ค่าเบี้ยประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) ค่าภาษีรถยนต์ประจำปี และราคาลดลง 91 รายการ เช่น ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ส้มเขียวหวาน ขิง ค่าธรรมเนียมการศึกษา ถั่วฝักยาว ค่าเช่าบ้าน กล้วยหอม และผลิตภัณฑ์ซักผ้า น้ำยาซักแห้ง

ส่วนแนวโน้มเงินเฟ้อในเดือน เม.ย.2565 คาดว่ายังคงสูงขึ้น เมื่อพิจารณาจากตัวเลขในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดย ม.ค.ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 3.23% เดือน ก.พ.เพิ่ม 5.28% และเดือน มี.ค.เพิ่ม 5.73% 

ในขณะที่ผลกระทบจากสงคราม “รัสเซีย-ยูเครน” ที่ยังไม่ยุติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศพันธมิตรประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตร ซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของไทย ซึ่งปัญหาสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน อาจยังไม่น่ากังวลเท่ากับสงครามการค้าที่จะเกิดขึ้นคู่ขนานกันไป จากการที่สหรัฐและชาติพันธมิตรออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเนื่องกับหลายประเทศทั้งในด้านของราคาพลังงาน น้ำมัน ปิโตรเคมี สินแร่ สินค้าเกษตรต่างๆ และจะเป็นผลกระทบในระยะยาวได้มากกว่า

สนค.ได้ปรับประมาณการเป้าหมายเงินเฟ้อทั้งปี 2565 ใหม่ เป็น 4-5% มีค่ากลางที่ 4.5% สูงสุดในรอบ 13 ปี นับตั้งแต่ปี 2551 ภายใต้สมมติฐานจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 3.4-4.5% น้ำมันดิบดูไบ 90-110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยน 32-34 บาทต่อดอลลาร์  จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา อยู่ที่ 0.7-2.4% ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีภาวะสงคราม แต่ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว และห​ากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอัตราเงินเฟ้อของปีนี้อีกครั้ง

ทั้งนี้ สนค.เห็นว่าเพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน​ รัฐบาลควรต่อโครงการคน​ครึ่ง​ระยะที่​ 5 เพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน โดยการตรึงราคาสินค้าเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอเพราะ​แม้ว่าขณะนี้เอกชนจะรับภาระต้นทุนบางส่วนแต่ก็ไม่รู้ว่าจะแบบรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้อีกนานแค่ไหน ส่วนมาตรการที่จะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนในช่วงนี้ไม่ควรมี​ เช่น​ การเก็บภาษีที่ดิน

อย่างไรก็ตามจากคาดการณ์เงินเฟ้อที่ปรับขึ้นไปสู่ระดับ 4-5% ในปี 2565 ถือว่ายังไม่เป็นประเด็นที่ต้องกังวลจนทำให้รัฐบาลจะต้องออกมาตรการใด เพื่อมาใช้สกัดเงินเฟ้อ เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศยังดีอยู่ 

ส่วนความกังวลจะเกิดสถานการณ์ Stagflation ที่เศรษฐกิจตกต่ำและอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นนั้น ต้องดูภาวะเศรษฐกิจในประเทศประกอบด้วย เพราะหากเศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดี จากการเปิดประเทศ การมีนักท่องเที่ยวเข้ามา และการส่งออกยังเติบโต