KBANK Private Banking เปิดกลยุทธ์ลงทุน ท่ามกลางเหตุขัดแย้งรัสเซีย - ยูเครน

KBANK Private Banking เปิดกลยุทธ์ลงทุน ท่ามกลางเหตุขัดแย้งรัสเซีย - ยูเครน

KBank Private Banking ร่วมกับ Lombard Odier เผย 4 ความเป็นไปได้ของเหตุขัดแย้งรัสเซีย - ยูเครน พร้อมเปิดกลยุทธ์การลงทุนรับมือวิกฤติ แนะให้กระจายการลงทุนหลายสินทรัพย์ผ่านกองทุนผสม ชูหุ้นกลุ่ม Winner of New Economy และ Sustainability มีโอกาสรีบาวน์สูงหลังสงครามคลี่คลาย

KBANK Private Banking เปิดกลยุทธ์ลงทุน ท่ามกลางเหตุขัดแย้งรัสเซีย - ยูเครน      

นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group – Executive Chairman ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า นอกเหนือจากปัจจัยด้านเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นแรงจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก ในช่วง 1 เดือน ที่ผ่านมา ยังมีอีกเหตุการณ์ที่ซ้ำเติมและสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนเพิ่มขึ้นอีก นั่นก็คือความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน

       อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปมองเหตุการณ์ความขัดแย้งไปจนถึงสงครามโลก ครั้งที่ 2  โดยเฉลี่ยส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นสหรัฐ ที่ปรับตัวลงในวันที่เกิดเหตุการณ์เฉลี่ยเพียง 1.5% เท่านั้น และปรับลงสูงสุดเฉลี่ยที่ 5.4% โดยระยะเวลาเฉลี่ยในการลงสู่จุดต่ำสุด คือ 15 วัน และ ใช้เวลา 35 วันเพื่อฟื้นตัวกลับมาอยู่ในระดับ      

KBANK Private Banking เปิดกลยุทธ์ลงทุน ท่ามกลางเหตุขัดแย้งรัสเซีย - ยูเครน      

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครนปรับเปลี่ยนรายวัน ด้านรัสเซียเริ่มเสียหายมากขึ้น จากการที่นานาชาติพากันคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ

      ผลที่ตามมาคือราคาน้ำมันพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อราคาพลังงานหากสงครามยืดเยื้อ เพราะยุโรปอาจเลิกคบค้าและซื้อขายพลังงานกับรัสเซียไปเลย ทำให้ภาวะเงินเฟ้อจะอยู่ยาว 

KBANK Private Banking เปิดกลยุทธ์ลงทุน ท่ามกลางเหตุขัดแย้งรัสเซีย - ยูเครน         ในขณะที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อตลาดการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลดลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากกว่าที่คาดการณ์

      จนนักลงทุนส่วนใหญ่เกิดคำถามว่าควรปรับพอร์ตหรือไม่ และปรับพอร์ตอย่างไร ให้เหมาะสมกับวิกฤติในครั้งนี้

      ดร.แซมมี่ ชาร์ หัวหน้าทีมนักเศรษฐศาสตร์ Lombard Odier มองเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน

     แบ่งเป็น 4 ความเป็นไปได้ ดังนี้ 
  1.กรณีฐาน - ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียลากยาว การเจรจาไม่สำเร็จ (โอกาสเกิด 50%) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงทั่วโลก จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น และห่วงโซ่อุปทานที่ชะงักไปจากมาตรการคว่ำบาตร การเติบโตเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง

     โดยเฉพาะในยุโรป โดย Lombard Odier ประมาณการว่า GDP ยุโรปจะปรับลด -1% ส่วนสหรัฐ -0.5% ในขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกเดินหน้าเข้มงวดนโยบายการเงิน
       2.กรณีดี - รัสเซียและยูเครน สามารถเจรจากันได้ บรรลุข้อตกลง แต่ยังคงมีมาตรการคว่ำบาตรบางส่วน (โอกาสเกิด 20%) ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกกลับมาฟื้นตัวได้ดี ในขณะที่ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะยังคงทรงตัวในระดับสูง แต่อยู่ในระดับจัดการได้ เงินเฟ้อค่อยๆ ปรับลดลง
      3.กรณีเลวร้าย - ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย และยูเครนรุนแรงขึ้น มีการคว่ำบาตรที่รุนแรงขึ้น (โอกาสเกิด 20%) ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ

      แต่ Lombard Odier มองว่าไม่ถึงขั้นทำให้เศรษฐกิจถดถอย (Recession) เพราะปัจจุบันกิจกรรมเศรษฐกิจโลก ไม่ได้พึ่งพาน้ำมันมากเท่าในอดีต และก่อนหน้านี้เศรษฐกิจโลกถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมากหลังกิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย

      นอกจากนี้ รัฐบาลแต่ละประเทศจะออกมาตรการมาพยุงเศรษฐกิจ เช่น ช่วยเหลือค่าครองชีพกลุ่มคนรายได้น้อย เพื่อให้เศรษฐกิจไปต่อได้ 

      4.กรณีเลวร้ายที่สุด - ความขัดแย้งขยายไปทั่วโลก (โอกาสเกิด 10%) ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอย และมีโอกาสเกิดวิกฤติทางการเงิน ธนาคารกลางทั่วโลกจะชะลอการออกนโยบายเข้มงวด เน้นดำเนินนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน

      นางสาวศิริพร สุวรรณการ Senior Managing Director-Financial Advisory Head ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยแนวทางการปรับพอร์ตการลงทุนว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนจะมากหรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความรุนแรงของมาตรการคว่ำบาตร

    เช่น หากวิกฤติกระทบเศรษฐกิจมากและประเทศขนาดใหญ่ไม่มีมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจหรือชะลอความเข้มงวดด้านนโยบาย อาจส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ที่แม้จะฟื้นตัวได้เร็วเมื่อวิกฤติคลี่คลาย แต่ก็จะยังไม่สามารถสร้างผลตอบแทนกลับคืนมาในช่วงเวลาสั้นๆ

    อย่างไรก็ตาม KBank Private Banking มองว่ามีโอกาสถึง 50% ที่ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียลากยาว และการเจรจาไม่สำเร็จ

    ดังนั้นในช่วงสถานการณ์เช่นนี้ที่ราคาสินทรัพย์ในตลาดย่อตัวลงถือเป็นโอกาสในการเข้าลงทุน โดยแนะนำกลยุทธ์การลงทุนให้แก่ลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงใน 2 กรณี ได้แก่
     1.กรณีที่ยังมีกระแสเงินสดสำหรับเข้าลงทุนเพิ่ม และสามารถถือการลงทุนได้นานกว่า 3 ปีขึ้นไป หรือ มีการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง

     เช่น กองทุนที่ซื้อขายได้ทุกวันทำการเป็นสัดส่วนการลงทุนหลัก สิ่งแรกที่นักลงทุนต้องพิจารณาก็คือความเสี่ยงที่รับได้ หรือ Risk Profile ของตนเอง

    เช่น รับความเสี่ยงได้ต่ำถึงปานกลาง แนะนำให้ลงทุนเพิ่มในกองทุนผสมที่กระจายการลงทุนในหลายๆ สินทรัพย์ เช่น กองทุน K-GA, K-GINCOME, K-ALLROAD, K-ALLGROWTH และ K-ALLENHANCE

      แต่หากรับความเสี่ยงได้สูง แนะนำให้ลงทุนในกองทุนหุ้น อย่าง K-HIT และ K-CHANGE ภายใต้ธีม Winner of New Economy เนื่องจากพื้นฐานยังคงแข็งแกร่งในระยะยาวกระจายลงทุนในหลายๆ กลุ่มธุรกิจในทุกภูมิภาคทั่วโลก และถูกเทขายหนักจากความกังวลในตลาด

       ซึ่งหากสถานการณ์ความขัดแย้งคลี่คลายจะมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็ว และแรงกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆ และ กองทุน K-CLIMATE ภายใต้ธีม Policy Driven for better world ซึ่งถือเป็นธีมการลงทุนที่สอดคล้องไปกับกระแสหลักของโลก (Mega Trend) ที่ราคาปรับลงไม่มากเมื่อเทียบกับหุ้นกลุ่มอื่นๆ

      นอกจากนี้ยังแนะนำให้ลงทุนใน REITs หรือ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่สร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอ และจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นยังสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้นอีกด้วย
     2.กรณีที่ถือการลงทุนเต็มแล้ว (Fully invested) สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกคือ ให้พิจารณาว่าพอร์ตการลงทุนเป็นพอร์ตลงทุนระยะยาวที่กระจายความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมอยู่แล้วหรือไม่

     หากคำตอบคือ ใช่ แนะนำให้ถือพอร์ตต่อไปเพราะมีโอกาสที่สถานการณ์จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น  

     อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุน อยากเพิ่มเงินสดให้พอร์ต แนะนำให้ขายหุ้นกลุ่มตลาดเกิดใหม่ เพราะมีโอกาสฟื้นตัวช้ากว่าตลาดหุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว หรือขายหุ้นไทย ที่ได้ประโยชน์จากวิกฤติครั้งนี้ เพราะมีสัดส่วนของกลุ่มพลังงานสูง

     นอกจากนี้ แนะนำให้สลับกองทุน (Switching) เช่น ขายกองทุนที่ราคาลงไม่มากไปซื้อกองทุนที่ราคาลงมากกว่า โดยเน้นกลุ่มที่ยังมีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง และมีโอกาสฟื้นตัวได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม การสลับกองทุนจะมีค่าธรรมเนียม และต้องประเมินกลยุทธ์ลงทุนประกอบด้วย

      นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ กล่าวในตอนท้ายว่า วิกฤติที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ตกลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง KBank Private Banking

     ยังคงคำแนะนำให้นักลงทุนที่มีพอร์ตการลงทุนที่เป็นพอร์ตระยะยาวและมีการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสมให้ถือพอร์ตต่อไป และธนาคารจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อปรับพอร์ตและกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสมในทุกสถานการณ์เพื่อสร้างผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจให้กับพอร์ตการลงทุนของลูกค้าได้ในปี 2565 นี้

 

 

พิสูจน์อักษร โดย....สุรีย์  ศิลาวงษ์