ทูตพาณิชย์ รับสงครามรัสเซีย-ยูเครน กระทบเศรษฐกิจยุโรป

ทูตพาณิชย์ รับสงครามรัสเซีย-ยูเครน กระทบเศรษฐกิจยุโรป

ทูตพาณิชย์เกาะติดสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน พบกระทบการค้า การขนส่ง ทำเงินเฟ้อพุ่ง จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศหรือสคต.ที่ประจำอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก ได้รายงานผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งทูตพาณิชย์หลายประเทศได้รายงานสถานการณ์และผลกระทบ โดยเฉพาะด้านการค้า ซึ่งภาพรวมทั้งหมดนี้ทางสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการค้า (สนค.) จะสรุปภาพรวมรายงานต่อนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นข้อมูลรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

นายกิตตินันท์ ยิ่งเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต.) ณ กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย กล่าวว่า  ประเทศไทยก็คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน รวมทั้งมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของประเทศตะวันตกที่จะมีผลกับไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ราคา พลังงาน ค่าขนส่ง การขาดแคลนวัตถุดิบในระบบห่วงโซ่อุปทาน และสินค้าราคาแพงขึ้น เป็นต้น ตลอดจนอุปสรรค ปัญหาในการส่งออกสินค้าไปยังรัสเซีย ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการชำระค่าสินค้าในรูปสกุลเงินหลัก ปัญหาการ ขนส่งที่สายการเดินเรือหรือสายการบินไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ และการถูกบังคับจากประเทศตะวันตกที่ กำหนดไม่ให้ประเทศทั่วไปทำการค้ากับรัสเซีย ในช่วงนี้ ผู้ส่งออกไทยควรชะลอการทำการค้ากับรัสเซียไปก่อนเพื่อป้องกันความเสี่ยง รอดูจนปัจจัยทางการค้าและ สิ่งแวดล้อมจนกว่าจะมีความชัดเจนและสร้างความมั่นใจได้มากกว่านี้

ทูตพาณิชย์ รับสงครามรัสเซีย-ยูเครน กระทบเศรษฐกิจยุโรป

 

“สิ่งที่น่ากังวลคือกรณีที่ประเทศตะวันตกและพันธมิตรจะ บีบบังคับให้ประเทศต่าง ๆ ให้ร่วมคว่ำบาตรตามจนไม่ สามารถทำการค้าขายกับรัสเซียได้ตามปกติอย่าง เปิดเผยเหมือนอย่างกรณีอิหร่านและเวเนซูเอลา นอกเหนือไปจากการพยายามโดดเดี่ยวรัสเซียออกจาก ระบบเศรษฐกิจโลกไม่ว่าจะเป็นการตัดการเข้าถึงเงิน สกุลหลักและการขัดขวางการขนส่งสินค้าทุกช่องทาง หากประเทศใดฝ่าฝืนก็จะโดนคว่ำบาตรตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้การส่งออกไทยไปยังตลาดรัสเซียอาจดูไม่ค่อย สดใสนักในอนาคตอันใกล้ เพื่อกระจายความเสี่ยงทาง ธุรกิจผู้ส่งออกควรมองหาช่องทางการขยายตลาดในประเทศอื่นเพื่อชดเชยตลาดรัสเซียที่ได้รับผลกระทบไว้ ล่วงหน้าด้วย”

นายประคัลร์ กอดำรงค์  สคต.กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร (ยูเค) กล่าวว่า   การสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครนส่งผลให้หลายประเทศใช้มาตรการSanctionทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย โดยรัฐบาลสหราชอาณาจักรรัฐบาลมีท่าทีจะใช้มาตรการที่เข้มข้น และจะมีการพิจารณามาตรการใหม่อยู่เป็นระยะ อย่างไรก็ตาม รัสเซียเป็นคู่ค้าลำดับที่19ของสหราชอาณาจักร มีมูลค่าการค้าคิดเป็น1.3%ของการค้าทั้งหมด โดย การนำเข้าเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันดิบ แก๊สคิดเป็นสัดส่วน38.6%ของการนำเข้าจากรัสเซีย โดยขณะนี้สหราชอาณาจักรกำลังประสบปัญหาภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ30ปีเมื่อเดือนม.ค. และคาดการณ์ว่า สถานการณ์การสู้รบนี้จะส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อที่อาจจะเพิ่มสูงขึ้นอีก ส่งผลให้ผู้คนในสหราชอาณาจักรประสบปัญหา ค่าครองชีพที่สูงขึ้นทั้งจากราคาสินค้าอาหาร และค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งอาจทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคในการ เลือกซื้อสินค้าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น การเลือกซื้อสินค้าHouse brandมากขึ้น เนื่องจากราคาต่ำกว่า เป็นต้น

 

นายธรรม เนียมสกุล  สคต. กรุงวอซอ ประเทศโปแลนด์ ระบุว่า โปแลนด์ เคยคาดการณ์เงินเฟ้อก่อนวิกฤติสงครามรัสเซีย-ยูเครน ว่าจะในปี2022จะอยู่ที่5.8%และในปี2023อยู่ที่3.6%แต่ปัจจุบันในเดือนก.พ.2022 เพียงเดือนเดียวก็พุ่งขึ้นสู่ระดับ9.0%แล้ว โดย มีเหตุผลจากราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ทั้งค่าน้ำมันและค่าก๊าซธรรมชาติที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเกษตรและอาหาร และยิ่งเกิดปัญหาขาดแคลนอาหารสัตว์ จากรัสเซียและยูเครนทำให้ซ้ำเติมภาคธุรกิจของโปแลนด์ให้เลวร้ายกว่าเดิม

 

นางสาวชนรรค์ดา สรภักดี สคต.กรุงเฮก  ประเทศเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า  เนเธอแลนด์ที่มีท่าเรือรอตเตอร์ดัมซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป มีความเป็นกังวลอย่างมากเกี่ยวกับผลกระทบที่จะ ได้รับจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเนื่องจากมีการส่งออก (Re-export)สินค้าจำนวน มากไปยังประเทศต่างๆ มีการขนส่งสินค้ารวม62ล้านตันต่อปี

นอกจากนี้ราคาสินค้าได้มีการปรับตัวสูงขึ้นมาซักระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ก่อนสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน แต่เมื่อเริ่มมีการบุกโจมตียูเครนของรัสเซียเป็นตัวเร่งให้ราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้นไปอีก โดยเฉพาะราคาพลังงานและราคาธัญพืชต่างๆ อาทิ ข้าวสาลีที่มีราคาสูงขึ้นถึง 26%  เมื่อเปรียบเทียบกับราคาในวันก่อนที่จะมีการโจมตียูเครน ซึ่งผลกระทบต่อราคาแป้งสาลี  พาสต้า และขนมปัง ซึ่งถือได้ว่าเป็นอาหารหลักอาหารหลักที่นิยมบริโภคในชีวิตประจำวันของ ชาวตะวันตก และข้าวโพดที่มีราคาสูงขึ้นถึง 14%  ส่งผลต่อราคาหารสัตว์ ภาคอุตสาหกรรมเกษตร เนื่องจากเนเธอร์แลนด์นำเข้าข้าวโพดจากยูเครนสูงถึง   60 % ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด ความผันผวนของราคาในห่วงโซ่อาหารมักเริ่มจากราคาวัตถุดิบและจะถูกส่งไปยังผู้ผลิต ผู้แปรรูป  และผู้บริโภค

 สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ยังคงเพิ่มความตึงเครียดให้กับตลาดโลก ไม่เพียงเรื่องราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ที่ผู้บริโภคสัมผัสได้จากราคาสินค้า การจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน ซึ่งเริ่มเป็นปัญหามากขึ้น รวมไปถึงเรื่อง Supply สินค้าในอนาคตอีก  หากสถานการณ์ยืดเยื้อออกไปอีก  สิ่งที่จับตามองคือผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกันฤดูเก็บเกี่ยวรอบใหม่ที่จะมาถึง ในเดือนก.ค.นี้ เพราะหากไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตรอบใหม่ได้อาจส่งผลให้ เกิดการขาดแคลนสินค้าและดันราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้นไปอีก

ด้านนางสาวพัชรา รัตนบุบผา สคต.กรุงเบอร์ลิน  ประเทศเยอรมัน กล่าวว่า  สงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลต่อการนำเข้าพลังงางานของเยอรมัน ทำให้ราคาแก๊ส  ทองคำ และข้าวสาลี  ส่งผลต่อเนื่องทำให้อัตราเงินเฟ้อในประเทศสูงขึ้นตามไปด้วย