กลยุทธ์การลงทุน ปัจจัยลบในตลาดสหรัฐฯ น่าจะหนุนเม็ดเงินเข้าเอเชียในระยะถัดไป

กลยุทธ์การลงทุน ปัจจัยลบในตลาดสหรัฐฯ น่าจะหนุนเม็ดเงินเข้าเอเชียในระยะถัดไป

เพื่อต้อนรับการที่ FOMC น่าจะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยในวันนี้ เราจึงจะแสดงบางมุมมองต่อตลาดสหรัฐ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าหุ้นสหรัฐมี upside จำกัดในช่วงที่เหลือของปีนี้

นอกจากนี้ เรายังมองว่าธีมการลงทุนไม่น่าสนใจในสหรัฐ (ไม่เกี่ยวกับภาวะเศรษกิจถดถอยในสหรัฐ) จะเป็นบวกกับกระแสเงินทุนไหลเข้าตลาดเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ASEAN

 

ข้อแรก อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และสภาพคล่องที่ลดลงจะทำให้หุ้นสหรัฐถูก de-rate อีกหลายระลอก

ดังแสดงใน figure 1 หุ้นในตลาดสหรัฐเริ่มถูก de-rate มาเป็นระลอก ๆ ตั้งแต่ 3Q64 เมื่อตลาดการเงินเริ่มพูดถึงเงินเฟ้อที่กำลังเร่งตัวขึ้น, การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และการลดขนาด QE ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 การปรับขึ้นประมาณการของบริษัทในสหรัฐก็แผ่วลงไปด้วย สำหรับในระยะต่อไป เราคาดว่าจะเห็จการ de-rate หุ้นสหรัฐต่อไปอีกหลายระลอกท่ามกลางแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ย และการลดขนาดงบดุลของ Fed

กลยุทธ์การลงทุน ปัจจัยลบในตลาดสหรัฐฯ น่าจะหนุนเม็ดเงินเข้าเอเชียในระยะถัดไป

 

ข้อสอง ผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐจะชะลอตัวลงอีกในปี 2565-2566

ถ้าพิจารณาจาก consensus อัตราการเติบโตของประมาณการกำไรบริษัทในดัชนี S&P500 Index และของแต่ละหมวดในนั้นดังแสดงใน figure 2 จะเป็นว่าจุดสูงสุดของวัฎจักรการเติบโตของกำไรได้ผ่านไปแล้ว โดยกำไรของบริษัทในสหรัฐโตถึง 106% ในปี 2564 จากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจ และฐานกำไรที่ต่ำมากเป็นพิเศษในปี 2563 อย่างไรก็ตาม โมเมนตั้มการปรับประมาณการกำไรได้เปลี่ยนจากการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นทรงตัวในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และ consensus ของนักวิเคราะห์ในปัจจุบันคาดว่าอัตราการเติบโตของกำไรบริษัทสหรัฐจะลดลงเหลือเพียง 13% ในปี 2565 และเหลือ10% ในปี 2566

กลยุทธ์การลงทุน ปัจจัยลบในตลาดสหรัฐฯ น่าจะหนุนเม็ดเงินเข้าเอเชียในระยะถัดไป

 

ข้อสาม ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอาจแข็งอยู่ได้เพียงชั่วคราว และน่าจะกลับมาอ่อนค่าใน 2H65

ดังที่แสดงใน figure 3 ดัชนี US dollar index เริ่มวิ่งขึ้นมาแรงในเดือนพฤศจิกายน 2564 เมื่อตลาดการเงินเริ่มสะท้อนความคาดหวังว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ย โดยในขณะนี้ CME Fed Fund Futures คาดว่า อัตราดอกเบี้ยสหรัฐ (ขอบบน) สิ้นปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 1.50-1.75% แต่เนื่องจากเรามองว่า Fed น่าจะใช้ความระมัดระวังในการปรับนโยบายการเงินให้ตึงตัวมากขึ้น เพราะโดยธรรมชาติของเงินเฟ้อที่เกิดจากทางด้านอุปทาน (cost-push inflation) มักจะส่งผลลบต่อภาวะเศรษฐกิจ เราจึงคิดว่าความคาดหวังต่อ Fed Fund Rate น่าจะถึงจุดสูงสุดในเร็ว ๆ นี้ ดังนั้น ค่าเงินดอลลาร์ฯ สหรัฐจึงน่าจะแข็งอยู่ได้เพียงชั่วคราว และจะกลับมาอ่อนค่าอีกครั้งใน 2H65 ซึ่งถือเป็นสัญญาณบวกต่อค่าเงิน และกระแสเงินทุนไหลเข้าตลาดเอเชีย

กลยุทธ์การลงทุน ปัจจัยลบในตลาดสหรัฐฯ น่าจะหนุนเม็ดเงินเข้าเอเชียในระยะถัดไป

 

 

สงครามรัสเซีย-ยูเครน, การ lockdown ในจีน และ การที่สหรัฐปรับนโยบายการเงินให้กลับสู่ปกติ จะทำให้ตลาดผันผวนเพิ่มขึ้น แต่เรายังคงแนะนำให้ซื้อสะสมในช่วงที่หุ้นตก

ดังที่ทราบกันทั่วไปอยู่แล้วว่าความผันผวนของตลาดการเงินในระยะสั้นจะถูกกำหนดโดยสงครามรัสเซีย-ยูเครน, การ lockdown ในจีนเพื่อคุมการระบาดของ COVID-19 และ การที่สหรัฐปรับนโยบายการเงินให้กลับสู่ปกติ อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจโลก หรือเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย โดยมุมมองของเราในกรณีฐานคือ i) จะมีการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนในเร็ว ๆ นี้ ii) จะมีการใช้มาตรการ lockdown ในจีนเพียงไม่นาน และหลังจากนั้นจะมีอุปสงค์จากการกลับมาเปิดเมืองตามมา iii) หลังจากที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ยแล้ว ตลาดหุ้นทั่วโลกอาจจะขยับขึ้นได้อย่างค่อนข้างแข็งแกร่ง ดังนั้น เราจึงยังคงแนะนำให้ซื้อสะสมในช่วงที่หุ้นตก เราชอบหุ้น domestic ที่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้น หรือได้อานิสงส์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น อย่างเช่น กลุ่มผู้บริโภค, ที่อยู่อาศัย, โรงพยาบาล และธนาคาร ซึ่งได้แก่ CPALL*, MAKRO*, LH*, BDMS*, BH, KBANK* และ BBL*