เปิด 10 อันดับหุ้นถูก "ชอร์ตเซล" หนักสุด ฟันกำไรตลาดขาลง

เปิด 10 อันดับหุ้นถูก "ชอร์ตเซล" หนักสุด ฟันกำไรตลาดขาลง

นักลงทุนแห่ฟันกำไรตลาดขาลง ยอดชอร์ตเซลเดือน มี.ค.คึกคัก ทะลุ 9 หมื่นล้าน พบ PTT ยอดชอร์ตสูงสุด 6.4 พันล้าน รองลงมา PTTEP 4.1 พันล้าน

ความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือน มี.ค.2565 ถึงปัจจุบัน (1 - 11 มี.ค.) พบว่าดัชนี SET (SET Index) ให้ผลตอบแทนเป็นลบ 2.14% ลดลง 36.27 จุด ปิดที่ 1,658.01 จุด จากระดับ 1,694.28 จุด ระหว่างทางปรับลงหลุดแนวรับ 1,600 จุด ทำจุดต่ำสุดที่ 1,580.80 จุด จากปัจจัยกดดันภาวะสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน

สำหรับมูลค่าซื้อขายรวมอยู่ที่ 9.71 แสนล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าการซื้อขายจากการทำธุรกรรมขายชอร์ต (ชอร์ตเซล) จำนวน 9.02 หมื่นล้านบาท

10 หุ้นที่ถูกชอร์ตเซลมากที่สุด ได้แก่

1. PTT ปริมาณ 164,613,700 หุ้น มูลค่า 6,401.49 ล้านบาท สัดส่วน 18.88%

2. PTTEP ปริมาณ 41,361,000 หุ้น มูลค่า 6,141.95 ล้านบาท สัดส่วน 12.50%

3. KBANK ปริมาณ 29,445,300 หุ้น มูลค่า 4,651.77 ล้านบาท สัดส่วน 10.55%

4. AOT ปริมาณ 62,490,500 หุ้น มูลค่า 3,944.86 ล้านบาท สัดส่วน 17.55%

5. BANPU ปริมาณ 260,838,100 หุ้น มูลค่า 3,081.49 ล้านบาท สัดส่วน 8.17%

6. SCC ปริมาณ 7,357,900 หุ้น มูลค่า 2,766.36 ล้านบาท สัดส่วน 15.27%

7. CPALL ปริมาณ 37,718,500 หุ้น มูลค่า 2,517.30 ล้านบาท สัดส่วน 11.24%

8. CPF ปริมาณ 80,543,100 หุ้น มูลค่า 1,940.94 ล้านบาท สัดส่วน 21.99%

9. KCE ปริมาณ 27,975,500 หุ้น มูลค่า 1,617.12 ล้านบาท สัดส่วน 15.02%

10. BBL ปริมาณ 11,041,900 หุ้น มูลค่า 1,481.29 ล้านบาท สัดส่วน 6.32%

หุ้นถูกชอร์ตเซล

ทั้งนี้ ปริมาณและมูลค่าการซื้อขายข้างต้น รวมปริมาณและมูลค่าของรายการที่ชื่อย่อหลักทรัพย์ต่อด้วย "-R" หมายถึงข้อมูลธุรกรรมขายชอร์ตในเอ็นวีดีอาร์

แต่ไม่รวมรายการขายชอร์ตของสมาชิกที่เป็นผู้ร่วมค้าหน่วยลงทุนหรือผู้ดูแลสภาพคล่องของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟเพื่อบัญชีบริษัทประเภทเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคาหรือเพื่อดูแลสภาพคล่อง แล้วแต่กรณี

ขณะที่สัดส่วนข้างต้น หมายถึง เปอร์เซ็นต์ปริมาณการขายชอร์ตเทียบกับปริมาณการซื้อขายแบบ Auto Matching

สำหรับชอร์ตเซลเป็นเครื่องมือที่นักลงทุนสามารถยืมหุ้นจากโบรกเกอร์ที่ตนมีบัญชีซื้อขาย เพื่อนำหุ้นดังกล่าวมาขายทำกำไรช่วงตลาดขาลง ก่อนจะซื้อกลับในราคาที่ถูกกว่าต้นทุนเพื่อขายหุ้นคืนแก่โบรกเกอร์ โดยนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาขาย