HANA ขาดปัจจัยกระตุ้น (วันที่ 2 มีนาคม 2565)

HANA ขาดปัจจัยกระตุ้น (วันที่ 2 มีนาคม 2565)

คาดว่าธุรกิจ Power Master Semiconductor (PMS) จะมีผลขาดทุนในปีนี้ เนื่องจากผลผลิตของธุรกิจ PMS ต่ำในปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้น ธุรกิจ PMS จึงทำให้มูลค่าสินค้าคงคลังลดลงเหลือ 243 ล้านบาทใน 4Q64

โดยผู้บริหารคาดว่าธุรกิจนี้จะส่งผลขาดทุนมาที่ HANA ประมาณ 600 ล้านบาทในปีนี้ ซึ่งจะฉุดผลประกอบการในช่วง 1Q65-3Q65 แต่ตัวเลขนี้จะดีขึ้นใน 4Q65 หลังจากที่โรงงานพร้อมสำหรับการผลิตแบบ mass production แล้ว ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าว่ารายได้จากธุรกิจ PMS จะเพิ่มขึ้นจาก 19 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2565 เป็น 132 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2568 โดยคาดว่าจะถึงจุดคุ้มทุนใน 4Q68

 

อุปสงค์โดยรวมยังดีอยู่

ถึงแม้ว่าปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบจะยังคงอยู่เนื่องจาก lead time ของวัตถุดิบ/อุปกรณ์ ไม่น่าจะดีขึ้นก่อน 2H65 แต่เราคาดว่าคำสั่งซื้อของ HANA โดยรวมจะยังใช้ได้อยู่ เช่นเดียวกับในครึ่งหลังของปี 2564 โดยอุปสงค์จากกลุ่มมือถือยังคงแข็งแกร่งจากการออกรุ่นใหม่ และระบบ 5G อย่างไรก็ตาม เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย YTD ที่ 32.90 บาท/ดอลลาร์ฯ (จาก 33.30 บาท/ดอลลาร์ฯ ใน 4Q64 และ 30.20 บาท/ดอลลาร์ฯ ใน 1Q64) อาจจะกดดันอัตรากำไรขั้นต้น ซึ่งเมื่อรวมกับแนวโน้มผลขาดทุนจาก PMS น่าจะทำให้ผลประกอบการใน 1Q65 แย่ลง QoQ และทรงตัว YoY

 

 

 

 

ปรับลดประมาณการกำไรปี 2565-2566 ลงจากเดิม 8% และ 7% ตามลำดับ

ถึงแม้ว่าเราจะคาดไว้อยู่แล้วว่าบริษัทจะรับรู้ผลขาดทุนจาก PMS แต่จากข้อมูลที่ได้จากผู้บริหาร ผลขาดทุนอาจจะสูงกว่าที่เราคาดเอาไว้ ดังนั้น เราจึงปรับเพิ่มประมาณการผลขาดทุนจาก PMS เป็น 600 ล้านบาทในปี 2565 (จากเดิม 300 ล้านบาท) และ 500 ล้านบาทในปี 2566 (จากเดิม 200 ล้านบาท) ส่งผลให้เราปรับลดประมาณการกำไรของ HANA ปี 2565 ลง 8% และปี 2566 ลง 7% ซึ่งจะทำให้กำไรจากธุรกิจหลักของ HANA ในปี 2565-2566F โต 9% และ 21% ตามลำดับ

 

Valuation & action

เราปรับลดราคาเป้าหมายสิ้นปี 2565 ลงจากเดิม 67.00 บาทเหลือ 53.00 บาท อิงจาก PER ที่ 17.0x (ถ่วง
น้ำหนักระหว่างยอดขายของกลุ่ม EV (~3%) โดยใช้ PER ที่ 80.0X และกลุ่มอื่น ๆ (97%) โดยใช้ PER ที่
15X จากอัตราการเติบโตของ EPS เฉลี่ยในปี 2565-2566) ดังนั้น เราจึงยังคงคำแนะนำ “ถือ” HANA

 

Risks

ภัยธรรมชาติ, มีการปิดโรงงานนอกแผน, ลูกค้าเปลี่ยนไปสั่งสินค้าจาก supplier รายอื่น, ขาดแคลนวัตถุดิบ, เงินบาทแข็งค่าขึ้น (เราใช้สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนปี 2565-2566 ที่ 33.50 บาท/ดอลลาร์ฯ)