“บิทคับ” วาง “ดิจิทัลอินฟราฯ” สร้างโอกาสธุรกิจไทยสู่โลก3.0 

“บิทคับ” วาง “ดิจิทัลอินฟราฯ” สร้างโอกาสธุรกิจไทยสู่โลก3.0 

ท๊อป-จิรายุส ชี้ เทคโนโลยีบล็อกเชน จะช่วยดึงศักยภาพทางธุรกิจปลดล็อกในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้  ให้เป็นไปได้ พร้อมประกาศตัวเป็นพาร์ตเนอร์ให้ทุกธุรกิจเจียระไนเพชรให้ส่องสว่าง สร้างโอกาสททางธุรกิจ

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ จัดสัมมนา DIGITAL ASSET โอกาสและควาเสี่ยง ในหัวข้อPanel Discussion II : DIGITAL ASSET พลิกโอกาส...ล้ำอนาคต ได้รับเกียรติจาก "นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา" ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด

นายจิรายุส กล่าวว่า  ในยุคเว็บ 3.0 มีเทคโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย และสินทรัพย์ดิจิทัล ทำให้เกิดโมเดลการทำธุรกิจใหม่ๆ ที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง อย่างเล่นเกม ออกกำลังกาย ฟังเพลง เรียนรู้ แล้วได้เงิน 

ขณะที่พัฒนาการขอการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยในช่วง 8 ปีที่ผ่านมานี้ พบว่า ช่วง 4 ปีหลัง มีพัฒนาสอดคล้องกับการเปลี่ยนไปสู่ยุคเว็บ 3.0 มากขึ้น ทั้งการออกกฎหมายรองรับสินทรัพย์ดิจิทัล และสถาบันต่างๆ เข้ามาเชื่อมต่อในวงการสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น  เพราะต้องการทรานส์ฟอร์มธุรกิจด้วยบิซิเนสโมเดลใหม่ 

บิทคับ พบว่า ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 จนถึงตอนนี้เกิดขึ้นแล้วกว่า 100 โปรเจ็ค เริ่มจากวงการนางงาม ฟุตบอล และอีสปอร์ต

จะเห็นว่า มีหลากหลายวงการธุรกิจของไทยเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์กับบิทคับ เพื่อนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาช่วยดึงศักยภาพทางธุรกิจปลดล็อกในสิ่งที่อาจเคยคิดว่า “เป็นไปไม่ได้  ให้เป็นไปได้” และเชื่อมต่อสู่โลกสินทรัพย์พิจิทัลบนดิจิทัลอินฟราสตรักเจอร์ที่บิทคับเป็นผู้สร้าง

"ตอนนี้เราเหมือนเป็น คนขัดเพชร ที่ภาคธุรกิจเอาเพชรที่มีอยู่มาให้เราขัด ช่วยให้เพชรส่องประกายสร้างโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น พบว่า ปีนี้ Non-Fungible Toke  หรือ NFT  เป็นอีกหนึ่งโครงสร้างพื้นฐานสินทรัพย์ดิจิทัล สำหรับธุรกิจที่ชื่นชอบเทคโนโลยีบล็อกเชน มาช่วยทรานส์ฟอร์มธุรกิจด้วยโมเดลใหม่ได้ ที่ช่วยปลดล็อกโมเดลธุรกิจเดิมๆ ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มยอดขายได้"  

บิทคับ วางรากฐาน “ดิจิทัลอินฟราสตักเจอร์เว็บ 3.0”

นายจิรายุส กล่าวว่า  “บิทคับ” เป็นธุรกิจในยุคเว็บ 3.0 ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มต้นและวางเป้าหมายอย่างชัดเจน คือ เราจะเป็นผู้สร้าง “ดิจิทัลอินฟราสตรักเจอร์ของเว็บ3.0”  ที่แข็งแรงให้กับประเทศไทย เพื่อให้เศรษฐกิจดิจิทัลของไทย สามารถเกิดขึ้นและเป็นจริงได้ในอนาค     

"เราวางดิจิทัลอินฟราสตรักเจอร์ของเว็บ 3.0 คือ สิ่งที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง ได้แก่ เทคโนโลยีบล็อกเชน  คริปโทเคอเรนซี่ และNFT เป็นต้น เพื่อให้ทุกคนทุกธุรกิจ สามารถมาเข้ามาเชื่อมต่อบนดิจิทัลอินฟราสตรักเจอร์นี้ได้ เพื่อทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่โลกเว็บ 3.0 แต่ธุรกิจจะทรานส์ฟอร์มสู่โลกเว็บ 3.0 ได้นั้น  แนะว่า ก็เหมือนกันการลดน้ำหนัก  ไม่ใช่เงินจะซื้อได้ทุกอย่าง ต้องลงมือ ลงแรง อย่างสม่ำเสมอ ใครอ้วนอาจใช้เวลานานกว่าคนผอม เพื่อให้เกิดโมเมนตัมของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจที่ยั่งยืน" 

มอง ‘กฎหมาย’ ต้องทันต่อ ‘พัฒนาของโลก’ 

ทางด้านกฎเกณฑ์การกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยตอนนั้น นายจิรายุส มองว่า กฎเกณฑ์การกำกับดูแล คงต้องหาตรงกลางให้ได้ระหว่างจะ คอนเซอร์เวทีฟ หรือ ขับเคลื่อนไปข้างหน้า  ซึ่งกฎเกณฑ์การกำกับดูแลต้องมีการศึกษาและมีไดนามิก คือ สามารถเปลี่ยนแปลงได้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงวัตกรรมที่เข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงของโลกนี้อย่างรวดเร็วและไม่เหมือนในอดีต เพราะอีก 5 ปีข้างหน้าจะเร็วกว่า 50 ปีที่ผ่านมา เมื่อไดเร็กชั่นต่างๆในโลกชัดเจนขึ้น การกำกับดูแลต้องมีพัฒนาการให้ทันต่อโลกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่เช่นนั้นประเทศไทยก็จะเสียโอกาสอีกเหมือนในยุคเว็บ 2.0  

"ส่วนตัวอยู่ในวงการสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยมา 8 ปี ยอมรับว่า ในช่วง  4 ปีแรก เราเป็นประเทศหนึ่งที่เข้ามาขับเคลื่อนเรื่องนี้ได้เร็วมาก ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ศึกษาคริปโทเคอร์เรนซีและเกิดโครงการอินทนนท์ เมื่อปี2560 และกำลังจะผลักดัน CBDC ในเร็วๆนี้ แต่ในช่วง4 ปีหลัง ในหลายประเทศเริ่มเข้ามากำกับดูแลมากขึ้น มีทั้งประเทศที่เข้มงวด เช่น จีนแบนคริปโทฯ หรือประเทศที่เปิดโอกาสกว้างขึ้น เช่น ดูไบตั้งฮับเทรดคริปโทฯหรือ เทสล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐเข้ามาลงทุนในคริปโทฯ ขณะที่ไทยดูเหมือนว่า 4 ปีแรกที่เคยเร็วแต่ 4 ปีหลังอาจเป็นฝ่ายตามดูไบและสหรัฐมากกว่า"