“อีเอ” ชี้ติดตั้งสถานีชาร์จอีวีถูกจุดทั่วไทย 2 พันแห่งก็เพียงพอแล้ว

“อีเอ” ชี้ติดตั้งสถานีชาร์จอีวีถูกจุดทั่วไทย 2 พันแห่งก็เพียงพอแล้ว

“อีเอ” แนะผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีให้ถูกจุด เร่งสร้างกำลังคน ดึงแนวคิดเกิดผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่มสู่ตลาดโลก พร้อมสร้างอีโคซิสเต็มให้ไทย พัฒนาแบตเตอรี่-สถานีชาร์จเร็ว รับการใช้งาน ระบุ ไทยเลือกติดตั้งสถานีชาร์จตรงจุดทั่วประเทศเพียง 2,000 แห่ง ถือว่าพียงพอแล้ว

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA กล่าวในงานสัมมนาออนไลน์ “2022 Next Economic Chapter : New Challenges and Opportunities ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลังวิกฤติโควิด-19" หัวข้อ “กลยุทธ์ขับเคลื่อนองค์กรปี 2565 ฝ่าวิกฤต สู่โอกาสใหม่ที่ยั่งยืน” จัดโดยธนาคารกรุงไทยว่า อีเอได้สร้างอีโคซิสเต็มโดยสร้างโรงงานทำแบตเตอรี่ในประเทศไทย พร้อมกับสร้างสถานีชาร์จ รวมถึงสร้างรถที่จะสามารถชาร์จไฟฟ้าได้เร็วและขนาดใหญ่ ทำให้ไทยสามารถแข่งกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือบริษัทยักษ์ใหญ่รถยนต์ปัจจุบันได้

ดังนั้น แบตเตอรี่ที่ทำ จะมาเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญ อีเอใช้เครื่องจักรระดับ World Class เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีเพื่อให้เข้ากับอุตสาหกรรมนี้ได้รถเชิงพาณิชย์ที่จดทะเบียนทั้งประเทศ 1.3 ล้านคันสามารถสร้างอีโคโนมีใหม่ให้กับประเทศ อีเอได้พัฒนาแบตเตอรี่ขึ้นมาใช้กับรถปัจจุบันได้ทุกยี่ห้อ แต่รถรุ่นใหม่ที่ผลิตขึ้นมาก็สามารถใช้แบตเตอรี่ได้เร็วในเวลาไม่เกิน 20 นาที

ซึ่งอีเอช่วยสร้างอุตสาหกรรมใหม่ๆ ในประเทศไทย ถือเป็นภาพใหญ่ที่จะสามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส เพราะเมื่อทราบปัญหาจริงว่าอยู่ตรงไหน และทราบว่าตัวเองมีสเกลอยู่ตรงไหน และหาคนที่มาช่วยให้ตรงจุด

นอกจากนี้ ในการใช้งานรถอีวี รถขนาดใหญ่ไม่เหมือนรถเล็ก ดังนั้น แบตเตอรี่จะต้องใหญ่ กลุ่มคนใช้รถเล็กมักนิยมชาร์ทไฟฟ้าที่บ้าน ยกเว้นเวลาเดินทางข้ามจังหวัด ดังนั้น การติดระหว่างเมืองควรมีระยะห่าง 50 กิโลเมตร เพื่อความสบายใจ ส่วนรถใหญ่ใส่แบตเตอรรี่ระยะ 200 กิโลเมตก็เพียงพอแล้ว เพราะกฎหมายไทยเชิงพาณิชย์ไม่สามารถวิ่งเกิน 4 ชั่วโมง ต้องหยุดพักครึ่งชั่วโมง ทั้งนี้ มองว่าจุดยุทธศาสตร์ทั่วประเทศควรมีสถานีชาร์จ 2,000 จุดก็เพียงพอแล้ว

“ส่วนแนวทางาร้างความเชื่อมั่นต่อสังคมกับการจัดการขยะแบตเตอรี่มองว่า ใครผลิตก็ต้องรับไปกำจัดหรือรีไซเคิล ดังนั้นนโยบายง่ายๆ คือ คืนมาให้ผู้ผลิตเท่านั้น เพราะเป็นผู้ผลิตเองจะรู้ว่าแบตเตอรี่ตัวเองจะต้องไปรีไซเคิลวิธีไหนให้มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด และเมื่อมาเป็นกลุ่มเป็นก้อนการตั้งโรงงานรีไซเคิลจึงทำง่ายด้วย”