AH - ย่อตัวก่อนกระโดด (วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565)

AH - ย่อตัวก่อนกระโดด (วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565)

เราคาดกำไร 4Q จะลดลง 19% yoy และ 46% qoq เป็น 126 ลบ. อย่างไรก็ตามเรามองภาพปี 2022 เป็นบวกหนุนจาก (1) การฟื้นตัวของอุปสงค์, (2) ปัญหาขาดแคลนชิปเรื่อยผ่อนคลายลง, และ (3) คำสั่งซื้อชิ้นส่วนเพิ่มเติมเพื่อผลิตรถกระบะรุ่นใหม่ คงคำแนะนำ ซื้อ TP 32.50 บาท

คาดกำไรสุทธิ 4Q ลดลงทั้ง yoy และ qoq

อ้างอิงข้อมูลสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (OIE) จำนวนผลผลิตรถยนต์เติบโต 1% yoy เป็น 455,991 คันใน 4Q หนุนจากการผลิตรถกระบะเพิ่มขึ้น 8% yoy เราคาดรายได้ใน 4Q ลดลง 17% yoy เป็น 4.7 พันลบ. (-17% yoy, +11% qoq) เนื่องจาก (1) รายได้จากธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ลดลงและ (2) การขาดแคลนชิปในยุโรป อย่างไรก็ตามอัตรากำไรขั้นต้น 4Q ฟื้นตัวเป็น 9.6% จาก 8.5% ใน 4Q20 เนื่องจากสัดส่วนรายได้จากธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ที่มีอัตรากำไรต่ำลดลง นอกจากนี้ยังมีรายการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 40 ลบ. ในภาพรวมเราคาดกำไรสุทธิ 4Q ที่ 126 ลบ. (-19% yoy, -46% qoq) หากไม่รวมรายการพิเศษกำไรปกติที่ 166 ลบ. (-38% yoy, +31% qoq)

 

ภาพเชิงบวกในปี 2022

(FTI) ตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ในปี 2022 ที่ 1.8 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 7% ขณะที่ปี 2021  FTI เคยตั้งเป้าไว้ที่ 1.5 ล้านคัน ในเดือน ม.ค. และปรับเพิ่มเป้าหมายใน ก.ค. เป็น 1.6 ล้านคัน จบปีผลผลิตรถยนต์อยู่ที่ 1.69 ล้านคันเพิ่มขึ้น 18% นอกจากนี้ IHS คาดการผลิตรถยนต์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 10% ในปี 2022 หนุนจากการเปิดเมืองรวมถึงการเพิ่มกำลังการผลิตชิป คาดปัญหาขาดแคลนชิปจะเริ่มผ่อนคลายลงใน 2Q22 เนื่องจากกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น (TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่มีส่วนแบ่งตลาดโลกที่ 53% เพิ่มกำลังการผลิต 30%ในปีที่ผ่านมา) และอุปสงค์ที่จะเริ่มลดลงสู่ระดับปกติจากปัจจุบันที่อยู่ในระดับสูง ดังนั้น เราคาดปริมาณผลิตรถยนต์ในไทยจะเติบโต 10% ใน 2022 หนุนโดย (1) การฟื้นตัวของอุปสงค์และ (2) ปัญหาขาดแคลนชิปผ่อนคลายลง

 

 

 

 

คงคำแนะนำ ซื้อ TP 32.50 บาทต่อหุ้น

จาก (1) การฟื้นตัวของอุปสงค์, (2) ปัญหาการขาดแคลนชิปที่เริ่มผ่อนคลายลง และ (3) คำสั่งซื้อใหม่ของชิ้นส่วนเพื่อผลิตรถกระบะรุ่นใหม่ ซึ่งเรายังไม่รวมในโมเดลของเรา TP ของเราอ้างอิง 10.0x PER