กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ 14-18 ก.พ. : ชะลอความร้อนแรง แต่จะยังแข็งกว่าหุ้นโลก

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ 14-18 ก.พ. : ชะลอความร้อนแรง แต่จะยังแข็งกว่าหุ้นโลก

ความกังวลเกี่ยวกับท่าที Hawkish ของ Fed และประเด็นสงครามจะฉุดให้โมเมนตั้มตลาดแผ่วลงในสัปดาห์ที่แล้ว (7-11 กุมภาพันธ์) ตลาดหุ้นไทยขยับขึ้นอย่างแข็งแกร่งเหนือความคาดหมาย เนื่องจากมีกระแสเงินทุนไหลเข้ามาในตลาดหุ้นอย่างแข็งแกร่ง

ในขณะเดียวกัน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั่วโลกยังขยับขึ้นต่อไปอีก สะท้อนถึงตัวเลข CPI ของสหรัฐในเดือนมกราคมที่พุ่งขึ้นอย่างร้อนแรง และความเห็นในเชิง hawkish จากผู้บริหารระดับสูงของ Fed หลายราย ส่งผลให้ดัชนี US dollar index ขยับตัวอยู่ในช่วงแคบ ๆ และหนุนให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอีก ทั้งนี้ หุ้น large-cap ส่วนใหญ่ยัง outperform โดยเฉพาะในกลุ่มธนาคาร ซึ่งได้อานิสงส์จากภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น สำหรับผลการประชุม กนง. เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ คณะกรรมการมองว่า GDP ไทยปีนี้ ยังมี upside อีก ในขณะที่เงินเฟ้อมีแนวโน้มขยับสูงขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ ภาวะตลาดหุ้นเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นไทยอ่อนแอลงเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ หลังจากที่ นาย James Bullard ประธาน Fed สาขา St.Louis ออกมาสนับสนุนการเรียกประชุมฉุกเฉินเพื่อขึ้นดอกเบี้ย

 

สำหรับในสัปดาห์นี้ (14-18 กุมภาพันธ์) ซึ่งตลาดไทยเปิดทำการซื้อขายเพียงสี่วัน เราคาดว่าดัชนี SET น่าจะพักตัวในขณะที่ตลาดอยู่ในโหมดของการปรับฐาน เรามองว่ามีสองเหตุการณ์ที่อาจจะเป็นปัจจัยลบในระยะสั้นกับสินทรัพย์เสี่ยง เหตุการณ์แรกคือการที่ Fed เรียกประชุมนัดพิเศษแบบ closed board meeting ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์เพื่อหารือเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ถึงแม้ว่าการประชุมรอบนี้จะไม่ใช่การประชุม FOMC ตามกำหนดและไม่น่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยระหว่างกาล แต่ถือเป็นการแสดงว่า Fed มีความกังวลกับอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น และจำเป็นต้องมีการถกนโยบายกันมากขึ้น เหตุการณ์ที่สองเกิดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ คือมีรายงานข่าวว่าสหรัฐ และอังกฤษถอนกองกำลังออกจากยูเครน และ ลดจำนวนเจ้าหน้าที่การทูตลงให้เหลือน้อยที่สุด เพราะมองว่ามีความเสี่ยงสูงที่รัสเซียจะบุกยูเครนในเร็ว ๆนี้ ในขณะเดียวกัน เรามองว่าหุ้นกลุ่มพลังงานอาจจะแข็งแกร่งจากการที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น ส่วนภาวะตลาดโดยรวมอาจจะอยู่ในโหมด risk-off โดยเฉพาะหลังจากที่ตลาดวิ่งขึ้นมาแรงในช่วงที่ผ่านมา

ติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับนโยบายการเงินของสหรัฐ และทิศทางกระแสเงินทุนที่อาจสวนทางกันระหว่างนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ

(0/-) การประชุมคณะกรรมการ Fed ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ และการเผยแพร่รายงานการประชุม FOMC ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ นักลงทุนควรติดตามผลการประชุม Fed นัดพิเศษในวันนี้ ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางสำหรับการตัดสินใจของ FOMC นัดหน้า นอกจากนี้ ยังต้องติดตามรายงานการประชุม FOMC เดือนมกราคมซึ่งจะมีการเผยแพร่ออกมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ด้วย ทั้งนี้ ในปัจจุบัน CME Fed Fund Futures ประเมินว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 50bps ในเดือนมีนาคม และคาดว่า US Fed Fund Rate จะขยับขึ้นไปถึง 2.0% ภายในสิ้นปี 2565

(0) ทิศทางกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สถานการณ์ลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนสถาบันในประเทศสวนทางกัน โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 5.80 หมื่นล้านบาท YTD ในขณะที่ขายสุทธิหุ้นไทย 4.46 หมื่นล้านบาท YTD ซึ่งจากการวิเคราะห์ของเราพบว่ายอดคงค้างกองทุน LTF ที่สามารถถูกขายออกมาได้อยู่ที่ 6 หมื่นล้านบาท ดังนั้น เราจึงเชื่อว่าแรงขายจากกองทุนในประเทศที่ระดับปัจจุบันน่าจะจำกัดแล้ว

 

เรายังเน้นหุ้น large-cap ที่ทำธุรกิจในประเทศ และแนะนำซื้อสะสมในช่วงที่ราคาผันผวนในระยะสั้น

ในขณะที่เราคาดว่าตลาดจะย่อลง เราเชื่อว่าจะยังมีกระแสเงินทุนจากต่างชาติไหลเข้าหุ้นในเอเชีย และหุ้นไทยต่อไป ดังนั้น เราจึงมองว่าตลาดน่าจะมี downside จำกัด ดังนั้น เราจึงแนะนำให้ซื้อสะสมหุ้น large-cap ที่ทำธุรกิจในประเทศในกลุ่มธนาคาร ผู้บริโภค และสื่อสาร โดยหุ้นที่เราชอบได้แก่ KBANK*, SCB*, CPALL*, MAKRO, ADVANC* และ INTUCH* เรามองว่าหุ้นกลุ่มน้ำมันน่าจะขยับขึ้นได้ดีในระยะสั้น แต่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับความผันผวนหลังจากที่ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในรัสเซีย-ยูเครน และฤดูหนาวผ่านพ้นไปแล้ว