กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ 31 ม.ค. – 4 ก.พ.: กลับเข้าสู่โหมดไซด์เวย์ หลังปรับฐานแล้ว

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ 31 ม.ค. – 4 ก.พ.: กลับเข้าสู่โหมดไซด์เวย์ หลังปรับฐานแล้ว

ในสัปดาห์ที่แล้ว (24-28 มกราคม) ดัชนี SET เกิด correction อย่างชัดเจนเนื่องจาก risk sentiment ในตลาดโลกอ่อนแอลงอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากผลการประชุม FOMC ออกมาค่อนข้าง hawkish ต่อแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐ

ในขณะที่ Fed ยังมีแผนจะลดขนาดงบดุลลงอีกด้วย ดังนั้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั่วโลก โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจึงพุ่งสูงขึ้น และ ส่งผลกระทบในด้านลบต่อการประเมินมูลค่าหุ้นในตลาดทั่วโลกด้วย ทั้งนี้ กระแสการลงทุนในหุ้นจากต่างชาติอยู่ในภาวะผันผวนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย แต่เนื่องจากแรงขายกระจุกอยู่ในกลุ่ม high flyers อย่างเช่นหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี ดังนั้นตลาดหุ้นไทยจึงยัง outperform ตลาดหลักอื่น ๆ ได้ เนื่องจากตลาดไทยมีสัดส่วนmarket cap จากธุรกิจเทคโนโลยีค่อนข้างต่ำ สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ผลประกอบการ 4Q64 ของกลุ่มธนาคารออกมาดีเกินคาด ทำให้หุ้นธนาคารปรับตัวอย่างแข็งแกร่ง

 

 

 

สำหรับในสัปดาห์นี้ (31 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์) เราคาดว่าดัชนี SET จะกลับมามีเสถียรภาพมากขึ้นและผันผวนน้อยลง เราคิดว่าตลาดการเงินทั่วโลกน่าจะปรับตัวเพื่อสะท้อนท่าที hawkish ของธนาคารกลางสหรัฐไปเรียบร้อยแล้ว โดยในปัจจุบัน CME Fed Fund Futures สะท้อนการที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ยถึง 5 ครั้งในปีนี้ไปแล้ว นอกจากนี้ FOMC ไม่มีกำหนดการประชุมในเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้น เราจึงเชื่อว่า ตลาดจะเผชิญแรงกดดันจากประเด็นนโยบายการเงินของสหรัฐน้อยลง แต่ในอีกด้านหนึ่ง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีในขณะนี้อยู่ที่ 1.8% ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าปี 2565 ของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ ที่คาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะขยับขึ้นไปถึง 2.3-2.5% ดังนั้น นักลงทุนน่าจะยังต้องเตรียมตัวรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่จะขยับขึ้น และการที่ตลาดอาจจะย่อลงอีกในขณะเดียวกัน เรายังมองว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะ outperform หุ้นในตลาด DM เพราะกระแสหลักของการจัดสรรเงินลงทุนในประเทศต่างๆ มีแนวโน้มจะเอื้อกับตลาด EM ในเอเชีย ซึ่งหากอิงจากการวิเคราะห์ earnings yield gap สำหรับปี 2565 เราเชื่อว่าดัชนี SET ไม่น่าจะหลุดลงไปต่ำกว่า 1,600 จุด

 

 

ติดตามข้อมูลมหภาคของสหรัฐ, อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และข่าวการเมืองไทย

(0) ข้อมูลมหภาคสหรัฐในสัปดาห์นี้ นักลงทุนควรติดตามข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคที่สำคัญของสหรัฐที่จะมีการประกาศออกมาในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนี ISM ภาคการผลิต และดัชนี ISM ภาคบริการ เดือนมกราคม รวมถึงรายงานการจ้างงานรายเดือน ซึ่งเรามองว่ายอดผู้ติดเชื้อ Omicron ในสหรัฐในช่วงที่ผ่านมาจะกดดันตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (nonfarm payrolls) แต่ไม่น่าจะถึงกับทำให้แนวโน้มหลักของการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐเปลี่ยนแปลงไป

(0) กระแสข่าวสถานการณ์การเมืองไทย นักลงทุนควรติดตามสถานการณ์การเมืองของไทย ซึ่งเป็นประเด็นที่ตลาดกลับมาสนใจอีกครั้ง ได้แก่

i) การที่ 18 ส.ส. ถูกขับออกจากพรรคพลังประชารัฐ แล้วย้ายไปเข้ากับพรรคร่วมรัฐบาลอีกพรรคหนึ่ง

ii) รัฐสภาเริ่มพิจารณาร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญสองฉบับเพื่อกำหนดเกณฑ์การเลือกตั้งทั่วไปในอนาคต

 

ยังคงเน้นหุ้นใหญ่ที่ราคาหุ้นสมเหตุสมผล

เนื่องจากแนวโน้มขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะยังเป็นปัจจัยหลักในตลาดอยู่ต่อไป ดังนั้น นักลงทุนจึงควรหลีกเลี่ยงหุ้นที่มีราคาแพง และหุ้นในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยี เรายังคงมองว่าหุ้นขนาดใหญ่ที่ราคาสมเหตุสมผลจะยังคง outperform ตลาดโดยรวมได้ต่อไป ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มที่เรา Overweight ตามกลยุทธ์การลงทุนใน 1Q65 ยังคงเป็นกลุ่มธนาคาร (BBL*, KBANK*) , ICT (ADVANC*, INTUCH*) และที่อยู่อาศัย (LH*, PSH)