เอฟทีเอ ดันยอดการค้าเวียดนามปี 64 พุ่ง 22.6 % คาดปี 65 โตต่อเนื่อง

เอฟทีเอ ดันยอดการค้าเวียดนามปี 64  พุ่ง 22.6 % คาดปี 65 โตต่อเนื่อง

สคต.เวียดนาม เผย เอฟทีเอ เวียดนามกับอียู สหราชอาณาจักร และซีพีทีพีพี สร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันในตลาดโลกมากขึ้น ส่งผลให้การค้าเวียดนามเพิ่มขึ้น 22.6% เฉพาะการส่งออกขยายตัว 19% หวั่นอนาคตไทยอาจสูญเสียส่วนแบ่งในตลาดยุโรป

างสาวพรรณกาญจน์ เจียมสุชน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สคต.) ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม  เปิดเผยว่า แม้ว่าเวียดนามจะมีปัญหาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่เวียดนามยังคงเกินดุลการค้า 4,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลมาจากข้อตกลงการค้าเสรี(FTA) โดยเฉพาะ FTA รูปแบบใหม่ ในปี2564 การค้าระหว่างประเทศของเวียดนามมีมูลค่า 668,500 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 22.6%  เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะการส่งออกเพิ่มขึ้น 19%  ซึ่งช่วยรักษาดุลการค้าเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน

ในปี2564 การส่งออกไปยังตลาดที่มีเขตการค้าเสรีกับเวียดนามมีการเติบโต ได้แก่ จีน เพิ่มขึ้น  15 %   สหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.2%   สหภาพยุโรป เพิ่มขึ้น 14 %  อาเซียน เพิ่มขึ้น  25.8%  เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 15.8%  อินเดีย  เพิ่มขึ้น  21% นิวซีแลนด์  เพิ่มขึ้น  42.5 %  และออสเตรเลีย  เพิ่มขึ้น  3.1%  

โดยเฉพาะ ข้อตกลง FTA รูปแบบใหม่ เช่น ข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือซีพีทีพีพี  (CPTPP) ข้อตกลงการค้าเสรีของสหภาพยุโรป – เวียดนาม  หรือเอฟทีเอ อียู-เวียนาม (EVFTA) และ ข้อตกลงสหราชอาณาจักร - เวียดนาม (UKVFTA) มีความ ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพอย่างมาก

เอฟทีเอ ดันยอดการค้าเวียดนามปี 64  พุ่ง 22.6 % คาดปี 65 โตต่อเนื่อง

โดยเฉพาะเอฟทีเออียู-เวียดนาม หลังจากดำเนินการกว่าหนึ่งปี  ส่งผลต่อการค้าทวิภาคีและการเติบโตของเวียดนาม ในปี 2564 พบว่า  การส่งออกไปยังสหภาพยุโรปมีมูลค่าประมาณ 40,070 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 14 % ในขณะเดียวกัน ข้อตกลง UKVFTA ได้ช่วยให้การค้าเวียดนาม - อังกฤษไม่หยุดชะงักท่ามกลางการถอนตัวออกจากสหภาพ ยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit) การค้าทวิภาคีมีมูลค่าประมาณ 6,600 ล้านดอลลาร์  โดยมีการส่งออกเพิ่มขึ้น  15.4%  และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 24.1 % ในปี2564

ทั้งนี้ นาย Nguyen Canh Cuong รัฐมนตรี-ผู้อำนวยการสำนักงานการค้าของเวียดนามในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ ระบุว่า  ในบริบทที่ความต้องการของตลาดลดลง อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และการขาดแคลนตู้คอนเทน เนอร์ทั่วโลก ความสำเร็จในการส่งออกของผู้ประกอบการเวียดนามถือได้ว่าเป็น “ปาฏิหาริย์“ ซึ่ง UKVFTA มีความสำคัญอย่างมาก

นอกจากนี้ CPTPP ทำให้เวียดนามสามารถส่งออกไปยัง แคนาดาเพิ่มขึ้น 19.5 %  และเม็กซิโก เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.1 %   ขณะเดียวกัน การส่งออกไปยังเปรู ซึ่งเป็นตลาดขนาดเล็กแต่มีศักยภาพโดยเพิ่มขึ้น  84.3%  ข้อตกลง UKVFTA ทำให้ผู้ประกอบการเวียดนามมีความได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้น หากสามารถรักษาความเชื่อมั่นของคู่ ค้า ปฏิบัติตามสัญญาในการส่งออก และรับประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์สินค้าเวียดนามจะมีส่วนแบ่งการตลาดที่เติบโตใน สหราชอาณาจักรในอนาคต เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผลผลิตทางการเกษตรในสหภาพยุโรป

ในปี2565 ข้อตกลง FTA ระดับทวิภาคีและพหุภาคีซึ่งรวมถึงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่มีผล บังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2565 จะยังคงเป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตอย่างต่อเนื่อง

นางสาวพรรณกาญจน์  กล่าวว่า   ข้อตกลงการค้าเสรีFTA และข้อตกลงรูปแบบใหม่ ถือเป็นส่วนสำคัญสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนาม จากการยกเว้น และลดหย่อนภาษีช่วยให้เวียดนามมีความได้เปรียบด้านการแข่งขันในตลาดสหภาพยุโรปมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อผู้ประกอบการไทยที่อาจสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในตลาดยุโรปบางส่วนให้แก่เวียดนาม ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการไทยจะต้องพบกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในตลาดเวียดนาม จากการส่งออกสินค้าของประเทศต่างๆ ในกลุ่มสหภาพยุโรปมายังตลาดเวียดนามอีกด้วย