IRPC - ปิโตรอ่อนแอ (วันที่ 25 มกราคม 2565)

IRPC - ปิโตรอ่อนแอ (วันที่ 25 มกราคม 2565)

คาด กำไรสุทธิ IRPC 4Q ที่ 2.1พันลบ. (0.10บาท EPS), -2% qoq แต่ +31% yoy โรงกลั่นแข็งแกร่ง แต่ธุรกิจปิโตรเคมีอ่อนแอ โดยมีซัพพลายใหม่กดดันส่วนต่างในปีนี้ คงคำแนะนำ ถือ ปรับราคาเป้าหมายเป็น 4.0บาท (จาก 4.5บาท) เพื่อสะท้อนแนวโน้มปิโตรฯที่อ่อนแอ

คาดกำไรสุทธิ 4Q ที่ 2.1พันลบ. (0.10บาท EPS), -2% qoq แต่ +31% yoy

อัตราการกลั่นเพิ่มเป็น 93% จาก 89% ใน 3Q จากส่วนต่างเบนซิน, น้ำมันอากาศยาน, และดีเซล (เบนซิน +US$3.9 qoq, อากาศยาน +US$4.9, ดีเซล +US$6.0) ทำให้ค่าการกลั่นตลาดเพิ่มเป็น US$3.8/bbl จาก US$1.8 ใน 3Q ส่วนเพิ่มน้ำมันดิบลดลง US$0.5/bbl qoq เนื่องจาก IRPC ใช้น้ำมันดิบ 50% จากซาอุฯ ธุรกิจปิโตรฯ อ่อนแอลง qoq จากส่วนต่าง HDPE และ ABS อ่อนแอลง ลดลง US$9 และ US$285 qoq เป็น US$555/t และ US$1,378/t ตามลำดับ ส่วนต่าง PP เพิ่มขึ้น US$31 qoq เป็น US$592/t เราคาดธุรกิจปิโตรฯจะเพิ่มส่วนต่างรวม (GIM) US$4.3 เทียบกับ US$6.3 ใน 3Q ส่วนต่างน้ำมันหล่อลื่นอ่อนแอลง qoq เป็น US$2.4 จาก US$3.4 ใน 2Q ทำให้ GIM ตลาดอยู่ที่ US$11.5 เทียบกับ US$12.4 ใน 3Q คาด IRPC จะบันทึกกำไรสต๊อก 1.8พันลบ. (US$3.0/bbl) และทำให้ GIM ทางบัญชีเป็น US$14.5/bbl จาก US$16.4/bbl ใน 3Q คาด IRPC มีกำไรอัตราแลกเปลี่ยน 125ลบ. จากค่าเงินบาทแข็งค่า เทียบกับขาดทุน 487ลบ. ใน 3Q เราคาดกำไรสุทธิ 4Q ที่ 2.1พันลบ. (0.10บาท EPS), -2% qoq แต่ +31% yoy

 

 

 

 

ปี 2022 จะเป็นปีที่ท้าทาย

เราคาดส่วนต่างปิโตรฯจะอ่อนแอใน 2022-23 เนื่องจากซัพพลายที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าการเติบโตของอุปสงค์ (หน้า 2) คาดอัตราการกลั่นเพิ่มขึ้นเป็น 90% ในปีนี้จาก 89% ใน 2021 ไปพร้อมการฟื้นตัวของค่าการกลั่น และลดผลจากธุรกิจปิโตรฯอ่อนแอ คาดอัตราการกลั่นทรงตัว qoq ใน 1Q22 ที่ 93% ซึ่งเป็นระดับที่ดีที่สุดในสัดส่วนน้ำมันดิบของบริษัทในปัจจุบัน IRPC มีกำหนดการซ่อมบำรุงโรงกลั่นเป็นเวลา 30 วันใน 4Q22

 

คงคำแนะนำ ถือ ปรับราคาเป้าหมายเป็น 4.0บาท (จาก 4.5บาทต่อหุ้น) สะท้อนแนวโน้มปิโตรฯอ่อนแอ

เราปรับราคาเป้าหมายเป็น 4.0บาทต่อหุ้น อ้างอิง 0.9x FY22F PBV เทียบเท่า 10.5x PE เราชอบ TOP และ IVL สำหรับโรงกลั่นและปิโตรฯ 2/3 ของ EBITDA ของ IRPC มาจากปิโตรฯ ซึ่งเราคาดส่วนต่างจะยังถูกกดดันใน FY22-23F