กสิกรไทย เปิดแผนธุรกิจ เกาะกรีน-ESG เร่งปล่อยกู้ธุรกิจช่วยลดก๊าซคาร์บอน

กสิกรไทย เปิดแผนธุรกิจ เกาะกรีน-ESG เร่งปล่อยกู้ธุรกิจช่วยลดก๊าซคาร์บอน

กสิกรไทย กางแผนยุทธศาสตร์แบงก์ ชูด้านสิ่งแวดล้อม ESG เป็นเรื่องสำคัญในแผนเคลื่อนธุรกิจ ชี้ปัจจุบันปล่อยกู้ ออกบอนด์ด้านสิ่งแวดล้อมแล้วกว่า 6 หมื่นล้าน รับไม่พอ ต้องเพิ่มสปีด ปล่อยกู้ธุรกิจที่ช่วยลดคาร์บอนเพิ่ม หนุนแบงก์ไปสู่ Net Zero Carbon

     นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าว ว่า กสิกรไทย ถือเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับด้านสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก หากดูการประชุมระดับโลกที่ผ่านมา พบว่ามีการตกลงร่วมกันในการช่วยลดอุณภูมิโลกร้อนเกิน 2% หรือ 1.5%

   ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะหากโลกร้อนมากขึ้น เหล่านี้จะกระทบต่อการเป็นอยู่ การใช้ชีวิต กระทบสิ่งมีชีวิตให้อยู่ลำบากมากขึ้น ดังนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญ และต้องทำเดี่ยวนี้ เพราะเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา และใช้เวลานานมาก 
ในมุมของธนาคารกสิกรไทย เราเชื่อมั่นและตั้งใจ ในการสนับสนุนเรื่องเหล่านี้ โดยการไปสู่การผลักดันสิ่งเหล่านี้ได้ จำเป็นต้องอิงมาตรฐานโลก เพื่อให้เรารู้ว่า ทำได้ดีหรือไม่ ซี่งกสิกรไทย เป็นธนาคารที่เข้าสู่มาตรฐาน หรือเข้าเกณฑ์เหล่านี้ตามมาตรฐานโลกทั้งหมด 
สำหรับในด้านการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม ESG กสิกรไทย มีการกำหนดบทบาทการทำงาน เป้าหมายต่างๆ เพื่อทำหน้าที่สนันสนุนด้านเหล่านี้ ทั้งการกำหนด Policy นโยบายองค์กร ที่เน้น ด้าน bank of sustainability  โดยเฉพาะด้าน Environment คือตั้งเป้า จะเป็น  net zero  โดยกำหนดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็น 0% ในปี 30 และปี 50 จะไปสู่ net zero carbon

     ซึ่งธนาคารวันนี้มีสองบทบาทด้วยกัน คือ เป็นส่วนหนึ่งคอมคอมมูนิตี้ ของสังคม ดังนั้น หน้าที่ของบริษัทเหล่านี้ต้องปล่อยก๊าสเรือนกระจกให้น้อยลงและสุดท้ายจะต้อง net zero carbon 
    อีกมุมคือในบทบาทของผู้ให้สินเชื่อ เป็นผู้ให้เงินทุน หรือเป็นนักลงทุน ทั้งหุ้น หรือบอนด์ ที่ธนาคารต้องเลือกลงทุนในบริษัท ที่พัฒนาไปสู่ net Zero เช่นเดียวกัน อันนี้คือด้านนโยบาย

      ถัดมาคือ Structure หรือการวางโครงสร้างองค์กร ในมุมธนาคารเป็นองค์กรที่ใหญ่ มีลูกค้าเยอะมาก ดังนั้นต้องมี ที่ดี มีการบริหารจัดการที่ดี ดังนั้นเรื่องการจัดการที่ดีคือต้อง มี Sustainable Development Governance ที่เป็นประธานเรื่องนี้ เพื่อให้ทิศทางในการทำเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้การตัดสินใจ การติดตาม เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

     ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญเพื่อนำไปสู่ธนาคารแห่งความยั่งยืน ดังนั้นทุกสิ่ง ที่ธนาคารดำเนินการ หรือทำ จะคำนึงถึง ESG คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกคน นั้นคือ Structure ที่ธนาคารวางไว้ตั้งแต่ต้น 
      เมื่อมี Policy มี Structure แล้วต้องมี Strategy หรือ การวาง เป้าหมาย มีการตั้งเป้า มอนิเตอร์ วัดผล วางแผน ซึ่งเป็นสิ่งที่ธนาคารปักธงไว้ เช่น ปี 2025 จะลดก๊าซเรือนกระจกให้ลดลง 21% ปี 2030 จะปล่อยก๊าซเป็น 0 และปี 2050 จะทำให้สอดคล้องไปกับประเทศ และสนับสนุนลูกค้าทุกพื้นที่ที่กสิกรไทยไป 
     ดังนั้นการที่กสิกรไทย พยายามไป Riginal ในภูมิภาค ธนาคารก็ต้องสนับสนุนลูกค้าในประเทศนั้นๆด้วย เหล่านี้คือเป้าหมายที่วางไว้
ด้าน Action ที่ธนาคารกสิกรไทยทำในปัจจุบัน หาดูจาก เงินให้สินเชื่อ กองทุน การออกตราสาร ปัจจุบันกสิกรออกให้ลูกค้าทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งเฉพาะสินเชื่อคิดเป็นมูลค่าราว 1.9 หมื่นล้านบาท

     แต่หากเทียบกับสินเชื่อของแบงก์ ที่ 2.4 ล้านล้านบาท คิดไม่ถึง 1% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด ดังนั้นยังต้องทำอีกเยอะมาก ดังนั้นแค่นี้ไม่พอแน่นอน และยิ่งไปด้วยสปีดนี้ คงไปไม่ถึงไหน ดังนั้นหากจะทำให้ได้ 100% หากไปด้วยสปีดนี้อาจต้องใช้เวลา 100ปี ดังนั้นเราต้องทำมากกว่านี้ 
     ฉะนั้นต้องมี Roadmap ที่ไปข้างหน้า จึงมีการตั้งเป้าไว้ว่า ธนาคารจะพยายามที่จะนำธนาคาร ไปสู่ Net Zero carbon ให้เหลือ 0%  และให้พอร์ตสินเชื่อของแบงก์ จะต้องไปสู่การสนับสนุน ปล่อยสินเชื่อไปสู่ Net Zero carbon และลดการปล่อยสินเชื่อในโครงการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากๆ ลดและหยุดในการปล่อยสินเชื่อตรงนี้ และพยายามมองหานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เพื่อทำให้พอร์ตของธนาคารไปต่อได้ 
     ดังนั้น มองว่าสิ่งเหล่านี้ต้องร่วมมือกัน และต้อง do good  และต้อง do well ต้องตอบโจทย์ผู้ถือหุ้น ตอบโจทย์นักลงทนได้ และต้องรู้ด้วย เราต้อง do more ทำมากขึ้น กสิกรไทยต้องปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ต้องลงทุนในสิ่งที่เป็นกรีนมากขึ้น และพวกเราทุกคนต้องทำทุกคน ไม่ว่าจะภาครัฐ ที่ต้องดำเนินการและให้แรงจูงใจ ธนาคารหรือลูกค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาก็ปรับปรุงพัฒนาต่อไป ส่วนผู้บริโภค ผู้ซื้อสินค้า สามารถช่วยได้ และเป็นส่วนสำคัญมาก การตระหนักรู้ ด้าน ESG สิ่งแวดล้อม ก๊าซเรือนกระจก โดยสนับสนุนบริษัทที่ให้ความสำคัญเกี่ยกับด้านนี้ เมื่อดีมานด์มี ตลาดมี ผู้บริโภคมาก บริษัทก็จะเปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติ ดังนั้นเราทุกคน สำคัญมาก และเป็นกลไกสำคัญมาก 
     “สุดท้าย เรื่อง ESG กรีน ต่างๆ เป็น Process ที่ไม่จบสิ้นและต้องพัฒนไปเรื่อยๆต้องใช้เวลา ดังนั้นต้องร่วมมือต้องสร้างอิมแพคให้มากขึ้น ดังนั้นเรา do good และ do well และ do more ไปด้วยกัน”