กำไรแบงก์ Q4/64ฟื้นยกกลุ่ม ต้นทุนลด –ตัดภาระตั้งสำรองฯ

กำไรแบงก์ Q4/64ฟื้นยกกลุ่ม ต้นทุนลด –ตัดภาระตั้งสำรองฯ

สัปดาห์นี้ผลประกอบการกลุ่มธนาคารจะเริ่มทยอยออกมาตั้งแต่กลางสัปดาห์ (19 -21 ม.ค.) ซึ่งความน่าสนใจของกำไรในงวดดังกล่าวจะสะท้อนการฟื้นตัวต่อเนื่องของกลุ่มธนาคารในไทย ด้วยปัจจัยที่เอื้อต่อธุรกิจจากการผ่อนคลายนโยบายการเงิน

หากเปรียบเทียบในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ปี 2564 กลุ่มธนาคารเผชิญปัจจัยกดดัน  ยิ่งเฉพาะการประเมินตัวเลขหนี้เสียในระบบที่ยังไม่ชัดเจนบวกกับการระบาดหลายระลอกของโควิด ส่งผลทำให้ธนาคารต้องกลับมาประเมินลูกค้าของตัวเองใหม่

ปัจจัยที่สามารถหนุนความน่าสนใจของหุ้นในกลุ่มนี้กลับมาได้ คือการผ่อนคลายมาตรการเข้มกับธนาคาร  ไม่ว่าจะเป็นแนวทางการช่วยเหลือลูกค้าหนี้ พักต้นพักดอกเบี้ย หรือแฮร์คัทหนี้  ไม่ได้บังคับให้สถาบันการเงินใช้กับลูกหนี้ทุกราย หรือลูกหนี้ทุกรายจะต้องได้รับการแฮร์คัทหนี้

โดยเน้นการช่วยเหลือสอดคล้องกับปัญหาด้านรายได้ เช่น ในช่วงต้นลูกหนี้อาจจะรายได้ยังไม่กลับมามาก ก็ขอให้สถาบันการเงินให้ลูกหนี้ผ่อนชำระในอัตราที่ไม่สูง ก่อนค่อย ๆ ทยอยปรับเพิ่มขึ้น แต่ไม่ใช่การเลื่อน หรือพักหนี้เป็นการชั่วคราว

ต่อด้วยการลดต้นทุนทางการเงินให้กับสถาบันการเงินเกิดความคล่องตัว “กล้าปล่อยสินเชื่อ” มีทั้งคงการจัดชั้นชั่วคราวยาวไปถึงสิ้นปี 2565 สำหรับลูกหนี้รายย่อยและเอสเอ็มอีที่เข้าโครงการปรับโครงสร้างนี้ทำให้ลดภาระการตั้งสำรองฯของหุ้นธนาคาร

โดยเสริมการจัดชั้นและการกันเงินสำรองแบบยืดหยุ่นไปจนถึงสิ้นปี 2566 กรณีมีการช่วยเหลือลูกหนี้  และสุดท้าย ขยายเวลาการปรับลดการนำส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟู (FIDF)ของสถาบันการเงินไว้ที่ 0.23 % ไปจนถึงสิ้นปี 2565 

บวกกับการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจการเงินเข้าสู่ดิจิทัล ทำให้จากราคาหุ้นในกลุ่มนี้ซื้อขายในระดับมูลค่าที่ต่ำมาตลอด  หุ้นทางบัญชี (PBV)  ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี มีการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นมากกว่า 30 % ในช่วง เกือบ 3 เดือนที่ผ่านมา

กำไรแบงก์ Q4/64ฟื้นยกกลุ่ม ต้นทุนลด –ตัดภาระตั้งสำรองฯ

สำหรับไตรมาส 4 ปี 2564 บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โนมูระ พัฒนสิน คาดจะรายงานกำไร สุทธิ รวมที่ 3.38 หมื่นล้านบาท ( +7.5%y-y -17.9%q-q ) โดยสาเหตุที่โตจากปีก่อนจากสินเชื่อโตดี ขณะที่ค่าใช้ จ่ายสำรองและค่าใช้จ่ายดำเนินงานลดลง ส่วนลดลงจากไตรมาสก่อนมาจากค่าใช้จ่าย ดำเนินงานเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล

ฝ่ายวิเคราะห์กลยุทธ์ บล.คันทรี่ กรุ๊ป ระบุกลุ่มธนาคารพาณิชย์ทั้งหมดจะรายงานในสัปดาห์นี้ TISCO  คาดรายงานกำไรสุทธิดีกว่าตลาดคาด 8% ซึ่งได้แรงหนุนจากค่าธรรมเนียมที่ขยายตัว โดยเฉพาะจากธุรกิจนายหน้าประกันภัย, สำรองหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลง 48% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ดังนั้นแนวโน้มกำไรกลุ่มธนาคารที่จะประกาศออกมาในสัปดาห์นี้ก็น่าจะสดใสคล้ายกับ TISCO

ประเมินกำไรกลุ่มธนาคารไตรมาส 4 ปี2564 ภายใต้ที่ (BBL KBANK SCB TTB) 2.4 หมื่นล้านบาท (+12% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และ -9% จากไตรมาสก่อนหน้า) สาเหตุของการลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลจากค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามฤดูกาล แต่ขณะเดียวกันผลประกอบการไตรมาส 4 ปี2564 จะเป็นจุดต่ำสุดหนุน จากสินเชื่อที่จะเติบโตจากนี้ รายได้ค่าธรรมเนียมที่จะดีขึ้น และค่าใช้จ่ายสำรองที่จะลดลงหลังจากได้ตั้งสูงไปก่อนหน้านี้ Top pick ได้แก่ BBL KBANK

บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า แนะนำ POSITIVE กลุ่มแบงก์ จากการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ และอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้นน่าจะหนุนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น

โดยเปลี่ยน Top Pick เป็น KBANK และ KKP (จาก KBANK และ TTB) โดยชอบ KKP ที่ยัง laggard รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดทุนที่ขยายตัวแรง และ ปรับคำแนะนำ TTB เป็น ถือ จาก ซื้อ หลังจากราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 20% แซงหน้าดัชนี SET 16% ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ความเสี่ยงหลัก คือ การกลายพันธุ์ของไวรัส ซึ่งอาจทำลายความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และอาจนำไปสู่มาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดขึ้นอีก

ธนาคาร 7 แห่งที่เราวิจัยคาดว่าจะรายงานผลประกอบการไตรมาส 4/64 ที่ 3.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% YoY (ทรงตัว QoQ) เนื่องจากต้นทุนสินเชื่อ (ยกเว้น KBANK) และ opex ที่ลดลง โดย BBL มีแนวโน้มที่จะรายงานการเติบโตของกำไรต่อหุ้นที่แข็งแกร่งที่สุดที่ 195% YoY เนื่องจากต้นทุนแฝงที่สูงในไตรมาส 4/63 สินเชื่อมีแนวโน้มเติบโต QoQ เนื่องจากปัจจัยตามฤดูกาลของความต้องการเงินทุนหมุนเวียนที่สูง NIM น่าจะลดลงจากการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว ในแง่บวก PPoP มีแนวโน้มที่จะเติบโต 9% YoY นำโดย BBL (OPEX ลดลง) และ KBANK (NII เพิ่มขึ้น)

คาดการณ์อย่างระมัดระวังว่าอัตราส่วน NPL ของภาคธุรกิจจะเพิ่มขึ้นจาก 4.2% ในไตรมาส 3/64 เป็น 4.3% ในไตรมาส 4/64 เนื่องจากสินเชื่อ SME บางส่วนกลายเป็น NPL อย่างไรก็ตามคาดว่าต้นทุนเครดิตจะลดลง 145bps ในไตรมาส 4/64 จาก 158bp ในไตรมาส 3/64  ไม่ค่อยกังวลเกี่ยวกับคุณภาพสินทรัพย์ เนื่องจากธนาคารไทยมี NPL coverage ที่ 156% และระดับเงินทุน 19.9% สำหรับปี 2565  คาดการณ์ว่าอัตราส่วน NPL จะเพิ่มขึ้น 30bps YoY เป็น 4.6% แต่ต้นทุนสินเชื่อน่าจะลดลง 10bps YoY เป็น 1.42% จากนโยบายการกันสำรองล่วงหน้าและนโยบายช่วยเหลือของ ธปท.

          ภาคการธนาคารคาดว่าจะทำผลงานได้ดีกว่า SET ในปี 2565 เนื่องจากกำไรที่เพิ่มขึ้นและ ROE จากต้นทุนสินเชื่อที่ลดลงจะเป็นปัจจัยหนุนให้มีการประเมินมูลค่าใหม่จากระดับต่ำสุดในปัจจุบัน (P/BV 0.7 เท่า) NIM ลบด้วยต้นทุนเครดิตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกจาก 1.13% ในปี 2563 เป็น 1.3-1.4% ในปี 2564-2565 การฟื้นตัวของกำไรจะทำให้ ROE ของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นจาก 5.9% ในปี 2563 เป็น 7-8% ในปี 2564-2565