“บีไอจี-ปตท.” เตรียมพร้อมออกซิเจนรับมือวิกฤติ "โอมิครอน"

“บีไอจี-ปตท.” เตรียมพร้อมออกซิเจนรับมือวิกฤติ "โอมิครอน"

 “บีไอจี” เพิ่มกำลังการผลิต “ออกซิเจนทางการแพทย์” จากโรงงานแยกอากาศแห่งใหม่ร่วมทุนกับ ปตท. ด้วยกำลังการผลิตออกซิเจนรวมสูงถึงกว่า 1,150 ตัน/วัน ป้อนระบบสาธารณสุขของประเทศ พร้อมรองรับวิกฤตโควิดจากโอมิครอนระลอกใหม่

นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด หรือ บีไอจี เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่กระจายในหลายภูมิภาคและพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บีไอจีขอให้ความมั่นใจเรื่องการเตรียมความพร้อมสำหรับออกซิเจนทางการแพทย์เพื่อรองรับระบบสาธารณสุขไทยอย่างเนื่องและเพียงพอ

“บีไอจี-ปตท.” เตรียมพร้อมออกซิเจนรับมือวิกฤติ \"โอมิครอน\" โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา บีไอจีจับมือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)   เดินเครื่องโรงแยกอากาศแห่งใหม่ในนาม โรงแยกอากาศมาบตาพุด แอร์โปรดักส์ จำกัด (Map Ta Phut Air Products Co., Ltd.: MAP) ซึ่งทำให้บีไอจีมีกำลังการผลิตออกซิเจนรวมสูงถึง 1,150 ตัน/วัน เพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศ

“บีไอจีได้ทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์และหน่วยงานอาสาเพื่อนำออกซิเจนไปช่วยเหลือผู้ป่วย โควิดจำนวนมากจากวิกฤติโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่ผ่านมา เราจึงพร้อมสนับสนุนทุกภาคส่วนเพื่อรองรับความต้องการออกซิเจนที่เพิ่มขึ้นอีกครั้งจากการแพร่ระบาดของโควิดจากสายพันธุ์โอมิครอนระลอกใหม่ในขณะนี้ ซึ่งส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยใหม่ที่เข้ารักษาในสถานพยาบาลทั่วประเทศเพิ่มมากขึ้น

โดยครั้งนี้ บีไอจี ได้เพิ่มกำลังการผลิตออกซิเจนทั้งจากโรงแยกอากาศเดิมของบีไอจี และ โรงแยกอากาศ MAP แห่งใหม่ที่ร่วมมือกับ ปตท. ซึ่งได้เปิดดำเนินการผลิตตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา รวมถึงการบริหารจัดการขนส่ง การสำรองออกซิเจนเหลวในถังเก็บสำรองที่อยู่พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ขนาดความจุมากกว่า 7,300 ตัน และ การจัดหาท่อ Cylinder บรรจุออกซิเจน ด้วยแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ โดยใช้ระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Platform) และ บิ๊กดาต้า (Big Data) ในการบริหารระบบซัพพลายเชนทั้งหมด เพื่อรองรับปริมาณความต้องการออกซิเจนทางการแพทย์ในทุกสถานการณ์

“บีไอจี-ปตท.” เตรียมพร้อมออกซิเจนรับมือวิกฤติ \"โอมิครอน\" ทั้งนี้ การจัดส่งออกซิเจนของบีไอจีมีทั้งในรูปแบบของเหลว (Liquid) และนำมาเปลี่ยนสภาพเป็นก๊าซ ณ โรงพยาบาล ซึ่งทำให้มีปริมาณออกซิเจนมากกว่าการขนส่งในรูปแบบก๊าซกว่า 800 เท่า และในรูปแบบของก๊าซ (Gas) บรรจุออกซิเจนในท่อ Cylinder ซึ่งสามารถนำไปใช้ทั้งในสถานพยาบาลและชุมชนได้ทันที