เอกชน เตือนราคาสินค้าปี65 พุ่ง รับภาวะเงินเฟ้อรุนแรง

เอกชน เตือนราคาสินค้าปี65 พุ่ง รับภาวะเงินเฟ้อรุนแรง

หวั่นเงินเฟ้อ ระเบิดเวลาใหม่ร้ายแรงซ้ำเติมวิกฤติโควิด-19 ชนวนฉุดรั้งเศรษฐกิจให้ติดหล่ม ไทยยูเนี่ยน เตือนผู้บริโภครับมือราคาสินค้าพุ่งปีหน้า ไอ.ซี.ซี.ฯ ในเครือสหพัฒน์ ห่วงเงินฝืด ประชาชนพร้อมใจรัดเข็มขัดไม่ใช้จ่าย ดับฝันเครื่องยนต์การบริโภคฟื้นเศรษฐกิจไทย

ปัจจัยเสี่ยงหรือภัยคุกคาม (Threats) จากภายนอกเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ แต่การประเมินหรือคาดการณ์อนาคตทำให้รู้ว่จะต้องเตรียมตัวรับมือกับอะไรบ้าง อย่างล่าสุด สิ่งที่ภาคธุรกิจมีความกังวล ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือภาวะ “เงินเฟ้อ” ที่เกิดในสหรัฐฯ รุนแรงสุดรอบ 40 จะฉุดเศรษฐกิจให้ชอละตัว(Stagflation)เหมือนในอดีต

ขณะที่เงินเฟ้อ จะเป็นตัวแปรเบรกการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อีกมุมภาคธุรกิจบางรายกลับห่วงภาวะ “เงินฝืด” เพราะผู้บริโภคจะไม่ใช้จ่าย รัดเข็มขัดให้แน่นกว่าเดิม จนทำให้การค้าขายลำบาก เมื่อมองต่าง ทำให้บริษัทต้องงัดแผนสองรองรับโจทย์ยากปี 2565

ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านนวัตกรรม บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ฉายภาพว่า มีความกังวลกับภาวะเงินเฟ้ออย่างมาก เพราะจะทำให้ “ราคาสินค้า” ขยับขึ้นอย่างแน่นอน และไม่เพียงกระทบต่ออำนาจซื้อ การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคเท่านั้น แต่กระเทือนภาคธุรกิจในวงกว้าง

ทั้งนี้ หากราคาสินค้าขยับ จะมีผลต่อการปรับ “ค่าแรง” ตามมาด้วย ซึ่งโดยร่วม “ต้นทุนการผลิตสินค้า” ปี 2565 พุ่งสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในสหรัฐ ไม่ใช่สัญญาณเตือนเดียว เพระราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ให้เพิ่มตามไปด้วยไม่ว่าจะเป็นเหล็ก อะลูมิเนียม และไทยยูเนี่ยน ที่ผลิตอาหารประเภททูน่ากระป๋อง ต้องเตรียมรับมือกับต้นทุนบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มด้วย เช่น ปลากระป๋องกำไร 3-4% หากเงินเฟ้อพุ่งเท่ากันอัตรากำไรย่อมไม่เหลือ

เอกชน เตือนราคาสินค้าปี65 พุ่ง รับภาวะเงินเฟ้อรุนแรง

เงินเฟ้อเป็นปัจจัยที่น่าห่วงที่สุด เป็นอันดับ 1 แทนที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด ซึ่งยังไวรัสก็ยังอยู่กับทุกคนแบบนี้ และต้องปรับตัวกันไป แต่เงินเฟ้อที่ส่งสัญญาณรุนแรงสุดในรอบหลายสิบปี อยากเตือนผู้บริโภคว่าปีหน้าราคสินค้าขึ้นแน่ เงินเฟ้อพุ่งทำให้ทุกคนลำบาก หากคุมไม่ดีเศรษฐกิจอาจดิ่งได้ บางคนอาจมองว่าเงินเฟ้อทำให้เงินในระบบเพิ่มเพราะต้องซื้อสินค้าราคาแพงขึ้น บางคนอาจมองเงินในระบบเศรษฐกิจจะน้อยลง”

“เงินเฟ้อ”สัญญาณร้าย แต่ “เงินฝืด” ต้องติดตาม เพราะอาจเป็น “ระเบิดเวลา” กระเทือนธุรกิจ มุมมองจาก ธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)ในเครือสหพัฒน์

จากวิกฤติโรคโควิด-19 ระบาดมาราธอน 2 ปี ฉุดความมั่งคั่งของภาคธุรกิจ และฐานะการเงินส่วนบุคคลของประชาชนอย่างมาก และเมื่อมีมาตรการล็อกดาวน์เกิดขึ้น ทำให้ผู้บริโภค “รัดเข็มขัด” เบรกซื้อสินค้าทันที ตัวอย่าง เมษายนปีก่อน ที่โควิดระบาดรอบใหม่ ประชาชนพร้อมใจ “ล็อกดาวน์” ตัวเอง ไม่ออกมาจับจ่ายซื้อสินค้า ทำให้ยอดขายของไอ.ซี.ซี.ฯ หายไปเกือบ 1,000 ล้านบาท

“ห่วงเงินฝืดมากกว่า เพราะถ้าไม่มีเงินหมุนเวียนในระบบ เศรษฐกิจจะลำบากมาก ตอนนี้ระยะสั้นยังไม่เห็น เพราะเดือนธันวาคมผู้บริโภคยังใช้จ่าช่วงเทศกาลเฉลิมฉลอง แต่หลังปีใหม่ ห่วงว่าจะเป็นเหมือนล็อกดาวน์ที่ผ่านมา ที่ไม่ใช่แค่ผู้บริโภคอั้นใช้จ่าย แต่ไม่มีอารมณ์ใช้จ่ายเลย ทั้งที่ไม่ได้มีการล็อกดาวน์ แต่ผู้บริโภคกลับพร้อมใจกันล็อกตัวเอง ทำให้การค้าขาสะดุดครั้งใหญ่

เอกชน เตือนราคาสินค้าปี65 พุ่ง รับภาวะเงินเฟ้อรุนแรง

ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อ ยอมรับว่าต้นทุนการผลิตสินค้าต่างๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากปัญหาซัพพลายเชนที่สะดุด ส่วนไอ.ซี.ซี.ฯ ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะสินค้าส่วนใหญ่เป็นสิ่งทอ เสื้อผ้ แฟชั่นต่างๆ แต่หมวดอาหาร ค่อนข้างได้รับผลกระทบมากกว่า เนื่องจากพืชผล สินค้าทางการเกษตรปรับตัวขึ้นถ้วนหน้า

สำหรับการปรับตัวรองรับปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ทำให้บริษัทต้องมีแผนสองเพื่อเคลื่อนธุรกิจ หันกลับมาปรับภายในองค์กร ปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ลดการใช้จ่ายงบประมาณต่างๆที่ไม่จำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับยอดขายสินค้า เช่น งบการตลาด ทั้งเครือใช้หลายร้อยล้านบาท

เอกชน เตือนราคาสินค้าปี65 พุ่ง รับภาวะเงินเฟ้อรุนแรง

ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืดที่จะเกิดขึ้น เราต้องเตรียมรับมือ อาจไม่ต้องมองไกลตรงนั้น แต่หันมากลับมามองภายในองค์กรตัวเองมากขึ้นว่าปรับปรุงทำอะไรได้บ้าง และในการบริหารงานเราต้องมีแผนสอง เพื่อรองรับโดบเฉพาะปีหน้า ซึ่งมองว่าเป็นปีที่จะมีการเปลี่ยนแปลงสูงมาก หากทำงานไม่เป็นไปตามแผนแรกที่วางไว้ ต้องปรับตัวกันหน้างานทันที”

อย่างไรก็ตาม อำนาจซื้อของผู้บริโภคที่หายไปท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ส่งผลให้ยอดขายไอ.ซี.ซี.ฯ ปี 2564 คาดว่าจะต่ำกว่าปี 2564 ซึ่งสร้างยอดขายได้กว่า 8,300 ล้านบาท