Bank Sector มีสัญญาณการฟื้นตัวของการดำเนินงานในช่วง

Bank Sector มีสัญญาณการฟื้นตัวของการดำเนินงานในช่วง

ธนาคารต่าง ๆ ลดสถานะการลงทุนในตราสารหนี้ลง (-1% MoM และ +6% YTD)  KTB ยังเป็นธนาคารที่โตพอร์ตการลงทุนในตราสารมากที่สุด โดยสถานะการลงทุนเพิ่มต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 (+3% MoM และ +10% YTD)

ในขณะที่สถานะการลงทุนของ KBANK เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง (+3% MoM และ +65% YTD) แต่หากไม่รวม KTB KBANK ที่ ธนาคารอื่น ๆ ส่วนใหญ่ต่างพากันลดสถานะการลงทุนในตราหนี้ลง โดยเฉพาะ SCB,BBL, KKP, TISCO

 

การปล่อยกู้ในตลาดเงินลดลงเล็กน้อยตามฐานเงินฝาก

ธนาคารที่ปล่อยกู้ในตลาดเงินอย่างคึกคักในช่วงสองเดือนก่อนหน้าหันมาชะลอสถานะปล่อยกู้ลงในเดือนนี้ โดยเฉพาะ KTB และ BBL ซึ่งเป็นไปตามฐานเงินฝากที่ลดลงเล็กน้อย ซึ่งในกรณีของ KTB สถานการณ์ปล่อยกู้ในตลาดเงินลดลง 29% MoM และ 14% YTD ในขณะที่ฐานเงินฝากลดลง 3% MoM แต่เพิ่มขึ้น 7% YTD

 

สินเชื่อยังขยายตัวอย่างซบเซา แต่ BBL กลับมาขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้น

อัตราการขยายตัวของสินเชื่อของกลุ่มธนาคารยังคงซบเซาในเดือนพฤศจิกายน (+0.4% MoM และ +5%YTD) โดย BBL กลับมาขยายสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้น (+2% MoM และ +5% YTD) อย่างไรก็ตาม สถานะการปล่อยกู้ของธนาคารอื่น ๆ ยังค่อนข้างทรงตัว เราคิดว่าการที่อัตราการขยายตัวของสินเชื่อซบเซาติดต่อกันในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาอาจจะสะท้อนถึงการสิ้นสุดโครงการพักชำระหนี้

 

 

 

ส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น

ถึงแม้ว่าสินเชื่อจะขยายตัวอย่างซบเซา และการลงทุนในตราสารหนี้จะไม่คึกคัก แต่ส่วนผู้ถือหุ้นของธนาคารส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น ยกเว้น BBL ทั้งนี้ส่วนผู้หุ้นที่เพิ่มขึ้นอาจจะสะท้อนถึงการบันทึกกำไรจากพอร์ตเงินลงทุนตามมูลค่าตลาด (mark-to-market) ในตราสารหนี้ และจากผลการดำเนินงานจากธุรกิจหลักในช่วงระหว่างเดือน ทั้งนี้ ฐานทุนของ KBANK เพิ่มขึ้นมากที่สุด 4.4 พันล้านบาท MoM และ 6.6 พันล้านบาท QTD รองลงมาคือ SCB ที่เพิ่มขึ้น 3.2 พันล้านบาท MoM และ 6.4 พันล้านบาท QTD และ KTB ที่เพิ่มขึ้น 3 พันล้านบาท MoM และ 4.5 พันล้านบาท QTD ทั้งนี้ส่วนผู้ถือหุ้นคาดว่าเป็นจากผลการเนินงานดีขึ้นมากกว่า MTM จากเงินลงทุนตราสารหนี้

 

Valuation and action

เรายังคงมองบวกกับกลุ่มธนาคาร เนื่องจากสถานการณ์ COVID ที่คลี่คลายลงจะช่วยหนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงมีการผ่อนคลายเกณฑ์การจัดชั้น NPL และการตั้งสำรอง ในขณะเดียวกัน การผ่อนคลายเกณฑ์การบริหาร NPL ผ่านการตั้ง JV จะช่วยคลายแรงกดดันของธนาคารในเชิงคุณภาพสินทรัพย์ลง และทำให้ราคาหุ้นมี upside จากการติดตามหนี้เสียในอนาคต เรายังคงเลือก SCB และ KBANK เป็นหุ้นเด่นในกลุ่ม จากวิสัยทัศน์ของธนาคารในการบริหารหนี้เสีย และกลยุทธ์ที่เป็นพลวัตรในเชิงของการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี

 

Risks

NPL และค่าใช้จ่ายในการกันสำรองเพิ่มขึ้น, แรงกดดันทางด้านของยีสด์สินเชื่อ