“โลกร้อน”ท้าการผลิตข้าวไทย ต้นทุนส่งออกเพิ่ม-ขีดแข่งขันลด

“โลกร้อน”ท้าการผลิตข้าวไทย  ต้นทุนส่งออกเพิ่ม-ขีดแข่งขันลด

กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า การส่งออกข้าวในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค.มีมูลค่า 81,739.2 ล้านบาท ทำให้“ข้าว”เป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้เข้าประเทศจำนวนไม่น้อยจากน้ำพักน้ำแรงของชาวนาแต่อาชีพดั่งเดิมของไทยนี้กำลังถูกท้าทายจากปัจจัยทางการส่งออกที่กำลังรุมเร้าในขณะนี้

สุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ( CEO ) บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด หรือ ข้าวตราฉัตร เปิดเผยในการเสวนาเรื่อง“ผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทย” ว่า ขีดความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีความรุนแรงมาก การส่งออกข้าวของไทยปรับตัวลดลง ซึ่งต้องพิจารณาศักยภาพและปัจจัยของข้าวแต่ละชนิด

“โลกร้อน”ท้าการผลิตข้าวไทย  ต้นทุนส่งออกเพิ่ม-ขีดแข่งขันลด

นอกจากนี้  การส่งออกข้าวของไทยต้องระวังหลังจากนี้ 3-5 ปี คือผลกระทบก๊าชเรือนกระจก เนื่องจากการทำนาโดยวิธีการปล่อยน้ำขัง นั้น มีการปล่อยก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศสูงมาก ซึ่งรุนแรงว่าคาร์บอนไดออกไซด์ ถึง 25 เท่าถ้าไทยไม่ปรับปรุงโครงสร้างการผลิต อย่างจริงจัง เพื่อรองรับการบังคับใช้กฎหมายก๊าซเรือนกระจกของอียู และประเทศตะวันตกทั้งหมดใน 3-5 ปีนี้

 การส่งออกจะต้องจ่าย ค่าพรี่เมี่ยม เช่นเดียวกันสายการเดินเรือที่เริ่มจ่ายเนื่องจากปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ แล้วยังมีก๊าซมีเทนที่รุนแรงกว่า คาดว่าจะส่งผลให้ไทยต้องจ่ายค่าพรีเมี่ยมดังกล่าวในส่วนของข้าวประมาณตันละ 200-300 ดอลลาร์ หากเงื่อนไขนี้ต้องถูกนำไปเปรียบเทียบกับการทำนาของ ประเทศอื่นๆ ว่าจะสามารถคุมการปล่อยก๊าชมีเทนได้หรือไม่

โดยที่ผ่านมา การศึกษาของไทยกับญี่ปุ่น พบว่าการผลิตข้าวของไทย 1 กก. ปล่อยก๊าซมีเทน 4.5 กก. การผลิตข้าวของญี่ปุ่น 1 กก. ปล่อยก๊าซมีเทน 2.5 กก. ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่ไทยจัดควบรวมแปลงใหญ่ และจัดระบบชลประทานให้มีทางเข้า- ออกของน้ำที่ชัดเจน เพื่อทำนาเปียกสลับแห้งลดการปล่อยก๊าซในบางช่วง ป้องกันผลกระทบกับการส่งออกของไทยทั้งประเทศ สูญเสียในการแข่งขันและต้องจ่ายค่าพรีเมี่ยมมากขึ้นในทุกสินค้า

 

สุเมธ กล่าวอีกว่า ด้านการพัฒนาพันธุ์ข้าวพบว่าแต่ละชนิดยังมีประเด็นที่ต้องปรับปรุง โดยข้าวหอมมะลิ จัดอยู่ในข้าวไวแสง สามารถปลูกได้ครั้งเดียว ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 340 กิโลกรัม(กก.)ต่อไร่ ไทยส่งออกได้เฉลี่ย 1.4 ล้านตัน แต่ตลาดข้าวหอมมะลิไม่โตเท่าที่ควร ราคาที่ปรับขึ้นสูงมากตันละ 1,200 ดอลลาร์ เทียบกับข้าวนุ่มเวียดนามที่กลิ่นคล้ายหอมมะลิของไทย 550ดอลลาร์ต่อตัน

 

ทำให้ 5 ปีที่ผ่านมา เวียดนามสามารถขยายการส่งออกกลุ่ม ข้าวหอมนุ่ม ในราคา 550-600 ดอลลาร์ต่อตัน ยึดเอาตลาดไป เช่นที่ แอฟริกาตะวันตก มาเลเซีย ฟิลิปินส์ จีน ฮ่องกง และสิงคโปร์

 

ยังต้องระวังข้าวนุ่มของกัมพูชา เพราะในเดือน ม.ค.นี้ นี้จะได้รับการผ่อนผันส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรปหรือ อียู โดยไม่มีภาษี ไม่จำกัดจำนวน ในขณะที่ไทยมีโควตาการส่งออก ที่ 2.6 หมื่นตัน ก็ยังพอไปได้ แต่ต้องดึงตลาดสหรัฐ ฮ่องกง จีน กลับมาน่าจะสู้ได้กัมพูชา และเวียดนามได้”

 

ข้าวขาว  เผชิญภาวะตลาดแอฟริกา อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ มาเลเซีย หันมานิยมข้าวนุ่มมากขึ้น จึงควรแข่งขันด้วยข้าวนุ่มราคาประหยัดคือปทุมธานี หรือส่งเสริมพันธุ์หอมพวงที่มีผลผลิตสูงมากเพื่อดึงตลาด1.6 -2 ล้านตัน กลับคืนมากจากเวียดนาม