"OR" ฝ่าเทคโนโลยีดิสรัปชัน ย้ำปี65 เดินหน้าผนึกพันธมิตรดันธุรกิจใหม่

"OR" ฝ่าเทคโนโลยีดิสรัปชัน ย้ำปี65 เดินหน้าผนึกพันธมิตรดันธุรกิจใหม่

OR ฝ่าเทคโนโลยีดิสรัปชัน ย้ำปี65 เดินหน้าผนึกพันธมิตรดันธุรกิจใหม่ แก้โจทย์ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าพาคนไทยเติบโตไปพร้อมกัน

นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR กล่าวเสวนา “ส่องหุ้นไทย 2022 ลงทุนรับเปิดประเทศ” ในหัวข้อ "INSIGHT… หุ้นมหาชน” จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ” เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2564 ว่า ภายหลังโควิด-19 เข้ามากระทบธุรกิจทั้งออยล์และนอนออยล์ บริษัทได้รับผลกระทบมากสุดในเรื่องของกลุ่มธุรกิจน้ำมันจำนวน 2,000 สาขา และเมื่อเริ่มมีการเปิดเมืองและเปิดประเทศ ยอดขายน้ำมันช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 10% ส่วนธุรกิจนอนออยล์ โออาร์มีร้านคาเฟ่ อเมซอน ที่ถือเป็นจุดแข็งแกร่ง การโซเชียลดิสแทนส์ซิ่งสำคัญลูกค้าบางกลุ่มสามารุสั่งสินค้าจากร้านได้จากสาขาทั้งหมด 3,500

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันลูกค้าโออาร์มีการเข้ามาใช้บริการปั๊มพีทีที สเตชั่นวันละ  2.5 ล้านคน การที่โออาร์มีพันธมิตรร้านอาหาร หรือแม้แต่ร้านคาเฟ่ อเมซอนเองถือเป็นจุดดึงดูดความสนใจให้เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมพร้อมทั้งได้เตรียมการในเรื่องของพลังงานสะอาด ที่ทำให้การใช้พลังงานของกลุ่มคนใช้ไม่รู้สึกถึงรอยต่อยองการเปลี่ยนแปลงการเติมน้ำมันกับการชาร์จไฟฟ้า โดยเร่งขยายการจัดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าทั้งในและนอกสถานี ที่ปัจจุบันมีกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม 2,600 ราย

“เราได้ทดลองและทดสอบเทคโนโลยีการชาร์จไฟฟ้า รวมถึงทดสอบพฤติกรรมผู้บริโภค สามารถพัฒนาเครื่องชาร์จไฟฟ้าในพื้นที่ในสถานีบริการน้ำมันเพียง 20 นาที ถือว่าใกล้เคียงกับคนมาเติมน้ำมัน ที่จากข้อมูลการเข้าปั๊มน้ำมันเฉลี่ยเวลาอยู่ที่ 20 นาที จึงถือว่าดิจิทัล ดิสรัปชันก่อให้ประโยชน์ทำให้แข็งแรงเติบโตแบบครบวงจร ทั้งการดิจิทัลแฟลตฟอร์มในเรื่องของยานยนต์ไฟฟ้า หรือการนำทำบัตรบลูการ์ดเพื่อให้สิทธิพิเศษกับลูกค้าในด้านต่างๆ ตามเทรนด์ พฤติกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการในไลฟ์สไตล์ลูกค้าสร้างมูลค่าต่อทั้งโออาร์และธุรกิจให้มีความแข็งแกร่ง”

ทั้งนี้ การที่โออาร์ลุกมาดิสรัปชันตัวเอง ไม่ใช่แค่ขยายสาขาไปโปรดักส์เดิม แต่จะเน้นหาพาร์ทเนอร์ทั้งเอสเอ็มอีและคอปเปอร์เรท ที่เน้นลงทุนกลุ่มสตาร์ทอัพ ซึ่งมีจุดแข็งในการพัฒนาเทคโนโลยีมาแก้โจทย์ในทุกด้าน เพราะคนองค์กรจะมีความคล่องตัวน้อยกว่า จึงต้องหาคนที่มีศักยภาพความสามารถมาเติมเต็ม เพราะโออาร์จะไม่มองแค่ในประเทศไทยแต่จะลงทุนในต่างประเทศด้วย ที่ปัจจุบันมี 10 ประเทศ ที่ผ่านมาได้สร้างความมั่นใจโดยเฉพาะ กัมพูชา ลาว ฟิลิปปินส์ โดยลักษณะจะหาพาสเนอร์ เพราะถ้าตั้งบริษัทย่อยจะเติบโตช้ากว่า

อย่างไรก็ตาม จากโควิดที่เกิดขึ้น พบว่าธุรกิจด้านเทคโนโลยี ซอฟท์แวร์ การฟื้นตัวใช้เวลาไม่นาน แต่กลุ่มท่องเที่ยว อาหาร จะใช้เวลานาน โออาร์ได้ฉายาว่าเป็นหุ้นมหาชน เพื่อให้คนไทยที่ถือหุ้นกว่า 5.3 แสนรายงาน จึงอยากให้คนไทยที่มาถือหุ้นได้เติบโตไปพร้อมกัน โออาร์มีเงินทุน มีแพลตฟอร์มจึงเน้นร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพ มาช่วยสนับสนุนธุรกิจและมองไปถึงอาเซียน พลัส จากปัญหาโควิด เทคโนโลยี ดิสรัปชัน จากสภาวะโลกร้อน เช่น การเกิดน้ำท่วม ต้องรอการระบายนานขยายวงกว้าง พืชผลเกษตรกรเสียหาย โออาร์จะต้องเข้ามดูแลว่าทำอย่างไรให้สภาพอากาศ มีความสมบูรณ์มากขึ้น ยกระดับภูมิอากาศ โออาร์ได้ตั้งทีมอินโนเวชั่น เพื่อแก้โจทย์ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อง เพื่อให้เกิดธุรกิจใหม่ 

ทั้งนี้ เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ต่อยอดธุรกิจไปยังธุรกิจต่างประเทศ และจะขยายมากกว่าภูมิภาคไปสู่ระดับโกลบอล ยังยังคงแนวคิดในรูปแบบหาพาร์ทเนอร์ร่วมลงทุน เมื่อมีอินโนเวชันก็จะเกิดธุรกิจใหม่ ทั้งธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม ตัวนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ เพื่อเป็นองค์กรที่ช่วยเหลือสถาบันให้ได้เติบโตธุรกิจที่ยั่งยืน ดังนั้น ในปีหน้าจะเห็นการเข้าไปลงทุนในหลายบริษัท โดยเน้นใช้เทคโนโลยี เพื่อให้ประชาชนที่ร่วมกับโออาร์พร้อมใช้จุดแข็งของพาร์ทเนอร์สร้างการเติบโตไปด้วยกัน