เปิดปมดอกเบี้ย “ลิสซิ่ง” 20% แรงต้านจากธุรกิจกระทบลูกค้า

เปิดปมดอกเบี้ย “ลิสซิ่ง” 20% แรงต้านจากธุรกิจกระทบลูกค้า

“สินเชื่อเช่าซื้อ” หรือ “ลิสซิ่ง” รถยนต์และรถจักรยานยนต์ เผชิญปัจจัยลบมาอย่างต่อเนื่องหลังจากทางการเข้ามาดูแลวางกรอบเงื่อนไขปล่อยสินเชื่อ ซึ่งมีประเด็นสำคัญอยู่ที่การคิดอัตราดอกเบี้ยในตลาดนี้ที่ไม่เคยมีเพาดานมาก่อน จนเริ่มมีการวางกรอบไว้ที่ 15-20 %

แน่นอนว่าผลกระทบมีหลายด้านที่มี ผลดี และ ผลลบ ต่อผู้ประกอบการและลูกค้าใช้บริการ

ด้วยธุรกิจดังกล่าวเป็นแหล่งเงินระยะสั้นให้ประชาชนจนทำให้ธุรกิจไฟแนนซ์กระโดดเข้ามาทำธุรกิจนี้จำนวนมากเพราะดอกเบี้ยสูงและไม่มีเพดานดอกเบี้ยมากำหนด  ด้านลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่ายด้วยการผ่อนจำนวนเงินที่น้อย 

กลุ่มผู้มีรายได้น้อยนิยมใช้บริการจำนวนมาก แต่หากไม่มีวินัยทางการเงินกลายเป็นประเด็นใหญ่ทั้งการก่อหนี้เกินตัว  หนี้ครัวเรือนพุ่งสูง การตามหนี้โหด  ธุรกิจดังกล่าวจึงถูกตีกรอบครั้งใหญ่เพื่อให้เกิดมาตรการที่เป็นธรรมทั้งลูกค้าและผู้ประกอบการ

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) รับลูกเข้ามาดูแลด้านดอกเบี้ย และให้กระทรวงมหาดไทยดูแลตามการดำเนินกฎหมายตามทวงหนี้  ในส่วนของสคบ. มีการรับฟังความคิดเป็น 2 ครั้งในช่วง เดือน ก.ย. และ ต.ค. 2564

สรุปร่างคุมสัญญาเช่าซื้อรอบ 1) บังคับควบคุมเพียงรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ที่ใช้เป็นการส่วนตัว  2) ขยายขอบเขตอัตราดอกเบี้ย Effective rate เป็น 15% สำหรับรถยนต์ใหม่ และ 20% สำหรับรถยนต์เก่าและรถจักรยานยนต์ 3) โครงการคืนรถจบหนี้ต้องผ่อนอย่างน้อย 1ใน 3 ของค่างวดที่ระบุไว้ในสัญญา 4)การจ่ายชำระหนี้ปิดสัญญาก่อนครบกำหนดจะได้ส่วนลดไม่น้อยกว่า 60-80% ของดอกเบี้ยที่ยัง ไม่ถึงกำหนดชำระ      5) ผู้เช่าซื้อใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญาด้วยการส่งมอบรถยนต์ห้ามเก็บหนี้ส่วนขาด

เปิดปมดอกเบี้ย “ลิสซิ่ง” 20% แรงต้านจากธุรกิจกระทบลูกค้า

เฉพาะประเด็นที่ขัดแย้งคือเพดานดอกเบี้ยทางบวกต่อประชาชนได้ลดค่าใช้จ่ายเพราะกดดอกเบี้ยลงมา 15-20 %  เข้าถึงสินเชื่อได้ง่าย ทางกลับกันเสียงจากผู้ประกอบการออกมาระบุว่าเห็นด้วยการกำหนดเพดานสำหรับรถแต่อัตราที่กำหนดไม่เหมาะสม เป็นการบีบไม่ให้ทำธุรกิจเพราะความเสี่ยงปล่อยสินเชื่อสูงเกิน และสุดท้ายกระทบผู้บริโภคไปพึ่งพิ่งกู้นอกระบบที่คิดอัตราดอกเบี้ยเป็น 100 %

ทางคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) โดยเห็นควรแยกประเภทรถให้ชัดเจนไม่ควรเหมารวม กลุ่มรถใหม่ดอกเบี้ยเหมาะสมอยู่ที่ 15% เพราะติดตามทวงหนี้ได้ง่ายแม้จะดาวน์ในราคาที่ต่ำ  แต่ส่วนรถเก่าต้องแยกอีก รถยนต์ดอกเบี้ยเหมาะสมอยู่ที่ 24 %   และรถจักรยานยนต์ดอกเบี้ยเหมาะสมที่ 36 %  เพราะเจออัตราการสูญเสียหรือ Loss Ratio สำหรับในระดับสูงถึง 37%  จึงต้องการให้มีการทบทวนตัวเลข  ดังกล่าว

ด้านการดำเนินธุรกิจลิสซิ่งมีบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นจำนวนมาก บางรายได้รับผลกระทบมากน้อยตามพอร์ตการปล่อยสินเชื่อ  บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคทีบีเอสที ประเมินรับผลกระทบโดยตรง ได้แก่ SAWAD และ MTC

จากบริษัทปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยนต์ใหม่ที่ EIR ที่ 20-21% สูงกว่าข้อบังคับที่ 20% ประเมิน downside ต่อประมาณการปี 2565  ที่ - 0.8%/-0.5% อิงสินเชื่อเช่าซื้อที่ได้รับกระทบที่สัดส่วน 12%/4% ของสินเชื่อรวม และ EIR ที่ลดลง ทุกๆ 1% (ปัจจุบัน EIR สินเชื่อเช่าซื้อ 3Q21 ที่ 20%/21% และบริษัทคิดอัตราดอกเบี้ยที่ 24%/30%)

ขณะที่ TIDLOR, SINGER, THANI, AEONTS และ KTC จะไม่ได้รับผลกระทบอย่าง มีนัย เนื่องจาก 1) ลูกหนี้ส่วนใหญ่ของ SINGER และ THANI เป็นสินเชื่อเช่าซื้อกลุ่ม Commercial ที่ไม่อยู่ในกลุ่มที่ควบคุม, 2) TIDLOR มีเพียงสินเชื่อเช่าซื้อรถเก่าที่คิด EIR ไม่เกิน 20%, 3) AEONTS จะกระทบเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์

และรถยนต์ในประเทศที่มีสัดส่วนสินเชื่อ ที่ 3% ของสินเชื่อรวม และคิด EIR ที่ 12% และ 4) KTC มีสินเชื่อเช่าซื้อที่โอนย้ายมาจาก KTBL ซึ่ง คิด EIR ที่ต่ำและปัจจุบันยังไม่มีการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อใหม่เพิ่มขึ้น ประเด็นอื่น เช่น การคืน รถจบหนี้ และการให้ส่วนลดมีผลกระทบจำกัด เนื่องจากลูกหนี้ส่วนใหญ่จะจ่ายช าระหนี้ตามอายุ สัญญา มีการปิดบัญชีก่อนกำหนดที่ต่ำ  

อย่างไรก็ตามผลกระทบดังกล่าวจะเกิดขึ้นหากมีการให้เพดานดอกเบี้ยแบบเหมารวมที่ 15-20 %  หากมีการเจรจาต่อรองผลกระทบไม่รุนแรงเหลือเพียงกำไรของกลุ่ม ลิสซิ่งที่จะลดฮวบลงและประชาชนได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยที่ปรับตัวลง