เหล้ายืนหนึ่งโกย “กำไร” 22,138 ล. นำทัพ “ไทยเบฟ” ฝ่าวิกฤติโควิด!!

เหล้ายืนหนึ่งโกย “กำไร” 22,138 ล.  นำทัพ “ไทยเบฟ” ฝ่าวิกฤติโควิด!!

2 ปีที่แห่งการเผชิญวิกฤติโรคระบาดที่ยาวนาน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ กำลังซื้อของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และธุรกิจไม่พ้นหางเลข ทำให้ผลงานทั้ง “รายได้” และ “กำไร” บริษัทเล็กใหญ่หดตัวต่างกัน ด้านยักษ์เครื่องดื่มไทยเบฟ ผลงานยังโดดเด่น เพราะโกยกำไรปี 64 ที่ 27,339 ล้านบาท

ทั้งนี้ ยักษ์ใหญ่เครื่องดื่มและอาหารของไทย รวมถึงติดทำเนียบระดับภูมิภาคเอเชีย อย่างบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) หนึ่งในอาณาจักรธุรกิจ "เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี" รายงนผลประกอบการปีงบบประมาณ 2563-2564 (ต.ค.63-ก.ย.6) มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน โดยยอดขายและกำไรปรับตัวลดลง สุราหรือเหล้าที่เป็นพอร์ตโฟลิโอโอ ทำ “กำไร” สูงสุด ยังแกร่งดังเดิม ธุรกิจอาหาร เมื่อช่องทางจำหน่ายถูก “ล็อกดาวน์” จึงขาดทุนมหาศาล แต่ด้วยสัดส่วนยังน้อย จึงมีผลกระทบต่อไทยเบฟไม่มากนัก ขณะที่ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ บริการจัดการต้นทุนด้วยควมรอบรอบจึงมีกำไรเป็นบวก

สำหรับภาพรวมผลประกอบการทั้งปีของไทยเบฟฯ มียอดขายรวม 240,543 ล้านบาท หดตัว 5.1% จากปีก่อน มีกำไรสุทธิ 27,339 ล้านบาาท เพิ่มขึ้น 4.9% จากปีก่อน โดยสินค้าแต่ละกลุ่มทำยอดขายเป็นสัดส่วนดังนี้ สุรา 47.8% เบียร์ 41.3% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 6.3% อาหาร 4.7% มีธุรกิจที่กำจัดทิ้ง 0.1% ส่วนกำไรสุทธิ สุรายังมีสัดส่วนมากสุด 87.8% เบียร์ 12.4% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1.8% อาหารฉุดกำไรหรือติดลบ 2%

เมื่อแยกหมวดหมู่สินค้า สุราที่สร้างผลงานโดดเด่นตลอดกาล ปิดยอดขาย 115,052 ล้านบาท หดตัว 1.9% มีกำไรสุทธิ 22,138 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยเพียง 0.6% เท่านั้น นอกจากยอดขายเชิงมูลค่าลดลง แต่ยอดขายเชิงปริมาณกลับลดลง 12 ล้านลิตร หรือคิดเป็น 1.8% ทั้งปีขายอยู่ที่ 656 ล้านลิตร จากปีก่อนขาย 668 ล้านลิตร ส่วนเบียร์ยอดขายรวมมูลค่า 99,157 ล้านบาทท หดตัว 7.2% กำไรสุทธิ 3,119 ล้านบาท หดตัว 11.4% ยอดขายเชิงปริมาณทั้งปีอยู่ที่ 2,095 ล้านลิตร ลดลง 11.1% จากปีก่อนขาย 2,358 ล้านลิตร

เหล้ายืนหนึ่งโกย “กำไร” 22,138 ล.  นำทัพ “ไทยเบฟ” ฝ่าวิกฤติโควิด!!

ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ยอดขายรวม 15,205 ล้านบาท หดตัว 6.6% โดยทำกำไรจากการดำเนินงานได้ 548 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51% เนื่องจากมีการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี ต้นทุนวัตถุดิบลดลง ด้านยอดขายเชิงปริมาณอยู่ที่ 1,458 ล้านลิตร ลดลง 7.6% จากปีก่อนขาย 1,578 ล้านลิตร โดยชาเขียวพร้อมดิ่มและเครื่องดื่มสมุนไพรจับใจยอดขาย 252 ล้านลิตร ลดลง 2.7% จาก 259 ล้านลิตร น้ำดื่ม 982 ล้านลิตร ลดลง 5.9% จาก 1,044 ล้านลิตร เครื่องดื่มอัดลม 219 ล้านลิตร ลดลง 19.2% จาก 271 ล้านลิตร ส่วนโซดาและน้ำดื่มแบรนด์ช้างยอดขาย 72 ล้านลิตร ลดลง 7.6% จากปีก่อนขาย 78 ล้านลิตร

ด้านธุรกิจร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างหนักจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้รัฐต้องออกมาตรการล็อกดาวน์ปิดหน้าร้านเป็นระลอก โดยเฉพาะเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เป็นช่วงที่ห้ามให้บริการนั่งรับประทานในร้านหรือไดอิน และให้บริการซื้อกลับบ้านไม่ได้รวมระยะเวลา 2 เดือน ซึ่งถือเป็นการปิดช่องทางหลักในการค้าขายด้วย ทั้งนี้ ยอดขายธุรกิจอาหารไทยเบฟ ทั้งปีอยู่ 11,280 ล้านบาท หดตัว 14.4% มีผลขาดทุน 488 ล้านบาท หรือติดลบสูงถึง 383.2% จากปี 2563 ขาดทุน 101 ล้านบาท และเป็นปีแรกที่เกิดวิกฤติโรคโควิดระบาด

ปัจจุบัน พอร์ตโฟลิโอธุรกิจร้านอาหารไทยเบฟมีแบรนด์ในมือ 23 แบรนด์ เช่น โออิชิ บุฟเฟต์ ชาบูชิ โออิชิ ราเมน เคเอฟซี โซอาเซียน ราชพฤกษ์ หม่านฟู่หยวน แม็กซ์แอนด์เค้ก เบเกอรี่ ฯ รวมจำนวนร้าน 673 สาขา การปรับตัวช่วงโควิดไม่เพียงมีบริการเดลิเวอรี่ บริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ ระบายสต๊อกวัตถุดิบเพื่อสร้างยอดขาย ยังพลิกโมเดลร้านใหม่ๆเพื่อประชิดลูกค้ามากขึ้น เช่น โมเดลฟู้ดทรัคผ่านแบรนด์เคเอฟซี และโออิชิ ฟู้ด ทรัค เป็นต้น

ส่วนธุรกิจต่างประเทศ สุราสร้างยอดขายเติบโต 5% จากสก๊อตวิสกี้ และสุราจีน ขณะที่ธุรกิจเบีร์ยอดขายลดลง 11% โดยผลกระทบหนักมาจากไซง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ คอร์เปอเรชั่น(SABECO) เนื่องจากรัฐบาลเข้มใช้มาตรการต่างๆเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวสรัส โดยเฉพาะการล็อกดาวน์ในโฮจิมินห์ซิตี้ และเขตพื้นตอนใต้ ปัจจัยดังกล่าวจึงกระทบต่อการทำ “กำไร” ของซาเบโก้ให้ปรับตัวลดลง สวนทางกับธุรกิจเบียร์ของไทยเบฟในประเทศไทยที่ยังสร้างกำไรเติบโตได้แม้ยอดขายจะก็ลดลงก็ตาม