ครม.อนุมัติ 1.4 แสนล้าน ประกันรายได้ข้าว - ยาง เล็งใช้งบกลางปี 66 โปะโครงการ

ครม.อนุมัติ 1.4 แสนล้าน ประกันรายได้ข้าว - ยาง  เล็งใช้งบกลางปี 66 โปะโครงการ

ครม.อนุมัติ 1.4 แสนล้าน ประกันรายได้ข้าว - ยาง พ่วงให้เงินบริหารจัดการข้าวไร่ละ 1,000 บาท 4.3 ล้านครัวเรือน “จุรินทร์” ตอบไม่ชัดเห็นด้วยกับการทำโครงการปีหน้า โดยให้นำเข้าสู่ พ.ร.บ.งบประจำหรือไม่ เล็งดึงงบกลาง อุดหนุนเพิ่มหากงบไม่พอ ชี้ต้องดูสถานการณ์ราคาตลาดโลกด้วย

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้(30 พ.ย.) ว่าที่ประชุม ครม.เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราปีการผลิต 2564/2565 ทั้งในส่วนของการประกันรายได้และมาตรการคู่ขนานวงเงินรวมประมาณ 1.41 แสนล้านบาท ประกอบไปด้วย 

1.วงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2564/2565 เพิ่มเติม อีก 7.6 หมื่นล้านบาท จากที่ ครม.อนุมัติไปเมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมาแล้ว 1.8 หมื่นล้านบาท

2.โครงการจ่ายสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2564/2565 วงเงินประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาท โดยเป็นวงเงินที่จ่ายชดเชยให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่  จำนวนเกษตรกร 4.31 ล้านครัวเรือน 

และ 3.โครงการ ประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 วงเงินรวม 10,065.69 ล้านบาท โดยเป็นการประกันรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียน และเกษตรกรที่แจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับการยางแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 จำนวน 1,880,458 ราย โดยพื้นที่สวนยางกรีดได้ 19.16 ล้านไร่ และประกันรายได้ในระหว่างตุลาคม 2564 - มีนาคม 2565

"หลังจากที่ ครม.เห็นชอบแล้วขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ จะเป็นไปตามขั้นตอนผ่านการประสานงานกับ ธ.ก.ส. มั่นใจว่าเกษตรกรทั้งชาวนา และชาวสวนยาง จะได้เงินประมาณกลางเดือนธ.ค.นี้ หรือว่าเร็วกว่านั้น"นายจุรินทร์ กล่าว 

สำหรับกรณีที่รัฐบาลมีแนวคิดที่จะนำเอาโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตรไปไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ตั้งแต่ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 นั้นนายจุรินทร์ กล่าวว่า ยังไม่มีความเห็นเกี่ยวกับแนวทางนี้เนื่องจากต้องดูสถานการณ์ และราคาของสินค้าเกษตรในตลาดโลกด้วย โดยก่อนหน้านี้การประกันรายได้สินค้าเกษตร และข้าวมีส่วนสำคัญในการเป็นโครงการที่ช่วยดูแลรายได้ ชีวิตความเป็นอยู่ให้กับเกษตรกรตามนโยบายของรัฐบาล และที่ผ่านมา เราก็ยืนราคาการประกันราคาไว้ในระดับราคาเดิมตั้งแต่ปีที่ 1  ถึงปีที่ 3 ที่ทำนโยบาย

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากจะนำเอาโครงการประกันรายได้มาไว้ในงบประมาณประจำปี จะใช้วงเงินเท่าไหร่ มีไว้ในใจหรือไม่ นายจุรินทร์ ตอบว่า ยังไม่สามารถบอกได้ ขึ้นกับสถานการณ์ และขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะใช้งบประมาณหรือให้ ธ.ก.ส.สำรองจ่ายไปก่อน และให้รัฐบาลทยอยตั้งงบคืนเหมือนที่ผ่านมาหรือไม่ แต่มาตรการนี้ก็ต้องไปพร้อมกับมาตรการปรับปรุงคุณภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (นบข.) จะติดตามเรื่องนี้ทุก 3 เดือน 

สำหรับกรณีที่รัฐบาลมีแนวคิดที่จะนำเอาโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตรไปไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ตั้งแต่ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 นั้นนายจุรินทร์ กล่าวว่า ยังไม่มีความเห็นเกี่ยวกับแนวทางนี้เนื่องจากต้องดูสถานการณ์ และราคาของสินค้าเกษตรในตลาดโลกด้วย โดยก่อนหน้านี้การประกันรายได้สินค้าเกษตร และข้าวมีส่วนสำคัญในการเป็นโครงการที่ช่วยดูแลรายได้ ชีวิตความเป็นอยู่ให้กับเกษตรกรตามนโยบายของรัฐบาลและที่ผ่านมา เราก็ยืนราคาการประกันราคาไว้ในระดับราคาเดิมตั้งแต่ปีที่ 1  ถึงปีที่ 3 ที่ทำนโยบาย

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากจะนำเอาโครงการประกันรายได้มาไว้ในงบประมาณประจำปี จะใช้วงเงินเท่าไหร่ มีไว้ในใจหรือไม่ นายจุรินทร์ ตอบว่า ยังไม่สามารถบอกได้ขึ้นกับสถานการณ์ และขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะใช้งบประมาณหรือให้ ธ.ก.ส.สำรองจ่ายไปก่อน และให้รัฐบาลทยอยตั้งงบคืนเหมือนที่ผ่านมาหรือไม่ แต่มาตรการนี้ก็ต้องไปพร้อมกับมาตรการปรับปรุงคุณภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (นบข.) จะติดตามเรื่องนี้ทุก 3 เดือน 

ด้านนางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการปรับแนวทางการประกันรายได้เกษตรกรมาใช้งบประมาณประจำปีนั้น ได้มีการหารือกันเบื้องต้นแล้วว่า กรณีที่ราคาสินค้าเกษตรปรับลดลง และวงเงินที่ตั้งไว้สำหรับการประกันรายได้ไม่เพียงพอ สามารถที่จะเสนอของบกลางรายจ่ายประจำปี เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรได้เช่นกัน 

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ยืนยันรัฐบาลได้จัดสรรแหล่งเงินเพิ่มเติม ในโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2564/65 เพื่อชดเชยส่วนต่างประกันราคาข้าวให้แก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพื่อให้เป็นไปตามมติ คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) เมื่อวันที่ 23 ส.ค. ซึ่งหลังจากนี้ ธ.ก.ส. จะเร่งเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงโดยเร็วที่สุด

"นายกรัฐมนตรีทราบดีว่า พี่น้องชาวนาเฝ้ารอการดำเนินการ ก็เร่งทำทันที ตามที่ได้รับปากไว้ ที่จะจัดสรรวงเงินเพิ่มเติม สำหรับโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว รวมทั้งยังผลักดันมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรไทยในพืชอื่นๆ เช่น เกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อให้เกษตรกรไทยมีรายได้ที่เหมาะสม ขณะเดียวกันก็สามารถประกอบอาชีพเกษตรได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย"

 


พิสูจน์อักษร โดย....สุรีย์  ศิลาวงษ์