7 หุ้นเสี่ยงและ 6หุ้นปลอดภัย หลังโควิดพันธุ์ใหม่ปะทุ

7 หุ้นเสี่ยงและ 6หุ้นปลอดภัย   หลังโควิดพันธุ์ใหม่ปะทุ

ย้อนไปในช่วงกลางปี 2564 การระบาดโควิดที่รุนแรงด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันระดับหลักหมื่นรายต่อวัน การเสียชีวิตระดับหลักพันคน การขาดแคลนวัคซีนอย่างหนักในประเทศไทย และการดำเนินมาตรการล็อกดาวน์เข้มข้น ล้วนแต่เป็นสถานการณ์ไม่ส่งผลต่อต่อภาคธุรกิจและหุ้น

ปรากฎการณ์พบไวรัสกลายพันธุ์จากแอฟริกาใต้ “โอไมครอน”  หรือ Omicron เพราะแพร่เชื้อรวดเร็ว ที่สำคัญมีความสามารถหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน    จนส่งผลทำให้เกิดความตระหนกแห่เทขายสินทรัพย์เสี่ยงออกมาเพื่อป้องกันความเสี่ยง  

ด้วยภาคการท่องเที่ยวของไทยจะกระทบต่อแผนการเปิดประเทศ มุมมมองบวกต่อเศรษฐกิจกลับมาแย่ลงหากพบการแพร่ระบาดหรือคัสเตอร์ไวรัสดังกล่าว   ล่าสุดหลายประเทศดำเนินมาตรการเข้มขึ้นเพื่อสกัดระบาดไวรัสดังกล่าว ทั้งห้ามการเข้าประเทศในประเทศกลุ่มเสี่ยงในแอฟริกา  หนักสุดคือการประกาศปิดประเทศชั่วคราวไม่ให้มีการเดินทาง  

สถานการณ์ดังกล่าวตลาดหุ้นทั่วโลกตอบรับปัจจัยลบดังกล่าวจากแรงขายกระหน่ำ ซึ่งในตลาดหุ้นไทยดัชนีลงมาที่ 1,590 จุด  (26 และ 27 พ.ย.) ซึ่งหลุด 1,600 จุด ในรอบ 3 เดือน  และมีการเทขายหุ้นที่คาดว่าจะรับผลกระทบซึ่งอิงกับการระบาดหนักช่วงกลางปีที่ผ่านมา

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคทีบีเอสที  ระบุ ไวรัสโอไมครอนจะเป็นปัจจัยกดดันดัชนีหุ้นไทยจนกว่าเริ่มเห็นทิศทางการแพร่ระบาดเริ่มควบคุมได้   ซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือน โดยมีโอกาสสูงที่ จะมาระบาดในไทย

7 หุ้นเสี่ยงและ 6หุ้นปลอดภัย   หลังโควิดพันธุ์ใหม่ปะทุ

โดยจะส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว, เศรษฐกิจ และการ จับจ่ายใช้สอยของประชาชนกลับมาลดลง รวมถึงมีแนวโน้มที่ภาครัฐจะกลับมาใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด อย่างไรก็ตามล่าสุดบริษัท BioNTech ที่ได้พัฒนาวัคซีนร่วมกับไฟเซอร์ คาดว่าจะสามารถปรับสูตรวัคซีนต้านสายพันธุ์ดังกล่าวสำเร็จภายใน 100 วัน

ส่วนความเคลื่อนไหวดัชนีหุ้นไทยช่วงระบาดก่อนหน้านี้ปรับตัวลง 4% ใน 6 วันทำการและ  5% ใน 4 เดือน (เม.ย. – ก.ค. 2564) ช่วงที่โควิดสายพันธุ์เดลต้าระบาด โดย sector ที่ปรับตัวลงมากที่สุด ได้แก่

  • หุ้นกลุ่มแบงก์  ลดลง  22% ใน 4 เดือน 
  • หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ลดลง  18% 
  • หุ้นกลุ่มอสังหาฯ ลดลง 12% 
  • หุ้นกลุ่มปิโตรเคมีลดลง  12% 
  • หุ้นกลุ่มท่องเที่ยวลดลง 12%
  • หุ้นกลุ่มขนส่งมวลชนลดลง  12%  

ในขณะที่ sector ที่สวนทางปรับตัวขึ้นได้แก่  

  • หุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น  67%
  • หุ้นกลุ่มแพ็กเกจจิ้งเพิ่มขึ้น 35%
  • หุ้นกลุ่มเหล็กเพิ่มขึ้น 21%
  • หุ้นกลุ่มเฮลล์แคร์เพิ่มขึ้น 10%
  • หุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น  5%

ทั้งนี้จากปัจจัยดังกล่าวคาดว่าหุ้นที่เจอแรงขายมากสุด จากผลกระทบ “โอไมครอน” ได้แก่  หุ้นโรงแรม  MINT และ  SHR   เนื่องจากฐานรายได้หลัก อยู่ในยุโรปซึ่งเริ่มพบการแพร่ระบาดมากขึ้น  ตามมาด้วย  AAV, AOT จากความกังวลที่การระบาดอาจทำให้จำนวนผู้โดยสาร จะฟื้นตัวได้ช้าลง และ TOP จากความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปลดลง

สำหรับ Sector ที่คาดว่าจะไม่ค่อยไม่แรงขายมากเหมือนครั้งก่อน ได้แก่ กลุ่มอสังหาฯ เนื่องจากมีปัจจัยบวกจาก แบงก์ชาติมีมาตรการผ่อนเกณฑ์  LTV และกำลังซื้อที่ดีขึ้น และกลุ่มไฟฟ้า คาดผลกระทบจำกัดมาตรการล็อกดาวน์ที่ไม่เข้มงวดเท่าครั้งก่อนจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจถูกกระทบน้อยลงและปริมาณการใช้ไฟฟ้าถูกกระทบจำกัด

ทางกลับกันหุ้นที่คาดว่าจะมีแรงซื้อเข้ามามากสุด ได้แก่ กลุ่มโรงพยาบาล  BCH, CHG เนื่องจากได้ประโยชน์จาก การรักษาาผู้ป่วยโควิด, SMD จะทำให้มีความต้องการเครื่องมือแพทย์สูงขึ้น หากโควิดมีการระบาดรุนแรง

หุ้นถุงมือยาง  STGT ได้ประโยชน์จากความต้องการใช้ถุงมือยางในระดับสูง  หุ้น TU, ASIAN, KCE, HANA, NER, SUN   จากเงินบาทอ่อน   ตามมาด้วยความต้องการสินค้า IT จะยังอยู่ในระดับสูงมียอดขายสินค้าและการลงทุนระบบ IT จะปรับตัวเพิ่มขึ้นมีหุ้น COM7, SIS, SYNEX