หุ้นดักทางไวรัส “ โอไมครอน” 7 กลุ่มเสี่ยง และ 6 กลุ่มปลอดภัย

หุ้นดักทางไวรัส “ โอไมครอน”   7 กลุ่มเสี่ยง และ  6 กลุ่มปลอดภัย

ช่วงกลางปี 2564 การระบาดโควิดที่รุนแรงด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันระดับหลักหมื่นรายต่อวัน การเสียชีวิตระดับหลักพันคน และยังมีประเด็นการขาดแคลนวัคซีนอย่างหนักในประเทศไทย และการดำเนินมาตรการล็อกดาวน์เข้มข้น ล้วนแต่เป็นสถานการณ์ไม่ส่งผลต่อต่อภาคธุรกิจและหุ้น

ข่าวใหญ่การพบไวรัสกลายพันธุ์จากแอฟริกาใต้ โอไมครอน”  หรือ Omicron เพราะแพร่เชื้อรวดเร็ว ที่สำคัญมีความสามารถหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน    จนส่งผลทำให้เกิดความตระหนกแห่เทขายสินทรัพย์เสี่ยงออกมาเพื่อป้องกันความเสี่ยง  

ด้วยภาคการท่องเที่ยวของไทยจะกระทบต่อแผนการเปิดประเทศ มุมมมองบวกต่อเศรษฐกิจกลับมาแย่ลงหากพบการแพร่ระบาดหรือคัสเตอร์ไวรัสดังกล่าว   ล่าสุด หลายประเทศดำเนินมาตรการเข้มขึ้นเพื่อสกัดระบาดไวรัสดังกล่าว ทั้งห้ามการเข้าประเทศในประเทศกลุ่มเสี่ยงในแอฟริกา  หนักสุดคือการประกาศปิดประเทศชั่วคราวไม่ให้มีการเดินทาง  

สถานการณ์ดังกล่าวตลาดหุ้นทั่วโลกตอบรับปัจจัยลบดังกล่าวจากแรงขายกระหน่ำ ซึ่งในตลาดหุ้นไทย ดัชนีลงมาที่ 1,590 จุด  (26 และ 27 พ.ย.) ซึ่งหลุด 1,600 จุด ในรอบ 3 เดือน  และมีการเทขายหุ้นที่คาดว่าจะรับผลกระทบซึ่งอิงกับการระบาดหนักช่วงกลางปีที่ผ่านมา

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคทีบีเอสที  ระบุ ไวรัส โอไมครอน จะเป็นปัจจัยกดดันดัชนีหุ้นไทยจนกว่าเริ่มเห็นทิศทางการแพร่ระบาดเริ่มควบคุมได้   ซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือน โดยมีโอกาสสูงที่ จะมาระบาดในไทย

โดยจะส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว, เศรษฐกิจ และการ จับจ่ายใช้สอยของประชาชนกลับมาลดลง รวมถึงมีแนวโน้มที่ภาครัฐจะกลับมาใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด อย่างไรก็ตามล่าสุดบริษัท BioNTech ที่ได้พัฒนาวัคซีนร่วมกับไฟเซอร์ คาดว่าจะสามารถปรับสูตรวัคซีนต้านสายพันธุ์ดังกล่าวสำเร็จภายใน 100 วัน

ส่วนความเคลื่อนไหวดัชนีหุ้นไทยช่วงระบาดก่อนหน้านี้ปรับตัวลง 4% ใน 6 วันทำการและ  5% ใน 4 เดือน (เม.ย. – ก.ค. 2564) ช่วงที่โควิดสายพันธุ์เดลต้าระบาด โดย sector ที่ปรับตัวลงมากที่สุด ได้แก่ หุ้นกลุ่มแบงก์  ลดลง  22% ใน 4 เดือน  หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ลดลง  18%  หุ้นกลุ่มอสังหาฯ ลดลง 12%  หุ้นกลุ่มปิโตรเคมีลดลง  12% 

หุ้นกลุ่มท่องเที่ยวลดลง 12%, หุ้นกลุ่มขนส่งมวลชนลดลง  12%  ในขณะที่ sector ที่สวนทางปรับตัวขึ้นได้แก่  หุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น  67%, หุ้นกลุ่มแพ็กเกจจิ้งเพิ่มขึ้น  35%,หุ้นกลุ่มเหล็กเพิ่มขึ้น 21%, หุ้นกลุ่มเฮลล์แคร์เพิ่มขึ้น 10% และหุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น  5%

ทั้งนี้จากปัจจัยดังกล่าวคาดว่า หุ้นที่เจอแรงขายมากสุด จากผลกระทบ “โอไมครอน” ได้แก่  หุ้นโรงแรม  MINT และ  SHR   เนื่องจากฐานรายได้หลัก อยู่ในยุโรปซึ่งเริ่มพบการแพร่ระบาดมากขึ้น  ตามมาด้วย  AAV, AOT จากความกังวลที่การระบาดอาจทำให้จำนวนผู้โดยสาร จะฟื้นตัวได้ช้าลง และ TOP จากความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปลดลง

สำหรับ Sector ที่คาดว่าจะไม่ค่อยไม่แรงขายมากเหมือนครั้งก่อน ได้แก่ กลุ่มอสังหาฯ เนื่องจากมีปัจจัยบวกจาก แบงก์ชาติมีมาตรการผ่อนเกณฑ์  LTV และกำลังซื้อที่ดีขึ้น และกลุ่มไฟฟ้า คาดผลกระทบจำกัดมาตรการล็อกดาวน์ที่ไม่เข้มงวดเท่าครั้งก่อนจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจถูกกระทบน้อยลงและปริมาณการใช้ไฟฟ้าถูกกระทบจำกัด

ทางกลับกัน หุ้นที่คาดว่าจะมีแรงซื้อเข้ามามากสุด ได้แก่ กลุ่มโรงพยาบาล  BCH, CHG เนื่องจากได้ประโยชน์จาก การรักษาาผู้ป่วยโควิด, SMD จะทำให้มีความต้องการเครื่องมือแพทย์สูงขึ้น หากโควิดมีการระบาดรุนแรง

หุ้นถุงมือยาง  STGT ได้ประโยชน์จากความต้องการใช้ถุงมือยางในระดับสูง  หุ้น TU, ASIAN, KCE, HANA, NER, SUN   จากเงินบาทอ่อน   ตามมาด้วยความต้องการสินค้า IT จะยังอยู่ในระดับสูงมียอดขายสินค้าและการลงทุนระบบ IT จะปรับตัวเพิ่มขึ้นมีหุ้น COM7, SIS, SYNEX