อาทิตย์ เร่งเข็น “SCBx” สู่ภูมิภาค หวั่นถูกกินรวบ จากแพลตฟอร์มข้ามชาติ

อาทิตย์ เร่งเข็น “SCBx” สู่ภูมิภาค หวั่นถูกกินรวบ จากแพลตฟอร์มข้ามชาติ

อาทิตย์ เร่งเข็น SCBx สู่ภูมิภาค สู่การมีฐานลูกค้า 200 ล้านคน มีมาร์เก็ตแค็ปแตะ 1 ล้านล้าน เพื่อสร้างการเติบโตให้บริษัท ชี้หากไม่ปรับตัวหวั่นถูกแพลตฟอร์มเจ้าใหญ่ชิงตลาด

    นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ (SCBX)  กล่าวว่า จุดมุ่งหมายในการมีฐานลูกค้าแตะ 200 ล้านคน มีมาร์เก็ตแคประดับ 1ล้านล้านบาท นั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หาก SCBx ไม่ไปสู่ระดับ “ภูมิภาค” หากไม่ผลักดัน SCBx เป็นบริษัทเทคโนโลยีระดับภูมิภาค

      เพราะหากดูสเกลของตลาดในประเทศไทยในหลายปีที่ผ่านมา และมองไปข้างหน้า มองว่าจะมีอัตราการเติบโตไม่มาก ดังนั้นหากมองแค่ตลาดไทยอย่างเดียวสุดท้าย ก็หนีไม่พ้น สู่การกลับมาทำธุรกิจเดิมภายใต้ Red Ocean ที่มีการแข่งขัน การตัดราคากันอย่างรุนแรง ดังนั้นจึงมองว่าการออกไปเติบโตในต่างประเทศ ถือเป็นเป้าหมายหลัก หรือ Priority ที่สำคัญ  ที่จะเติบโตภายใต้ แพลตฟอร์มบิสซิเนส ภายใต้เทคโนโลยีบิสซิเนส

      ดังนั้น หากเราจะเป็น  local player หรือมองแค่ domestic player อย่างเดียว โอกาสที่จะถูกผู้เล่นในระดับภูมิภาค หรือแพลตฟอร์มทุ่มตลาด จากความสามารถในการระดมทุนผ่านตลาดเวนเจอร์แคปปิตอลได้
        ซึ่งจะเห็นได้จาก รูปแบบของแพลตฟอร์มใหญ่ๆในปัจจุบัน ที่เหล่านี้ขาดทุนเพิ่มขึ้น แต่สเกลของแพลตฟอร์มใหญ่ๆขึ้นๆ และมูลค่าบริษัทเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ในอนาคต หากไม่มีแนวคิดในการสร้าง Network effect สร้างปรากฎการณ์ หรือทำสเกลให้ใหญ่ โอกาสที่จะถูกแพลตฟอร์มระดับภูมิภาค หรือ globalplatform กินรวบมีสูงมาก ดังนั้นไม่มีทางอื่นๆเลย ในการเข้าสู่ เรื่องฟินเทค หรือแพลตฟอร์มบิสเนส นอกจากไปสู่ ผู้เล่นระดับภูมิภาคให้ได้ 
      “การเติบโตในระยะข้างหน้า จะไม่ใช่มาจาก การขยายธุรกิจธนาคาร ไปต่างประเทศ เพราะธนาคารเราจะไม่มีการขยายธุรกิจธุรกิจไปต่างประเทศเลย เพราะวันนี้ เรามี Red Ocean ของธนาคาร ก็คือ cash cow ที่ต้องพยายามประคองให้ดี ให้แข็งแรงในประเทศอันนี้พอแล้ว การไปในต่างประเทศ คงเป็นเรื่องของการทำแพลตฟอร์มบิสซิเนสมากกว่า” 

      ทั้งนี้ หากกล่าวถึงจุดเริ่มต้น การสร้าง SCBx  มาจากการเรียนผิดเรียนถูกมา จากหลายสิ่ง ที่ธนาคารทำในอดีต โดยความตั้งใจเดิม ของการทำให้องค์กรหรือกรุ๊ป 115 ปี อยู่ต่อไปได้ บนโลกของเทคโนโลยี บนขีดความสามารถและมีพัฒนาการ ที่แตกต่างจากผู้เล่นอย่างธนาคารอย่างมาก จึงมีแนวคิดในการเปลี่ยนที่แบงก์ ให้กลายเป็นฟินเทค คือการทรานส์ฟอร์มแบงก์ 
      แต่ภายใต้ยุทธ์ศาสตร์กลับหัวตีลังกา แม้จะมีผลบวกหลายเรื่อง แต่ก็พบว่ามีความไม่พร้อมในหลายเรื่องเช่นเดียวกัน

      ดังนั้นจึงนำมาสู่การคิด และถอยกลับมาคิด บนบริบทของ การปล่อยให้แบงก์เดินต่อในบริบทของความเป็นแบงก์ ทำให้แข็งแรง ทำให้เป็น cash cow หรือบริษัทที่สร้างรายได้สูงต่อไป ขณะเดียวกัน ขีดความสามารถใหม่อย่าเอาไปสับสน อย่างเอาไปปนกับแบงก์

     ขณะที่อีกด้านคือการสร้างอินโนเวชั่น หรือสร้างเทคโนโลยีอยู่ข้างนอก ซึ่งเป็นแตกต่างจากยุทธศาสตร์เดิม อีกด้านคือการสร้างยุทธ์ศาสตร์ใหม่ ภายใต้ การสร้าง SCBxขึ้นมา 
      อย่างก็ตาม แม้ว่า จะมี SCBx แต่เชื่อว่า ระยะแรก รายได้จากแบงก์ ที่มีขนาดที่ใหญ่ จะยังเป็นส่วนที่ contribute ให้กับ SCBx ในช่วงเริ่มต้น และระยะยาวหากโลกไม่หมุนเร็วจนเกินไป เทคโนโลยีไม่ได้เปลี่ยนอย่างรุนแรงจนเกินไป แบงก์ก็ยังเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่และสำคัญ ในกรุ๊ปของ SCBx
 

เป้าหมายระยะกลางปั้นบริษัทเข้าระดมทุนใน 3-5ปี
     ส่วนระยะกลาง ตัวธุรกิจที่จะสร้างรายได้ ที่จะออกไปเติบโต คือส่วนที่ดึงออกมาจากแบงก์ เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต ฯลฯ ซึ่งทุกอันมีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทจดทะเบียน ออกไอพีโอ ใน 3-5ปีข้างหน้า

     เช่นเดียวกันกับ ธุรกิจที่เกี่ยวกับแพลตฟอร์ม ดิจิทัล บล็อกเชน ดิจิทัลแอสเสทต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลากหลาย ที่จะเห็นไปสู่จุดคุ้มทุน การทำกำไร จดทะเบียนในตลาด สามารถระดมทุนได้ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation)ขึ้นมาได้ 
แต่อีกหลายด้าน ทั้งดิจิทัลแอสเสท บล็อกเชน อนาคตยังมีทั้ง ควอนตัมเทคโนโลยี มี AR VR

    ซึ่ง SCBx จะพยายามสร้างขีดความสามารถ ในทุกรูปแบบที่กรอบกฎระเบียนเปิดให้สามารถทำได้ รวมถึงสร้างวิชั่น เพื่อให้ Talent เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ที่อยากร่วมงานกับ SCBx ในลักษณะพาร์ทเนอร์ หรือเถ้าแก่น้อย เพื่อผลักดันให้วิชั่นของบริษัทใหม่เหล่านี้เกิดขึ้น 
    ซึ่งหากมอง SCBx วันนี้ ก็เสมือนยานแม่ ที่มีแบงก์ ที่เป็นหนึ่งบริษัทที่อยู่ในกรุ๊ป SCBx คือตัวแทนของทุกบริษัท ไม่ใช่ scbx  เพียงบริษัทเดียว แต่เป็นภาพการที่มีหลายกลุ่มธุรกิจใน SCBx มี Blue Ocean มี high growth และมีกลุ่มเทคโนโลยี เป็นเรื่องของแพลตฟอร์มบิสเนส มารวมอยู่ด้วยกัน ในรูปแบบของการถือหุ้น กลุ่มแฟมิลี่ SCBx คือตัวแทนของภาพนี้ 
      ซึ่งภาพของ SCBx วันนี้  ไม่อยากให้มองว่าเป็นโฮลดิ้ง  แต่บทบาท SCBx จริงๆคล้าย private equity คือกองทุนที่มีหน้าที่เอาแคปปิตอลของกรุ๊ปที่เหลือ หรือส่วนเกิน ไปสร้างโอกาสในการเติบโต ดังนั้น Private equity ก็เหมือนระดมทุนมาก้อนหนึ่ง และเอาเงินที่ได้ไปหาโอกาสของการลงทุน

     อย่างไรก็ตาม การจะต่อยอดการเติบโตให้กับ SCBx ส่วนหนึ่งก็ต้องมาจากการจับมือกับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ เพราะปัจจุบันธุรกิจการเงิน ช่องทางในการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ในเรื่องไฟแนนเชียลอย่างเดียว จะยิ่งลดบทบาทลงเรื่อยๆ

    ดังนั้นการเข้าสู่เอ็นเกจเม้นท์จากไลฟ์สไตล์ จากสิ่งที่คนให้ความสำคัญ ทั้งสุขภาพ การใช้ชีวิต หรือลงทุน ซื้อของต่างๆ แม้กระทั่งการท่องเที่ยว สิ่งเหล่านี้ การไปสู่ระบบนิเวศน์เหล่นี้ เป็นสิ่งที่เราไม่ได้เชี่ยวชาญ ดังนั้นการจับมือกับพาร์ทเนอร์ หรือ JV เป็นสิ่งที่สำคัญ 
     “การพาร์ทเนอร์ชิฟ คือผ่าน การเข้าไปลงทุน คือประตูบานแรก ที่ทำให้เกิดการเข้าไปศึกษา เข้าใจ บนบิสซิเนสโมเดลใหม่ๆ ของเทคโนโลยีใหม่ๆ รูปแบบพฤติกรรมลูกค้าใหม่ๆ คือกระบวนการที่จะทำให้เราเรียนรู้ แทนที่เริ่มต้นจากการทำเองเลย ซึ่งเป็นการลองผิดลองถูกที่แพงเกินไป แต่หากเรามองเห็นว่าเป็นโอกาสก็ลงทุนมาก ก็ตามมาสู่คอนเน็คชั่น หรือทำให้เราเรียนรู้และคิดต่อว่า จะคุยหรือจะชวนมาเป็นพาร์ทเนอร์ เพื่อทำให้เราขยายตัวได้”
   

SCBxชี้ไม่มีระบบเกื้อกูล หนุนบริษัทลูกโตยั่งยืน ใครไม่รอดก็ต้องจอด

      สุดท้ายแล้ว การจะเชื่อมต่อ หรือสร้างระบบนิเวศน์ ของSCBx  หรือการเข้าไปลงทุนของ SCBx ในอนาคต ถือว่า มีความท้าทาย วันนี้ทุกบริษัทมีเป้าหมายเป็นของตัวเอง แต่จะมี SCBx ทำหน้าที่ สำคัญคือ การเข้าไปลงทุน โดยเป้าหมายคือ หากบริษัทไหนจะได้เงินทุน ที่จะขยายธุรกิจทำต่อ ก็อยู่ที่ว่าบริษัทนั้นทำได้ดีหรือไม่ หากทำไม่ได้ดี อาจต้องจอดป้าย 
     ดังนั้นบทบาท SCBx เราจะไม่อยู่ในระบบเกื้อกูล ไม่เอาระบบ พี่ประคองน้อง ไม่ทำ จะไม่อยู่ในระบบของ Arm sling หรือช่วยพยุงกัน แต่จะอยู่ในระบบ professional  และให้ทุกบริษัทมี Mindset มีความคิด ที่จะอยู่รอด fight เพื่อการเติบโต ไม่เอาเตี้ยไปอุ้มค้อม ใครไปไม่ได้ก็จอด ใครไปได้ก็ไปต่อ สนับสนุนให้ยิ่งแข็งแกร่ง เพื่อให้แต่ละบริษัทสามารถดำเนินธุรกิจของตัวได้อย่างเต็มที่ 
     ซึ่งบทบาทของ SCBx คือการ เข้าไปสแกนสิ่งเหล่านี้ ว่าโอกาสอยู่ตรงไหน ทั้งในและต่างประเทศ และหา Blue Ocean คือยิ่งมีเทคโนโลยี ที่คนอื่นๆ แข่งได้ยาก สิ่งเหล่านี้จะเป็น priority ที่เราให้ความสำคัญก่อน ในการเข้าไปลงทุน หรือเข้าไปทำเอง 
     สำหรับ การเข้าไปศึกษาดิจิทัลแอสเสท ปัจจุบัน ดิจิทัลแอสเสท อาจหมายถึงหลายนิยาม สินทรัพย์ดิจิทัล หมายถึงคริปโตเคอเรนซี่ การลงทุนเข้าไปเทรด เข้าไปซื้อขาย เก็งกำไร แต่ SCBx ไม่ได้ต้องการเรื่องทำการลงทุนหรือการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล แต่เราต้องการเป็น infrastructure provider ในระดับภูมิภาค 
    “ที่ผ่านมาหลายบริษัท กำหนดเป้าหมาย การเข้าไปลงทุนด้านดิจิทัลแอสเสท ใส่ไปในแผนยุทธ์ศาสตร์ โดยเอาแคปปิตอลบางส่วนไปลงทุน แต่ผมมองว่าไม่ใช่ยุทธ์ศาสตร์เรา เราต้องการไปเป็น Player ของ infrastructureต่างๆเหล่านี้ ที่มาจากไอเดียของเราที่มีมานานแล้ว แต่ดีลยังไม่เกิด เพราะต้องอยู่ในกระบวนการขออนุญาต ที่ต้องใช้เวลาสักระยะ ก่อนที่จะสามารถพูดอะไรมากกว่านี้”