สาขาธนาคารพาณิชย์ไทย ยังมีความจำเป็นสำหรับ SMEs หรือไม่?(1)

สาขาธนาคารพาณิชย์ไทย ยังมีความจำเป็นสำหรับ SMEs หรือไม่?(1)

สาขาธนาคารพาณิชย์ที่เคยมีความสำคัญในการให้บริการลูกค้า SMEs ให้คำแนะนำช่วยเหลือลูกค้าได้ถูกกระแสการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทำให้ต้องปิดตัวลง ไม่พียงสร้างความตื่นตระหนกให้กับพนักงานแบงก์ แต่ทำให้ SMEs ต้องเผชิญกับอนาคตที่มืดมน โดยยังไม่มีมาตรการรองรับแต่อย่างใด

Banking is necessary,Bank are not เป็นคำกล่าวของ Bill Gates เมื่อไม่นานมานี้ จาก Digital Disruption ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับตัวจาก Traditional

Banking มุ่งสู่ Digital Banking ทำให้ปริมาณธุรกรรมที่ทำผ่านช่องทางออนไลน์โดยเฉพาะ Mobile Banking เติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การบริการทางกายภาพเช่น สาขาธนาคารพาณิชย์ และตู้ ATM ลดความสำคัญลง คำกล่าวของ Bill Gatesที่ว่า “ธุรกิจการธนาคารมีความจำเป็น แต่องค์กรธนาคารไม่จำเป็น”กำลังเป็นกระแสที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ ผู้กำกับดูแลได้อนุญาตให้จัดตั้งธนาคารพาณิชย์รูปแบบใหม่ จากพัฒนาการของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดตั้ง Digital-only Bank หรือ Virtual bank ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ไร้สาขา ให้บริการผ่านช่องทางดิจิตอลตลอดกระบวนการของการให้บริการสามารถตั้งสำนักงานใหญ่ รับฝากเงิน และได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้

ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน อนุญาตให้จัดตั้ง Virtual Bank เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจและประชาชนที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน เป้าหมายสำคัญคือ E-commerce ที่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก เน้นการให้สินเชื่อแก SMEs และประชาชนที่ไม่เคยได้รับสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ดั้งเดิม WeBank คือธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาของกลุ่ม Tencent ผู้ให้บริการ WeChat แอปพลิเคชันส่งข้อความอันดับหนึ่งของจีน ได้รับใบอนุญาตประกอบธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2557 ปัจจุบันขยายฐานลูกค้าได้มากกว่า 100 ล้านคน Starting Bank ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาแห่งแรกของสหราชอาณาจักร ให้บริการทางการเงินแก่ธุรกิจ SMEs และประชาชนทั่วไป

โดยมีการ Customize ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่เหมาะสมกับผู้ใช้บริการแต่ละกลุ่ม ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ คือ Kakao Bank มีลูกค้ากว่า 12.5 ล้านคน ในปี 2563 มีผู้ใช้งานถึง 11 ล้านคนต่อเดือน โดยได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย และการออกแบบ User interface ที่น่าดึงดูดและใช้งานง่าย ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในฮ่องกง คือ Livi ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่าง Bank of China และบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางการเงิน JD Digits และ Jardines กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่มี 7-11 ฮ่องกงเป็นกิจการในเครือ

ในช่วงที่ผ่านมา Decentralized Finance เติบโตทั้งในแง่ของมูลค่าตลาดและจำนวนผู้ใช้งาน โดยมูลค่าตลาดทั่วโลกในปัจจุบันอยู่ที่ 70.8 พันล้านดอลล่าสหรัฐ ซึ่งเกือบ ครึ่งหนึ่งอยู่ในหมวดกู้เงิน รองลงมาเป็นตลาดแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ยังมีการชำระเงินและการประกันในสัดส่วนที่ยังต่ำ มีจำนวนผู้ใช้งานประมาณ 1.75 ล้านล้านคนทั่วโลก

กระแส Decentralized Finance ในประเทศไทย ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ หากไม่ปรับตัวจะทำให้สูญเสียลูกค้าที่มีศักยภาพให้กับคู่แข่ง ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือธนาคารกสิกรไทย ไดจัดตั้ง KBTG และธนาคารไทยพาณิชย์ ได้จัดตั้ง SCB10x เพื่อเรียนรู้และพัฒนา ประยุกต์ใช้กับ Virtual Banking ประเทศไทยเป็นประเทศที่นักลงทุนให้ความสนใจเรื่อง Decentralized Finance อยู่ในอันดับที่ 3 จากการจัดอันดับของ DeFi Adoption Index โดย Chainanalysis เป็นรองเพียงสหรัฐและเวียดนามเท่านั้น

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด 19 นับตั้งแต่เดือน ธ.ค.2562 ถึง ก.ย.2564 จำนวนสาขาและจุดให้บริการในประเทศของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมีการปรับลดลง 664 สาขา จาก 6,809 สาขา เหลือเพียง 6,145 สาขา นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มปิดสาขาลงต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และน่าจะยังคงทยอยปรับลดสาขาลงต่อไปอีก โดยธนาคารพาณิชย์จะหันไปให้ความสำคัญในด้านดิจิตอลมากขึ้นเช่นช่องทางโมบายแบงกิ้ง หรือช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

สาขาธนาคารพาณิชย์ที่เคยที่เคยมีความสำคัญในการให้บริการลูกค้า SMEs ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือลูกค้าแก้ปัญหา ได้ถูกกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทำให้ต้องปิดตัวลงไม่พียงแต่สร้างความตื่นตระหนกให้กับพนักงานธนาคารพาณิชย์เท่านั้น แต่ได้ทำให้ SMEs ต้องเผชิญกับอนาคตที่มืดมน โดยที่ยังไม่มีมาตรการรองรับแต่อย่างใด.....