สร้างโอกาสยั่งยืน ด้วยDomestic   Innovation-driven Economy

หากสถานการณ์ของการระบาดโควิด–19 ได้คลี่คลายลงอย่างต่อเนื่องและสามารถเปิดประเทศได้ และดำเนินการอย่างไม่สะดุด สิ่งที่สำคัญจะกลับเข้าชิงพื้นที่ความสนใจเพิ่มมากขึ้นกว่าการป้องกัน ควบคุมและรับมือการแพร่ระบาดของโควิดคือเป็นนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ

หนึ่งความคาดหวังของโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่จะมาเป็นเครื่องจักรสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศ ถึงแม้ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังการริเริ่มโครงการทั้งหัวหน้าและทีมเศรษฐกิจจะไม่ได้ควบคุมกำกับโครงการแล้วก็ตาม 

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า อีอีซี เป็นโครงขนาดใหญ่ที่ได้มีการลงทุนสนับสนุนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ร่วมถึงภาคเอกชนในประเทศจึงทำให้โครงการนี้ใหญ่เกินไปที่จะให้ล้มได้ (Too big to fail) โดยการดำเนินการตั้งอุตสหกรรมเป้าหมายถึง 12 อุตสาหกรรมนั้น ก็ไม่สามารถปฎิเสธการตั้งคำถามที่ว่า สุดท้ายแล้วโครงการอีอีซี จะเข้าตำราหรือกรณีที่จะเรียกว่า “Jack of All Trade, a master of none” ทำอะไรหลายอย่างแต่ไม่เก่งสักอย่าง หรือว่า “รู้อย่างเป็ด” หรือไม่

ประเด็นคือ 12 อุตสหกรรมเป้าหมายนั้นสำคัญต่อเศรษฐกิจในอนาคต แต่สิ่งที่อาจจะต้องกลับมาพิจราณาคือ ทั้ง 12 อุตสหกรรมเป้าหมายควรได้รับการจัดลำดับการพัฒนาที่เท่าๆกันหรือไม่ หากทั้ง 12 อุตสหกรรมเป้าหมายได้รับความสำคัญเท่าๆกัน นั้นหมายถึงทรัพยกรที่มีจำกัดจะต้องถูกจัดแบ่งไปไหนทิศทางของ 12 อุตสหกรรมเป้าหมาย จากเดิมประเทศเราทรัพยากรโดยเพราะการเงินที่จำกัดอยู่แล้วแต่ผลกระทบของโควิดยิ่งทำให้ทรัพยากรต่างๆยิ่งอยู่ในสถานการณ์ที่จำกัดยิ่งขึ้นเกือบถึงขีดสุด 

ดังนั้นถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะจัดลำดับความสำคัญหรืออาจจะถึงขึ้นตัดบางอุตสาหกรรมบางอย่างออกจาก 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก บางครั้งอาจจะไม่ใช่กรณีของ “the more the merrier” หรือยิ่งมากยิ่งมีผลดีมาก แต่ควรพิจารณาความเป็นไปได้ของแนวทางที่เรียกว่า “Less is more” หรือ ทำน้อยแต่ได้ผลมากกว่า เมื่อคำนึงถึงสถานการณ์ปัจจุบันและพื้นฐานทรัพยากรของประเทศ

ดังนั้น จึงมาเป็นประเด็นต่อเนื่องว่าหากแนวทางของ “Less is more” อาจจะช่วยตอบโจทย์ประเทศมากกว่านั้น หากจะพิจารณาแนวทาง “Less is more” เราต้องเข้าใจก่อนว่าปัจจุบันเราอยู่ในยุคการพัฒนาเศรษฐกิจโดยการพึ่งพาการลงทุนจากภาคเอกชน หรือ ที่เรียกว่า Investment Driven Economy การดำเนินนโยบายดังกล่าวก็จะคล้ายกับหลายประเทศที่กำลังพัฒนาที่ขาดเงินลงทุน การเข้าถึงเทคโนโลยี ทรัพยการมนุษย์ การดำเนินนโยบายที่ให้ความสำคัญต่อพึงพาการลงทุนจากภาคเอกชนจะทำให้ประเทศดูเหมือนว่ามีรายได้ที่เพิ่มขึ้นเพราะการกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้น แต่การที่เราจะก้าวไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงอย่างแท้จริงนั้น ศาสตราจารย์ ไมเคิล พอร์เตอร์ (Michael Porter) ได้เสนอข้อคิดเห็นไวว่า ประเทศที่จะเป็นประเทศมีรายได้สูงอย่างแท้จริง ประเทศต้องสามารถสร้างผลิตภัณฑ์และบริการอย่างแท้จริงไม่ใช่เพียงการรับจ้างผลิตแต่กระบวนการเกิดเทคโนโลยีมาจากที่อื่น ประเทศนั้นต้อสามารถผลิตและสามารถสร้างนวัตกรรมได้เอง หรือ เรียกว่า ระบบเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรม (Innovation-driven Economy) และการที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมนั้นต้องสร้างกลุ่มหรือ cluster หากพิจารณาอีอีซีแล้วนั้นทิศทางการเกิดของ cluster นั้นสามารถเป็นไปได้สูง แต่ประเด็นคือ นวัตกรรมที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากบริษัทต่างชาติเข้ามาได้รับผลประโยชน์ทางภาษีและนโยบายส่งเสริมการลงทุนต่างๆ นั้นจะเป็นกรณีของ foreign Innovation-driven Economy หรือ เราควรจะมีการส่งเสริม domestic Innovation-driven Economy ดังกรณีตัวอย่าง บริษัทแอสตราเซเนก้าเป็นบริษัทเจ้าของสิทธิของวัคซีนและผู้ผลิตที่ตั้งโรงงานที่ประเทศ แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่เลือกได้เราเป็นเจ้าของสิทธินวัตกรรมนั้นหรือนวัตกรรมใดก็ตามก็จะสร้างโอกาศที่ยั่งยืนและมั่นของประเทศมากกว่า

อีอีซี เป็นโครงใหญ่ที่จะให้ล้มได้ จึงควรพิจารณาอุตสาหกรรมที่มีความเป็นไปได้ที่เหมาะสมทำให้เราก้าวสู่ประเทศเป้าหมายรายได้ระดับสูงอย่างแท้จริง