กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ 8-12 พฤศจิกายน: แกว่งขึ้น ตามปัจจัยต่างประเทศ

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ 8-12 พฤศจิกายน: แกว่งขึ้น ตามปัจจัยต่างประเทศ

ในสัปดาห์ที่แล้ว (1-5 พฤศจิกายน) ดัชนี SET พักฐานอย่างชัดเจน ตามที่เราคาดไว้ โดยตลาดการเงินชะลอตัวก่อนการประชุม FOMC

เพราะ traders เป็นห่วงว่า Fed จะเร่งลดขนาด QE และส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยเร็ว อย่างไรก็ตาม ภาวะตลาดกลับมาดีขึ้นหลังจากที่ Fed ประกาศว่าจะลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงเดือนละ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ตามที่ส่วนใหญ่คาดเอาไว้ และยังคงเชื่อว่าเงินเฟ้อสหรัฐที่สูงเป็นเพียงช่วงเปลี่ยนผ่านเท่านั้น สำหรับหุ้นในตลาดไทย กลุ่มธนาคารยังไปได้สวยท่ามกลางความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และความตื่นเต้นในกลุ่มธนาคารจากการที่ SCB* เข้าไปซื้อหุ้น 51% ใน Bitkub แต่ในทางกลับกัน หุ้นกลุ่มพลังงานขึ้นถูกกดโดยราคาน้ำมันที่กลับลงมา แม้ว่า OPEC+ จะตัดสินใจคงระดับการทยอยเพิ่มผลผลิตขึ้นอีก 400kbpd ต่อเดือน แต่ตลาดเหมือนจะเริ่มล้าแล้วเพราะราคาน้ำมันในปัจจุบันเกือบถึงประมาณการตาม consensus แล้ว ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว มีการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในเดือนตุลาคม ซึ่งเพิ่มขึ้น 531,000 ตำแหน่ง สูงกว่า consensus ที่ 450,000 ตำแหน่ง

สัปดาห์นี้ (8-12 พฤศจิกายน) ตลาดหุ้นไทยน่าจะเทรด sideways up ซึ่งความชัดเจนในส่วนของ
ปัจจัยมหภาคโลก โดยเฉพาะในสหรัฐ น่าจะส่งผลบวกต่อกระแสเงินทุนไหลเข้าตลาด EM รวมถึง
ตลาดหุ้นไทยด้วย ทั้งนี้ แนวทางการลดขนาด QE มีความชัดเจนแล้ว ในขณะที่สภา congress อนุมัติร่างกฎหมายนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 1.0 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งคาดว่าประธานาธิบดี Biden จะลงนามได้ในเร็ว ๆ นี้ ส่วนร่างกฎหมายการใช้จ่ายของรัฐบาลในระยะยาว และแผนการขึ้นภาษีนั้น เรามองว่าผลที่ออกมาน่าจะดีกับตลาดเนื่องจากแพ็คเกจการใช้จ่ายที่เล็กลงจะทำให้อัตราการขึ้นภาษีนิติบุคคลเบาลงมาก  สำหรับปัจจัยภายในประเทศ สัปดาห์นี้น่าจะมีบริษัทต่าง ๆ ประกาศผลประกอบการ3Q64 ซึ่งน่าจะมีทั้งบวกและลบปน ๆ กันไป 

 

แต่เราคิดว่าการปรับประมาณการหลังจากที่มีการประกาศผลประกอบการออกมาไม่น่าจะกระทบภาพใหญ่ของ EPS ซึ่งค่อนข้างจะฟื้นตัวได้ดี หลังจากที่มีการปรับเพิ่มประมาณการของหุ้นกลุ่มใหญ่อย่างเช่นพลังงาน และธนาคารไปแล้วก่อนหน้านี้

 

ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ, ประมาณการ GDP ของไทย และผลประกอบการ 3Q64 ของ บจ.

(0) เงินเฟ้อพื้นฐานของสหรัฐจะทำสถิติสูงสุดใหม่ แต่ตลาดน่าจะไม่ตอบรับมากนัก ในวันที่ 10
พฤศจิกายน สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไป และเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนตุลาคม โดย Consensus คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ 4.3% YoY เร่งตัวขึ้นจาก 4.0% ในเดือนกันยายน และทำสถิติสูงสุดใหม่สำหรับวัฏจักรราคารอบนี้ อย่างไรก็ตาม ทั้ง Fed และหน่วยงานเศรษฐกิจอื่น ๆ ออกมาเตือนว่าเงินเฟ้ออาจจะ overshoot ขึ้นไปอีกได้ในอีกสองสามเดือนข้างหน้า ดั้งนั้น เราจึงมองว่าเงินเฟ้อสหรัฐที่เร่งตัวขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบกับตลาดมากนัก

(0) ประมาณการ GDP 3Q64 ของไทย ซึ่งจะประกาศออกมาในวันที่ 15 พฤศจิกายน นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่า GDP ใน 3Q64 จะทรงตัว หรือ หดตัวลงเล็กน้อย YoY เพราะได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และการใช้มาตรการ lockdown ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกรกฎาคมถึงปลายเดือนสิงหาคม อย่างไรก็ตาม เราคิดว่าจังหวะการฟื้นตัวใน 4Q64 และความคาดหวังต่อการเติบโตในปี 2565 น่าจะมีความหมายกับนักลงทุนมากกว่า เราเชื่อว่า GDP ที่อ่อนแอใน 3Q64 จะไม่กระทบกับภาวะตลาด

 

 

ยังคงเน้นหุ้น domestic plays ที่ราคายังสมเหตุสมผลอยู่

เรายังคงมองแนวโน้มตลาดเป็นบวกเช่นเดียวกับที่ระบุไว้ในบทวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุนฉบับเดือนพฤศจิกายนและบทวิเคราะห์ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว หุ้นหลักที่เรา overweight ได้แก่ ธนาคาร, commerce และอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากสามกลุ่มนี้จะได้อานิสงส์จากเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้นในระยะต่อไปขณะที่ราคาหุ้นยังอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผล เราชอบหุ้นธนาคารใหญ่อย่าง KBANK และ BBL แต่ชอบหุ้นเพียงบางตัวในกลุ่ม commerce ในเชิง recovery plays อย่างเช่น CPALL, HMPRO สำหรับกลุ่มอสังหาฯ เรายังคงชอบผู้ประกอบการระดับกลาง ที่เน้นโครงการแนวราบซึ่งน่าจะได้อานิสงส์จากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น และการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV อย่างเช่น LH และ ORI