มาม่า จับตาต้นทุนพุ่ง! สะเทือนผู้ผลิตสินค้า

มาม่า จับตาต้นทุนพุ่ง! สะเทือนผู้ผลิตสินค้า

ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา การซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกลับมาคึกคักอีกครั้ง จนส่งผลให้ภาพรวมตลาดบะหมี่ฯ “หมื่นล้าน” โตแตะระดับ 10% และยังส่งสัญญาณจนถึงสิ้นปีจะเห็นการเติบโตต่อเนื่อง ฟากการผลิต จับตา "ต้นทุนพุ่ง" หลังวัตถุดิบขยับราคาสูงขึ้นเกือบทุกรายการ

ส่วนเหตุผลที่ทำให้ตลาดบะหมี่ฯ กลับมาเติบโตค่อนข้างสูง พันธ์ พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการสำนักกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ฉายภาพว่า ห้วงเวลาที่ผ่านมารัฐบาลมีการประกาศมาตรการ “เคอร์ฟิว” ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคกลับมาซื้อสินค้าจำเป็นอย่างงบะหมี่ฯไป “ตุน” ไว้อีกครั้ง เพื่อไม่ต้องออกจากบ้าน

นอกจากนี้ สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังคงอยู่ ทำให้หน่วยงาน เอกชนต่างๆมีการซื้อบะหมี่ฯไปบริจาคให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติไวรัส รวมถึงการซื้อไปจัดดปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายต่างๆ ล่าสุด ปัจจัยที่ทำให้การซื้อบะหมี่ฯไปบริโภค คือสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่

ขณะที่ภาคการผลิตยอมรับมีการปรับตัวลดลงบ้าง เนื่องจากโรงงานยังต้องเข้มงวดในการดูแลความปลอดภัยด้านสุขอนามัยของพนักงาน ความต้องการที่เพิ่มขึ้น การผลิตที่ลดลงเล็กน้อย จึงมีผลให้สินค้าในช่องทางห้างค้าปลีก “ขาดเชลฟ์” ไปบ้าง

มาม่า จับตาต้นทุนพุ่ง! สะเทือนผู้ผลิตสินค้า

“บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่ถึงขั้นขาดตลาด อาจขาดเชลฟ์ไปบ้าง ขณะเดียวกัน 2-3 เดือนที่ผ่านมา สินค้าออกจากเชลฟ์ค่อนข้างเร็ว ทำให้ภาพรวมตลาดมีการเติบโตค่อนข้างสูง โดย 10 เดือน คาดการเติบโตอยู่ที่ 10% ทั้งที่บะหมี่ฯประเภทถ้วยหรือคัพยังคงหดตัว”

วันที่ 1 พ.ย.นี้ ไทยจะเปิดประเทศ ผู้คนมีการเดินทางท่องเที่ยว และการลดเวลาเคอร์ฟิว ผู้คนสามารถใช้ชีวิตกลางคืนได้ คาดว่าจะช่วยปลุกตลาดบะหมี่ฯให้ขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะแบบคัพ อาจกลับมาเติบโตได้จากที่ยังติดลบ และหวังภาพรวมกำลังซื้อจะกลับมาดี มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น หลังจากเก็บกด ไม่ได้ออกจากบ้านเป็นเวลานาน

ขณะที่ตัวแปรสำคัญยังเป็นเรื่อง “รายได้” ของผู้บริโภคจะมีผลต่อการเลือกซื้อสินค้ามากน้อยเพียงใด รวมถึงเมื่อการค้าขาย ร้านอาหารกลับเปิดให้บริการเต็มที่ ผู้บริโภคอาจออกมากินอาหารนอกบ้านมากขึ้น การตุนบะหมี่ฯอาจปรับตัวลดลง

อย่างไรก็ตาม จากความต้องการบะหมี่ฯที่เพิ่มสูงขึ้น บริษัทยังคาดการณ์ถึงสิ้นปีตลาดรวมจะเติบโตได้ราว 10% ซึ่งเป็นการเติบโตในอัตรา 2 หลักอีกครั้ง หลังจากเคยเกิดขึ้นช่วง 5-6 ปีก่อน โดยปกติตลาดบะหมี่ฯ ค่อนข้างโตสอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(จีดีพี)

ส่วน “มาม่า” ภาพรวมยอดขายในประเทศคาดว่าจะเติบโต 10% ตามตลาด ซึ่งถือเป็นการเติบโตสูงกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ 5% ส่วนครึ่งปีแรก บริษัทมีรายได้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท กำไรสุทธิกว่า 1,700 ล้านบาท

มาม่า จับตาต้นทุนพุ่ง! สะเทือนผู้ผลิตสินค้า

พันธ์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่ต้องเกาะติดในตลาดบะหมี่ฯ รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคคือ “ต้นทุน” การผลิตสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นมากทั้งในและต่างประเทศ อย่างบะหมี่ฯ ต้นทุนน้ำมันปาล์มขยับไปอยู่ 40 บาทต่อลิตร จากเคยซื้อได้ 18-22 บาทต่อลิตร แป้งสาลีขยับแตะ 400 บาทต่อกระสอบ จาก 200 บาท รวมถึงฟิล์ม พลาสติก เป็นต้น ขณะที่การภาคส่งออกต้นทุนเพิ่มจากการขนส่ง ค่าระหว่างเรือที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากโรคโควิด-19 ระบาด กระเทือนระบบโลจิสติกส์ รวมถึงซัพพลายเชนต่างๆ อีกทั้งทิศทางราคาพลังงานมีแนวโน้มพุ่งขึ้นด้วย 

“ขณะนี้ต้นทุนการผลิตสินค้าขึ้นแบบไม่หยุด ในหลายหมวดสินค้า โดยหมด และผู้ประกอบการต้องกกัดฟันแบกภาระต้นทุนให้ได้”