ตลท.ปรับเกณฑ์เพิกถอนบจ. กรณีงบการเงิน ยกเลิกประกาศ NC ระยะ1-3 มีผล1 พ.ย.64

ตลท.ปรับเกณฑ์เพิกถอนบจ. กรณีงบการเงิน ยกเลิกประกาศ NC ระยะ1-3 มีผล1 พ.ย.64

ตลท.ปรับเกณฑ์ เพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน เพื่อมีความชัดเจน เข้าใจง่าย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 พ.ย.64เป็นต้นไป กรณีงบการเงิน เพิ่มเวลาแก้ไขเพิกถอนส่งงบภายใน 2 ปี จากเดิม1 ปี กรณีฐานะการเงิน จะไม่กระกาศรายชื่อ บจ.อยู่ใน NC ระยะ1-3

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน และการเปิดเผยสารสนเทศเพื่อให้มีความชัดเจน เข้าใจง่าย โดยผู้ถือหุ้นและผุ้ลงทุนยังคงมีข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนและทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2564เป็นต้นไป 

 ทั้งนี้การปรับปรุงเหตุเพิกถอนและการดำเนินการเมื่อเข้าเหตุเพิกถอน ให้มีความเข้าใจง่าย ดังนี้ 
1.กรณีไม่ส่งงบการเงิน/ส่งงบการเงินล่าช้า/งบการเงินไม่ถูกต้อง เกิน6 เดือนเฉพาะงวดแรกที่ล่าช้าเกิน6 เดือน  โดยช่วงที่1ในการดำเนินการให้เหตุเพิกถอนหมดไป  คือ ส่งงบการเงินที่ล่าช้าเกิน6 เดือนได้ครบทุกงวด ภายใน 2 ปี จากเดิมให้เวลาภายใน1 ปี 

ช่วงที่ 2 ช่วงดำเนินการให้คุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย  คือ ส่งงบการเงินที่ล่าช้าทุกฉบับ และส่งงบการเงินภายในเวลาที่กำหนด 2 งวดติดต่อกัน ภายใน 1 ปี ซึ่งรายงานของผุ้สอบบัญชีต้องไม่เป็นลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้  มีเงื่อนไขเกี่ยวกับกรณีข้อบกพร่องในระบบควบคุมภายใน หรือ ระบบบัญชีไม่สมบูรณ์ หรืองบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สำนักงานยอมรับ  ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน หรือ แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขกรณีถูกจำกัดขอบเขตสอบบัญชีโดยการกระทำหรือไม่กระทำของบริษัท หรือ กรรมการ หรือ ผู้บริหาร และแสดงควาเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง 
 

2.กรณีฐานะการเงิน  คือ มีส่วนผู้ถือหุ้น(Equity)<0  หยุดประกอบกิจการ ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็น 3ปี ติดต่อกัน  

ซึ่งช่วงที่1 ของการดำเนินการให้เหตุเพิกถอนหมดไป คือ แก้ไขเหตุเพิกถอนภายใน3 ปี (อาจขอขยายเวลาอีก 1 ปี ) ตามเหตุที่ถูกประกาศเข้าเหตุเพิกถอนในแต่ละข้อ ดังนี้  มีส่วนผู้ถือหุ้นมากกว่าศูนย์ มีการประกอบกิจการ รายงานผู้สอบบัญชีของงบการเงินประจำปีหรืองบการเงินรวมประจำปี ไม่เป็นประเภทไม่แสดงความเห็นหรือ แสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง

โดยตลาดหลักทรัพย์ฯจะไม่ประกาศรายชื่อบจ.ในระหว่างที่ บจ. อยู่ Stage 1 เป็น 3 ระยะๆ ละ 1 ปี ได้แก่ NC ระยะที่ 1 NC ระยะที่ 2 และ NC ระยะที่ 3

 ช่วงที่2 ช่วงดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย  มีคุณสมบัติภายใน2 ปี (อาจขอขยายเวลาอีก1 ปี  )
-Equity:SET ตั้งแต่300 ล้านบาท ขึ้นไป  ส่วนmai ตั้งแต่50 ล้านบาทขึ้นไป 
-กำไรจากธุรกิจหลัก 1 ปี หรือ 4 ไตรมาส กรณีSET ตั้งแต่30 ล้านบาทขึ้นไป  mai มากกว่า10 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ
-มีฐานะการเงินและผลการดำเนินงานมั่นคง โดยพิจารณรากระแสเงินสดและขาดทุนสะสมประกอบด้วย 
-มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ดำรงสถานะเป็นบจ.
-มีฟรีโฟลท ไม่นอ้ยกว่า 15% และผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่น้อยกว่า150 ราย  
-ปรับโครงสร้างหนี้มากกว่า75% 
-หากฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลาย ต้องออกจาการฟื้นฟูผ่านศาล

ตลท.ปรับเกณฑ์เพิกถอนบจ. กรณีงบการเงิน ยกเลิกประกาศ NC ระยะ1-3 มีผล1 พ.ย.64
 

3.กรณี Cash Company เกิน6 เดือน   ช่วงที่1 ดำเนินการให้เหตุเพิกถอนหมดไป  คือ ไม่เป็นCash Company โดยมีธุรกิจภายใน1 ปี  ส่วนช่วงที่2 ดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย  คือ มีคุณสมบัติตามเกณฑ์รับหลักทรัพย์ ยกเว้น ฟรีโฟลท ต้องมีไม่น้อยกว่า15% และผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่น้อยกว่า150 ราย โดยต้องดำเนินการทั้งหมดภายใน1 ปี และอาจขอขยายเวลาอีก 1 ปี 

4. ถูกขึ้น SP มากกว่า2 ปี เนื่องจากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเกณฑ์หรือไม่เปิดเผยข้อมูล   การประกาศเข้าเหตุเพิกถอน  ดังนี้ 
กณีมี AC ไม่ครบ3 ราย  
-เมื่อครบ3 เดือน ขึ้นNP 
-เมื่อNP ครบ3 เดือน ขึ้นSP 
-เมื่อSP เกิน 2 ปี ประกษสเข้าเหตุเพิกถอน(NC)และพิจารณาสั่งเพิกถอนต่อไป 
5.เลิกกิจการเมื่อที่ประชุมผุ้ถือหุ้นมีมติให้เลิกบริษัท ตลาดหลักทรัพย์จะประกาศเข้าเหตุเพิกถอน(NC)ขึ้นเครื่องหมาย SP

นอกจากนี้นอกจากนี้ ยกเลิกการกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อร่วมจัดทำแผนแก้ไขเหตุเพิกถอน และต้องขออนุมัติแผนดังกล่าวจากผู้ถือหุ้น โดยให้เป็นดุลพินิจของบริษัทจดทะเบียนที่จะพิจารณาตามความจำเป็นและความเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม กรณีที่เป็นการดำเนินการที่มีนัยสำคัญ บริษัทจดทะเบียนยังคงต้องขออนุมัติผู้ถือหุ้นและแต่งตั้งที่ปรึกษาทาง การเงินตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยแผนแก้ไขและแจ้งความคืบหน้าแก่ผู้ลงทุนทราบทุกไตรมาสหรือเมื่อมีความคืบหน้าในการดำเนินการดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ

อนึ่ง ในส่วนของบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนก่อนวันที่หลักเกณฑ์ที่มีการปรับปรุงใหม่ใช้บังคับ จะยังคงใช้บังคับตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียนฉบับเดิมต่อไป

หลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล
1. เพิ่มเหตุการณ์สำคัญที่บริษัทจดทะเบียนต้องรายงานข้อมูลทันทีเพื่อให้มีความชัดเจน ดังนี้
-บริษัทจดทะเบียนถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือมีเหตุอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
- บริษัทจดทะเบียนมีการยื่นขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลาย และเมื่อมีการดeเนินการใด ๆ หรือมีความคืบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับการยื่นคeร้องขอฟื้นฟูกิจการ
-หุ้นของบริษัทจดทะเบียนต่างประเทศแบบ Secondary Listing เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนหรือถูกเพิกถอน จากตลาดหลักทรัพย์หลัก
2. ปรับปรุงให้รายงานข้อมูลทันทีเมื่อบริษัทจดทะเบียนผิดนัดชำระหนี้สถาบันการเงิน หรือผิดนัดชำระหนี้หรือไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันตามนิติกรรมเกี่ยวกับการออกตราสารหนี้ (เกิด Events of Default) โดยไม่กำหนดมูลค่าขั้นต่ำของการผิดนัด เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่อาจกระทบต่อสิทธิผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น บริษัทจดทะเบียนจะไม่สามารถประกาศจ่ายเงินปันผลได้ ในกรณีที่ไม่ชำระเงินต้น และ หรือ ไม่จ่ายดอกเบี้ยหุ้น กู้ที่ถึงกำหนดชำระแล้ว สำหรับกรณีบริษัทจดทะเบียนผิดนัดชำระหนี้กรณีอื่นๆ หรือบริษัทย่อยผิดนัดชำระหนี้หรือ เกิด Events of Default นั้น ให้บริษัทยังคงเปิดเผยข้อมูลเมื่อมีมูลค่าตั้งแต่ร้อยละ 5 ของสินทรัพย์รวมของบริษัท
เช่นเดิม