คปภ. ถอดบทเรียนปิดเอเชียประกันภัยเซ่นพิษโควิด รุดกำกับ-ตรวจสอบเชิงรุก

คปภ. ถอดบทเรียนปิดเอเชียประกันภัยเซ่นพิษโควิด รุดกำกับ-ตรวจสอบเชิงรุก

คปภ. เปิด 6 มาตรการกำกับ-ตรวจสอบ เดินหน้าคุมธุรกิจประกันภัยเชิงรุก พร้อมมือโรคอุบัติใหม่ สกัดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย "เอเชียประกันภัย" ปิดเซ่นพิษโควิด ลั่นระบบประกันภัยไทยยังแข็งแกร่ง แม้มี 4 บริษัทรับประกันโควิด ยืนผ่อนปรนเกณฑ์การเงิน คาดประกาศรายชื่อได้สัปดาห์หน้า

หลังจากเหตุช็อควงการประกัน "สั่งปิดเอเชียประกันภัย" เซ่นพิษโควิด มีผลตั้งแต่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมานี้ และเพื่อไม่ให้เกิดเหตุดังกล่าวซ้ำรอยในอนาคต เนื่องจากมีโอกาสเกิดโรคอุบัติใหม่ เหมือนโควิด  พร้อมกับเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันภัย ที่จะยังคงเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัยของประเทศและประชาชนนั้น 

นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)  เปิดเผยกับ"กรุงเทพธุรกิจ" ว่า  คปภ. ได้ประเมินผลกระทบพร้อมทั้งวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาของบริษัทประกันภัยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 และการรับประกันภัยโควิด -19  คปภ.จึงต้องปรับการทำงานใหม่ ล่าสุด  กำหนดมาตรการการกำกับดูแลและตรวจสอบธุรกิจประกันภัย แบบ (Proactive Actions)  เพื่อเพิ่มศักยภาพในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในอนาคต

พร้อมกันนี้ คปภ. ได้มีการผ่อนปรนเกณฑ์ทางการเงินเพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องบริษัทประกันที่ความเสี่ยงจากการรับประกันภัยโควิด ที่มียอดเคลมเพิ่มขึ้นเป็น 100 เท่าตัวช่วงโควิดระบาดหนัก ให้ผ่านพ้นสถานการณ์เลวร้ายในช่วงเวลานี้  ปัจจุบันมี 4  บริษัทที่ยืนขอและอยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งคปภ. คาดว่าจะประกาศรายชื่อบริษัทที่มีคุณสมบัติได้รับการผ่อนปรนตามเกณฑ์ดังกล่าวได้  

"ทั้ง 4 บริษัทยังไม่เข้าข่ายถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจแต่อย่างใด และทุกบริษัทได้แจ้งว่า มีแหล่งเงินทุนที่พร้อมเข้ามาเสริมสภาพคล่องและบริหารจัดการจ่ายเคลมสินไหมตามแนวทางของคปภ.ได้ยัง "  

ขอย้ำว่า จากการทดสอบตามแบบจำลองในภาวะวิกฤติปัจจุบันยังพบว่า ธุรกิจประกันภัยยังมีความมั่นคงและแข็งแกร่ง ไม่ลุกลาม อีกทั้งกองทุนประกันวินาศภัย ปัจจุบันมีเม็ดเงินกว่า 5,000 ล้านบาท เพียงพอ หาก "บริษัทประกันวินาศภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาต" พร้อมคุ้มครองรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทตามกฎหมาย

 

 

สำหรับ "มาตรการการกำกับดูแลและตรวจสอบธุรกิจประกันภัย" ประกอบด้วย 6 มาตรการสำคัญ ดังนี้ 

1. มาตรการกำกับดูแลด้านผลิตภัณฑ์ประกันภัย
1.1 ปรับปรุงเงื่อนไขการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย โดยปรับปรุงแบบและข้อความของกรมธรรม์ประกันภัย 
ในส่วนของเงื่อนไขการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย ให้บริษัทประกันภัยบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยได้โดยระบุกรณีที่
สามารถทำได้ให้ชัดเจน
1.2 กำหนดเงื่อนไขการให้ความเห็นชอบผลิตภัณฑ์ประกันภัยบางประเภทที่กระทบต่อผู้เอาประกันภัยหลาย
รายในเหตุการณ์เดียวกัน
เป็นกรณีเฉพาะ ดังนี้
1) ให้บริษัทจัดตั้งทีมงาน/ ผู้เชี่ยวชาญขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์สถานการณ์การรับประกันภัยของบริษัทในเชิงลึก รวมทั้งเสนอแนวทางการปรับปรุงหรือแก้ไขประเด็นปัญหาต่าง ๆ จากการรับประกันภัยให้ผู้บริหารของบริษัทรับทราบ 
2) ให้คณะกรรมการผลิตภัณฑ์ประกันภัย (Product Governance Committee) ติดตามการรับประกันภัยเป็นกรณีพิเศษอย่างต่อเนื่องด้วยความถี่ที่มากกว่าปกติ เช่น ราย 15 วัน หรือ รายเดือน ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานการณ์การรับประกันภัย ความสามารถในการรับประกันภัย การกำหนดกรอบให้ความคุ้มครองของแต่ละกรมธรรม์ให้เหมาะสม การประเมินการเกิดเหตุแต่ละครั้ง ฯลฯ

2. มาตรการด้านกฎหมาย

ออกประกาศหลักเกณฑ์เพื่อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทในการออก
กรมธรรม์ประกันภัย
  เช่น
- กำหนดให้บริษัทต้องมีการวิเคราะห์ความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ประกันภัย รวมถึงประเมินความเสี่ยงที่
เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย และมีการตั้งคณะกรรมการผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว
- การขอรับความเห็นชอบแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยที่คุ้มครองความเสี่ยงภัยอุบัติใหม่ (Emerging 
risk) บริษัทจะต้องมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนไม่ต่ำกว่าที่นายทะเบียนกำหนด จัดสรรเงินสำรองให้
ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และมีการจัดทำประกันภัยต่อ 
- ผลิตภัณฑ์ประกันภัยประเภทใดมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหรือมีความเสี่ยงอุบัติใหม่ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้บริษัท
ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรโดยจะกำหนดเป็นเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบแบบกรมธรรม์ประกันภัย เช่น หยุดการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยเป็นการชั่วคราว


3.มาตรการในการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการวิเคราะห์และตรวจสอบเชิงรุก (Off-site Examination)
3.1 ปรับปรุงเครื่องมือประเมินแนวโน้มความมั่นคงของบริษัทประกันภัย เพื่อใช้ประมาณการความเพียงพอของ
เงินกองทุนที่สอดรับกับสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบันและครอบคลุมถึงเหตุการณ์ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (Forecasting)
เพื่อให้สำนักงาน คปภ. ได้รับทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและรวดเร็วมากที่สุด 
3.2 ติดตามและตรวจสอบกระบวนการบริหารความเสี่ยงของบริษัทประกันภัยในปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่
มีนัยสำคัญ (Diver of material risk) อันอาจจะกระทบต่อฐานะการเงินและความมั่นคงของบริษัทประกันภัยในอนาคต
โดยบริษัทดำเนินการประเมินความเสี่ยงตามแบบจำลองธุรกิจที่บริษัทวางแผนไว้ และชี้แจงกระบวนการบริหารความ
เสี่ยง การควบคุม กรอบระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ รวมทั้งระบุจุดแข็ง จุดอ่อนของการดำเนินธุรกิจและการควบคุมการ
ปฏิบัติงาน ฯลฯ
3.3 ติดตามพอร์ตการรับประกันภัยของบริษัทประกันภัย โดยให้บริษัทรายงานข้อมูลการรับประกันภัยที่มีสัดส่วนเป็นนัยสำคัญของบริษัท เช่น 10 อันดับแรก รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางการเสนอขาย เกณฑ์หรือขีดจำกัดการรับประกันภัย กระบวนการควบคุมต่าง ๆ และข้อมูลสถิติของพอร์ตการรับประกันภัยดังกล่าว 
3.4 ผลักดันและส่งเสริมการมีบทบาทของคณะกรรมการต่าง ๆ ของบริษัทประกันภัย เพื่อช่วยให้เกิดวงจรการ
ควบคุมและบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้บริษัทสามารถวางแผนการดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
3.5 พัฒนาระบบประมวลผลอัจฉริยะเพื่อจัดทำรายงานการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของ
บริษัทประกันภัย 
3.6 พัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการรับ-ส่งข้อมูลธุรกิจประกันภัย เพื่อตอบสนองนโยบายการพัฒนาสู่ยุค
ดิจิทัล เปลี่ยนช่องทางและวิธีการนำส่งข้อมูลรายงานสถิติของบริษัทประกันภัย เพื่อให้มีการตรวจสอบอย่างอัตโนมัติ 
และจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลให้ง่ายต่อการนำไปใช้งานประมวลผลเชิงวิเคราะห์ตลาด 
3.7 กำหนดกรอบระยะเวลาการจัดทำและนำส่งรายงานต่าง ๆ ของบริษัทประกันภัยที่มีในปัจจุบันให้มีความ
รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สำนักงาน คปภ. ได้รับข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและเท่าทันต่อสถานการณ์ 
3.8 เสนอแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สามารถดำเนินการมาตรการแทรกแซงการดำเนินธุรกิจในบริษัทกลุ่มเสี่ยงที่มี
แนวโน้มจะมีปัญหาด้านการเงินและความมั่นคง ซึ่งเป็นการดำเนินมาตรการเชิงรุกและแก้ไขปัญหาก่อนเกิดความเสียหาย
จริง (Pro-active and early intervention)

4. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการตรวจสอบเชิงรุก (On-site inspection)
4.1 ปรับเปลี่ยนรูปแบบ วิธีการจัดตาราง (Risk and Control Matrix: RCM) ให้บริษัทประกันภัยมีส่วนร่วมในการประเมินความเสี่ยงตั้งแต่เริ่มแรกเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน ไม่จำเป็น และทำให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน ส่งผลให้การประเมินความเสี่ยงของบริษัทประกันภัยเป็นมาตรฐานเดียวกันมากยิ่งขึ้น
4.2 จัดทำประวัติข้อมูลความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของรายบริษัทประกันภัยและภาพรวมธุรกิจประกันภัย (IT Risk Profile) เพื่อให้สามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการกำกับดูแลบริษัทประกันภัย รวมถึงภาคธุรกิจสามารถนำไปกำหนดมาตรการการควบคุมเพื่อลดความเสี่ยง
4.3 จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานกรณีบริษัทประกันวินาศภัยมีฐานะหรือการดำเนินการในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัยได้ทันเหตุการณ์

5.มาตรการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้เอาประกันภัยเชิงรุก
5.1 จัดตั้งศูนย์ให้คำแนะนำ รับเรื่องร้องเรียนและอำนวยความสะดวกในกรณีกรมธรรม์ประกันภัยมีจำนวนการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนมาก โดยใช้ระบบแพลตฟอร์มการรับเรื่องร้องเรียนที่เชื่อมโยงทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
5.2 บูรณาการระหว่างสายงานต่าง ๆ เพื่อให้ข้อมูลกับประชาชนผู้สอบถามโดยใช้ระบบ chatbot และสายด่วน 
คปภ. 1186 รวมทั้งจัดทำคำถามคำตอบ ทำความเข้าใจสถานการณ์ และประชาสัมพันธ์มาตรการช่วยเหลือผู้เอา
ประกันภัย ตลอดจนให้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกัน

6.การจัดทำ Consolidation Plan ของธุรกิจประกันภัยไทย 
6.1 ยกเลิกเงื่อนไข “บริษัทประกันภัยที่ตั้งใหม่ จะต้องไม่มีความสัมพันธ์ในเชิงการถือหุ้น กรรมการ และการ
บริหารกับบริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันวินาศภัยที่มีอยู่เดิม เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี โดยอนุมัติ
คณะรัฐมนตรี” ในประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการจัดตั้งบริษัท พ.ศ. ๒๕๓๘ เพื่อลดอุปสรรคในการดำเนินการควบ
รวม หรือโอนกิจการระหว่างบริษัทประกันภัยที่จัดตั้งตามประกาศฯ กับบริษัทประกันภัยที่มีอยู่เดิม
6.2 เร่งดำเนินการตามโครงการศึกษาและเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมประกันภัยปรับเปลี่ยน
องค์กร (Transformation) เป็น Digital Insurance ซึ่งมีประเด็นการเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจประกันภัยด้วย