หวัง EEC แรงขับอสังหาฯฟื้น หวั่นสินเชื่อ“เงินทอน”เสี่ยงNPL

หวัง EEC แรงขับอสังหาฯฟื้น  หวั่นสินเชื่อ“เงินทอน”เสี่ยงNPL

เมกะโปรเจกต์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นการผลักดันตามนโยบายจากภาครัฐ ที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวล้ำสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคง และเป็นหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน

ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ใน 3 จังหวัดพื้นที่ EEC ทั้งจ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง มีการลงทุนและเติบโตขึ้นของปริมาณที่อยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่อง มีผู้ประกอบการรายใหญ่จะส่วนกลางเข้ามาขยายตลาดในอีอีซีจำนวนมาก โดยเฉพาะจ.ชลบุรี ที่ขนาดของภาคอสังหาริมทรัพย์ทั้งในด้านการลงทุน มูลค่าโครงการ และจำนวนสินค้ารอการขายที่เป็นรองจากกรุงเทพฯ

อย่างไรก็ดี ประเด็นความอ่อนไหวทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีแนวโน้มเติบโตต่ำมาอย่างต่อเนื่อง และถูกซ้ำเติมด้วยการระบาดของโควิด-19 มีผลให้ภาคอสังหาฯ ในภูมิภาค ถูกกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ และนโยบายความเข้มงวดของสถาบันการเงินที่ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา

โดยความก้าวหน้าการพัฒนาโครงการ EEC ว่า ในช่วง 3 ปีเศษ ทางภาครัฐมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยในกรอบระยะเวลา 5 ปีนั้น มูลค่าการลงทุนในอีอีซี ทั้งจากภาครัฐและเอกชนจะมีมูลค่าประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท สิ่งเหล่านี้เป็นการยืนยันว่า 4 ปี รัฐบาลมีการลงทุนและเอกชนลงทุนบางส่วน รวมเป็นเงิน 1.5 ล้านล้านบาท เป็นการสร้างความมั่นใจยังมีการขับเคลื่อน EEC ให้ไปต่อ เพียงแต่ผลจากโควิด-19 ก็ทำให้มีผลกระทบต่อโครงการในส่วนที่จะดึงเงินลงทุนมาจากต่างประเทศ เนื่องจากไม่สามารถเดินทางมายังประเทศไทยได้

ทั้งนี้ ทาง EEC เดิมได้มีการกำหนด 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายในการเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยแต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีการปรับแผนเล็กน้อย โดยมีการสร้าง 3 แกนนำ (EEC Key Industry Focus) ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง Digital & Emerging Technology, Intelligent Logistics และ Health and Wellbeing ที่กำลังมาแรง และภาคอสังหาริมทรัพย์ในหลายบริษัทกำลังวางแผนในเรื่องของโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อสุขภาพ ทั้งนี้ ในแผนมีการประกาศเขตพัฒนาพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ 6 เขต ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมและสะสมเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาบุคลากรที่เพิ่มขึ้น ตามแนวทางแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 10% ตามหลักเกณฑ์ของบีโอไอ

โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 มูลค่าการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนตัวเลขยังได้ตามเป้าที่ 120,000 ล้านบาท แม้จะเจอเรื่องของโควิด-19 แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ดังกล่าวที่อยู่ในเขตส่งเสริมยังได้รับความน่าสนใจจากนักลงทุนซึ่งในปี 2564 แนวทางที่จะดำเนินการ คือ การให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาเมืองในพื้นที่ EEC โดยจะเป็นส่วนของเมืองบริเวณรอบสนามบินอู่ตะเภา รัศมี 30 กิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ในอู่ตะเภา 6,500 ไร่ จะทำกิจการและการลงทุนที่เกี่ยวกับการบิน พื้นที่โดยรอบสนามบินอู่ตะเภา หรือที่เรียกว่า Eastern Aerotropolis จะมีการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

“เรื่องที่ต้องต่อไปในปีหน้า ซึ่งเราอยากเห็น คือ Smart City หรือเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ จะช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่อาจจะมีผลเรื่องของราคา ดังนั้น รัฐต้องเข้ามาช่วยต่อเนื่องเพื่อให้ราคาลง ไม่งั้นประชาชนอาจจะซื้อที่อยู่อาศัยไม่ไหว รับไม่ได้”

ทั้งนี้ 3 จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ของ EEC นั้น ได้ถูกกำหนดเป้าหมายที่แตกต่างกัน โดยจ.ฉะเชิงเทรา จะเป็นเมืองน่าอยู่ เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ เชื่อมโยงกับเพื่อบ้าน จ.ชลบุรี เมืองท่องเที่ยว เชิงคุณภาพและการศึกษา เป็นศูนย์กลางทางการเงินและการวิจัยและพัฒนาภายใน 10 ปี และจ.ระยอง เมืองนวัตกรรม การวิจัยและพัฒนาและการท่องเที่ยว

“เท่าที่คุยกับภาคเอกชนนั้น พบว่า จะมีการลงทุนและใส่เทคโนโลยีเข้าในเมืองเดิม และเมืองใหม่ หรือที่สถานีรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน จะเกิดในพื้นที่ตั้งแต่จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และสนามบินอู่ตะเภา ทำให้เมืองรอบสนามบินและเมืองรอบสถานีรถไฟความเร็วสูง รวมถึงพื้นที่โดยรอบของเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) และเขตส่งเสริมนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) และเขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร สามารถพัฒนาและขอรับสิทธิประโยชน์ได้”