“กรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์” ทรานส์ฟอร์ม “แอสเซทไวส์” สู่ “ดิจิทัลแอสเสท”

“กรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์” ทรานส์ฟอร์ม “แอสเซทไวส์” สู่ “ดิจิทัลแอสเสท”

การแทรกตัวเข้ามาในตลาดคอนโดไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ “กรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์” ซีอีโอ แอสเซทไวส์ สามารถค้นหาช่องว่างตลาดแจ้งเกิด "เคฟ" คอนโดมิเนียมใกล้สถานศึกษาได้สำเร็จจนกลายเป็นเจ้าพ่อแคมปัสคอนโดล่าสุดได้ทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ “ดิจิทัลแอสเสท”

ตลอดเส้นทาง 17 ปี ของ แอสเซทไวส์ “กรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้บุกเบิก เดินเกมสวนทางกับดีเวลลอปเปอร์อื่น ด้วยการวางตำแหน่งเป็นอสังหาริมทรัพย์สำหรับ “เน็กซ์ เจนเนอร์เรชั่น” เริ่มจากการเลือก “ทำเล” ที่ยังมี “ช่องว่าง” ในการพัฒนาโครงการ ที่คู่แข่งน้อย โดยเฉพาะทำเลใกล้กับสถานศึกษาและมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็น จุดแข็ง! ของแอสเซทไวส์

“กรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์” ทรานส์ฟอร์ม “แอสเซทไวส์” สู่ “ดิจิทัลแอสเสท”

ไม่ว่าจะเป็น เคฟคอนโด เคฟทาวน์ สเปซ และ เคฟทาวน์ ชิฟท์ ทำเลรังสิตใกล้มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ เคฟทียู ตรงข้ามธรรมศาสตร์ รังสิต ซึ่งเป็นคอมมูนิตี้ที่มีนักศึกษากว่า 40,000 คน หรือล่าสุดโครงการเคฟ ศาลายา ใกล้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ที่มีนักศึกษากว่า 20,000 คน

  “ตลาดแคมปัสคอนโด ถือเป็นบลูโอเชียลเพราะมีกำลังซื้อใหม่เข้ามาเติมทุกปี จากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ซื้อให้บุตรหลานพักอาศัยช่วงเรียน ที่ได้ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสบายในโครงการ ไม่ว่าจะเป็นห้องดูหนัง ห้องเล่นเกมวีอาร์ ห้องคาราโอเกะ มีพื้นที่โคเวิร์กกิ้ง สเปซ ที่กว้างขวางหลากหลายดีไซน์ สำหรับอ่านหนังสือ ทำกิจกรรมพักผ่อนระหว่างเรียน สระว่ายน้ำขนาดใหญ่ และความปลอดภัย ต่างจากอพาร์ทเม้นต์ แถมยังสามารถลงทุนซื้อปล่อยเช่า ได้ผลตอบแทน 6-10% แล้วแต่ทำเล”

ขณะเดียวกัน ได้สร้างแบรนด์ตามคาแรคเตอร์ลูกค้า โดยจะแบ่งกลุ่มสินค้าตามไลฟ์สไตล์แบรนด์ เพื่อสร้างคาแรคเตอร์ที่ชัดเจนและแตกต่างในแต่ละโครงการ คอนโดมีเนียม มี 3 แบรนด์เรือธง ได้แก่ “โมดิซ” เป็นแบรนด์คอนโดสไตล์โมเดิร์น เน้นการเชื่อมต่อการเดินทางที่สะดวกสบายบนทำเลแนวรถไฟฟ้า พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกรวมถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ เพื่อให้ตอบรับกับทุกไลฟ์สไตล์ของคนเมือง

 

ถัดมา “แอทโมซ” แบรนด์คอนโดมิเนียมสไตล์ รีสอร์ท รองรับกลุ่มคนทำงาน โดยได้ดึง มิสยูนิเวิร์ส ไทยแลนด์ 2020 “อแมนด้า ชาลิสา ออบดัม” มาเป็นพรีเซ็นเตอร์หนังโฆษณา เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์แบรนด์ที่โดนใจคนรุ่นใหม่วัยทำงาน และ “เคฟ” แบรนด์คอนโดมิเนียมใกล้สถานศึกษา มีการออกแบบดีไซน์พื้นที่ที่มีเอกลักษณ์รองรับทุกไลฟ์สไตล์ของเจนซี

“กรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์” ทรานส์ฟอร์ม “แอสเซทไวส์” สู่ “ดิจิทัลแอสเสท”

กรมเชษฐ์ ระบุว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแอสเซทไวส์ “ปรับตัว” รองรับการแข่งขันและสถานการณ์ที่เป็นปัจจัยลบที่เข้ามากระทบอย่างโควิด ตั้งแต่ในปี 2563 จนถึงปัจจุบัน หลังจากโควิดคลี่คลายในระยะสั้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะค่อย ๆ ฟื้นตัว แต่ผู้คนก็ยังคงมีความกังวลเรื่องโรคระบาดอยู่ฉะนั้นอสังหาฯอาจจะต้องปรับตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

“กรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์” ทรานส์ฟอร์ม “แอสเซทไวส์” สู่ “ดิจิทัลแอสเสท”

พร้อมกับการปรับดีไซน์เพื่อรองรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป อาทิ พื้นที่ส่วนกลาง (COMMON AREA) ต้องมากขึ้นเพื่อรองรับการทำงานที่บ้าน และในห้องต้องมีฟังก์ชั่นที่สามารถทำงานที่บ้านได้ อุปกรณ์ต่าง ๆ มีการทำความสะอาดเยอะขึ้นเพราะเรื่องสุขอนามัยกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจมากขึ้น ทำให้ต้องมีฟังก์ชั่นที่ตอบโจทย์สุขอนามัยมากขึ้น

  “หลัก ๆ โฟกัสที่การพัฒนาโครงการและบริการต่าง ๆ ออกมาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่คุ้มค่า ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เข้ามาช่วยเรื่องการขายและดูแลลูกค้ายุคนี้ต้องการบริการที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์”
 

เพราะตัวเร่งหลักคือ “โซเชียลมีเดีย” ทำให้โลกแคบลง การปฏิสัมพันธ์ผ่านมือถือผ่านไลน์ทำให้ทุกอย่างรวดเร็ว วันนี้ถ้าลูกค้าอินบ็อกซ์มาถาม หากครึ่งชั่วโมงแล้วไม่ตอบ ลูกค้าไปเว็บไซต์คู่แข่งแล้ว ฉะนั้นผู้ประกอบการต้องปรับตัวรับกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป

ขณะเดียวกันก็ต้องการพัฒนาโซลูชั่นที่เกี่ยวกับสุขภาพหรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น เช่น แอพฯ เรียกแม่บ้านทำความสะอาดห้อง ช่างซ่อม รวมทั้งการฝากซื้อฝากขายฝากเช่า หาคอนโดทางเว็บไซต์ทำให้ลูกค้าสามารถหาที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น

  “วิกฤติครั้งนี้เราจะเห็นได้ว่าธุรกิจที่แข็งแกร่งไม่ได้วัดกันตอนที่สถานการณ์ปกติ  ยอดขายดี หรือ ยอดกำไรเติบโตไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าบริษัทแข็งแกร่งอีกแล้ว เพราะขณะมีวิกฤติบริษัทที่แข็งแกร่งคือบริษัทที่สามารถรับมือวิกฤติ ดูแลพนักงาน ลูกค้า คู่ค้าได้และยังเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งในอนาคต เชื่อว่า วิกฤติครั้งนี้เป็นวัคซีนที่ดีในการทำธุรกิจ”

พร้อมกันนี้ แอสเซทไวส์ ได้ทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ “ดิจิทัลแอสเสท” เพื่อเพิ่มช่องทางในการรับเงินรูปแบบใหม่จากนิวเจน ด้วยการตั้งบริษัท ดิจิโทไนซ์ จำกัด ดูแล เพื่อรองรับ“โอกาส”ในอนาคต

“กรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์” ทรานส์ฟอร์ม “แอสเซทไวส์” สู่ “ดิจิทัลแอสเสท”

  “เราต้องการทำองค์กรให้ไดนามิกส์ เพราะปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนแปลงเร็วจึงต้องปรับตัวตลอดเวลา ยิ่งองค์กรใหญ่ ๆ ยิ่งต้องไดนามิกส์ เพราะว่าถ้าคุณไม่ทำคุณก็ยิ่งช้าจะไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้”

กรมเชษฐ์ กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ได้นำมาปรับใช้ในช่วงเกิดวิกฤติครั้งนี้ อันดับแรก  เน้นคอนเซอร์เวทีฟ ไม่รีบเร่งลงทุน หรือขยายธุรกิจแบบก้าวกระโดด ลงทุนอย่างระแวดระวังซึ่งเป็นนิยามการทำธุรกิจแบบดังเดิม ทุกอย่างก่อนที่จะเดินหน้าต้องศึกษาข้อมูลอย่างดี การบริหารเงินสด ให้มีกระแสเงินสดที่ดี มีสภาพคล่องท่ามกลางความไม่แน่นอน ซึ่งเป็นคลาสสิกเคสของการทำธุรกิจ การบริหารบุคคลากรและผลักดันให้เกิดทีมเวิร์คเพื่อนำไปสู่วัฒนธรรมการทำงานที่ดีและที่สำคัญก็คือการมีคู่ค้าดีเพราะธุรกิจทำคนเดียวไม่ได้

ในช่วงวิกฤติที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านนั้น กรมเชษฐ์ ระบุว่า จะยังคง “โฟกัส” ธุรกิจเดิมที่ถนัดคืออสังหาฯเพื่อขาย เนื่องจากในแต่ละธุรกิจมีเจ้าตลาดที่มีความถนัดอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ใช่อยู่ดีเห็นโอกาสแล้วไปซื้อมาทำ เพราะแต่ละธุรกิจต้องมีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการ ฉะนั้นการเข้าไปในธุรกิจใหม่ต้องมีองค์ประกอบและความพร้อมก่อน

“กรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์” ทรานส์ฟอร์ม “แอสเซทไวส์” สู่ “ดิจิทัลแอสเสท”

ฉะนั้น สิ่งที่แอสเซทไวส์ต้องหาเพื่อขยายธุรกิจในอนาคตข้างหน้าจะเป็นธุรกิจที่ส่งเสริมธุรกิจเก่าหรือแตกไลน์ไปเลยเพราะวิกฤติครั้งนี้ทุกคนรู้แล้วว่า ถ้าทำธุรกิจเดียว มีแหล่งรายได้เดียวเป็นความเสี่ยงเวลาเกิดวิกฤติขึ้นมาจะผลกระทบทำให้ธุรกิจหลักเสียหาย ฉะนั้นการหาธุรกิจใหม่จะเป็นเทรนด์หรือโอกาสในอนาคตต้องดำเนินการหารายได้สำรอง

“เส้นทางของแอสเซทไวส์ในทศวรรษนี้ยังคงอยู่ที่อสังหาริมทรัพย์ซึ่งเราทำได้ดี ตัวเลขต่าง ๆ ปรู๊พแล้วว่าเราสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดี มีความเข้าใจลูกค้า สิ่งที่ดีที่สุดก็คือทำสิ่งที่ถนัดและรักทำให้ดีก่อนแล้วหาโอกาสอื่นเข้ามาเสริม อาจมีธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และธุรกิจที่ไม่เกี่ยวเนื่องในอนาคต เมื่อพ้นวิกฤติแล้วเราจะไปค้นหาเพื่อหาโอกาสใหม่”

จากประสบการณ์ในการเผชิญวิกฤติที่เกิดขึ้นทำให้เห็นว่า เราจะรับมือมันอย่างไร! ไม่ใช่มีวิกฤติแล้วตื่นตระหนก “สติ” ต่างหากที่ต้องตั้งหลักว่าจะรอดพ้นไปได้ 

“ส่วนใครจะดาวน์สเกลก็ไม่ผิด แล้วแต่กลยุทธ์ของผู้บริหาร ไม่ได้บอกว่าการเลย์ออฟผิด ถ้ารอดจากวิกฤติกลับมารับพนักงานใหม่ก็ได้ มีกระบวนการ วิธีการหลายอย่างในการรับมือวิกฤติ ขอให้แค่มีสติ เพราะวิกฤติโควิดครั้งนี้ก็เป็นอีกเพียงหนึ่งวิกฤติ ในอนาคตต้องเตรียมพร้อมรับมือวิกฤติครั้งใหม่!”  กรมเชษฐ์ กล่าวทิ้งท้าย