ส่อง 9 เทรนด์โลก ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยใน 5 ปีข้างหน้า

ส่อง 9 เทรนด์โลก ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยใน 5 ปีข้างหน้า

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแผนที่มีความสำคัญของประเทศที่เป็นเหมือน “เข็มทิศ” หรือ “หางเสือ” ที่จะกำหนดทิศทางของแผนงานอื่นๆของหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคธุรกิจ ในระยะ 5 ปีข้างหน้า เมกะเทรนด์โลกที่จะกำหนดทิศทางของแผนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ

ขั้นตอนในการจัดทำแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในวงกว้าง รวมทั้งผ่านการกลั่นกรองจากคณะผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากกว่าที่จะได้แผนชาติที่กำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

ในการจัดทำแผนประเด็นหนึ่งที่ต้องมีการวิเคราะห์ก็คือบริบทของการพัฒนาซึ่งไม่เพียงแต่ติดตามแนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้นในประเทศเท่านั้น แต่ยังติดตาม “เทรนด์” สำคัญๆที่จะเกิดขึ้นในระดับโลกหรือที่เรียกว่า “Global Megatrend” โดยในร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ได้มีการบรรจุเรื่องของเมกะเทรนด์ในระดับโลกซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่างๆรวมทั้งประเทศไทยไปอีกอย่างน้อย 5 ปี ตามระยะเวลาการใช้แผนฯที่ครอบคลุมระยะเวลา 5 ปีระหว่างปี 2565 – 2570

“กรุงเทพธุรกิจ” สรุปประเด็นสำคัญของ Global megatrend ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 13 จำนวน 9 ข้อที่ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับนี้

1.ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  ปัจจุบันโลกอยู่ในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของการพัฒนานวัตกรรม เน้นการต่อยอดเทคโนโลยีสาขาต่างๆ แล้วผนวกเข้าด้วยกัน เช่น เทคโนโลยีทางกายภาพ ชีวภาพ ดิจิทัล และพลังงานเพื่อเอามาใช้ประโยชน์ในภาคส่วนต่างๆอย่างกว้างขวางในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างได้อย่างรวดเร็วนี้ส่งผลให้พลวัตการพัฒนาในอนาคตของโลกสามารถปรับเปลี่ยนไปได้อย่างพลิกผัน นำมาซึ่งโอกาสสำคัญ ทั้งทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ที่มีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดและนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ในขณะที่ผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อความอยู่รอด

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่คาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ประกอบด้วย

  • การเติบโตของเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม และเศรษฐกิจแบบแบ่งปันที่จะส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจในภาคบริการ เช่น การคมนาคมและโลจิสติกส์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และที่พักอาศัย รวมถึงการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย ประชากรในพื้นที่ห่างไกล และการทำงานในรูปแบบใหม่

 

  • การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ที่ช่วยยกระดับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนมหาศาลที่มีความซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพลิกโฉมการดำเนินธุรกิจ และการออกแบบนโยบายสาธารณะ การพัฒนาและใช้งานข้อมูลขนาดใหญ่จะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องมีมาตรฐานการจัดเก็บและเชื่อมโยงฐานข้อมูลผ่านเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ IoT และบล็อกเชน และการมีบุคลากรที่มีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม เช่น เหมืองข้อมูล และการเรียนรู้

 

  • การใช้ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการทดแทนแรงงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะชับซ้อนในภาคการผลิต (อุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี และอิเล็กทรอนิกส์) ภาคการเกษตร และภาคบริการ (กลุ่มร้านอาหารและร้านค้า)

 

​​​2.การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร โครงสร้างประชากรของโลกมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยองค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่าภายในปี 2593 ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจะเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยกว่า 20% จนมีจำนวนรวมถึง 1.5 พันล้านคน ส่งผลให้สัดส่วนประชากรวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลงในเกือบทุกประเทศ โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก และมีแนวโน้มที่ประชากรผู้สูงอายุจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกราว 312 ล้านคน

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลกสู่สังคมสูงวัยจะนำมาซึ่งโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ จากความต้องการสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งผลให้ภาคการผลิตและบริการส่วนหนึ่งมีโอกาสเติบโตเพิ่มขึ้น เช่น ยาและเวชภัณฑ์ อาหารเพื่อสุขภาพ ธุรกิจบริการสุขภาพ บริการทางการแพทย์ และศูนย์พักพิงผู้สูงอายุ รวมทั้งยังเป็นช่องทางในการพัฒนานวัตกรรม สินค้า และบริการใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มสูงวัย เช่น หุ่นยนต์สำหรับการดูแลและนวัตกรรมของใช้ภายในบ้านสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น

3.การดูแลรักษาสุขภาพและการรักษาพยาบาล แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลกที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในระยะ 10 ปีข้างหน้า ประกอบด้วย

  • การเพิ่มขึ้นของการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อันเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในสังคมเมืองสมัยใหม่ตลอดจนการเผชิญกับมลพิษจากการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของระดับความเครียดจากการทำงานและความวิตกกังวลในการใช้ชีวิต โดยมีสถิติผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นจำนวนถึง 41 ล้านคนต่อปี หรือคิดเป็น 71% ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก และเป็นสาเหตุหลักของของการเสียชีวิตของคนไทยถึง 75% หรือประมาณ 320,000 คนต่อปี โดยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบมากที่สุด คือ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคทางเดินหายใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมักเป็นโรคที่รักษายาก มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง หากไม่มีการจัดการที่เหมาะสม จะเกิดเป็นภาระต่อสถานะทางการเงินของผู้ป่วยและเป็นภาระทางการคลังของประเทศในระยะยาว

 

  • กระแสความตระหนักในการดูแลสุขภาพในเชิงป้องกัน ที่เพิ่มมากขึ้นจากการที่ประชากรโลกมีความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นอันมาพร้อมกับการศึกษาและความแพร่หลายของสื่อออนไลน์ เป็นผลให้ความต้องการอาหารและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ รวมถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นรวมทั้งความตื่นตัวในการป้องกันโรคติดต่อที่สืบเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา เป็นแรงกดดันให้ผู้ประกอบการด้านอาหาร บริการสุขภาพ และการท่องเที่ยว จำเป็นต้องยกระดับมาตรฐานด้านความสะอาดและสุขอนามัยในการให้บริการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

 

  • ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการรักษาพยาบาล จากเทคโนโลยีดิจิทัลที่ก้าวหน้าและการเพิ่มขึ้นของความต้องการบริการทางการแพทย์ ได้กระตุ้นให้เกิดการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการให้บริการสาธารณสุข เช่น การตรวจวินิจฉัยและเฝ้าระวังสุขภาพผ่านโทรศัพท์มือถือ แอปพลิเคชัน และอุปกรณ์สำหรับสวมใส่ที่มีเซ็นเซอร์หรือเทคโนโลยีตรวจวัดสุขภาพ เช่น การวัดความดัน วัดระดับน้ำตาลในเลือด และคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น ในขณะเดียวกัน การจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ มาใช้ประโยชน์ควบคู่ กับการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในการจัดการข้อมูลในเชิงชีวสารสนเทศ จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการติดตาม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสาธารณสุข ทั้งเพื่อการบริหารจัดการคลังย วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ และการควบคุมโรคระบาดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ความก้าวหน้าของการวิจัยในด้านพันธุกรรมและจิโนมิกส์ ยังสนับสนุนให้เกิดการรักษาพยาบาลที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นโอกาสใหม่สำหรับบริการทางการแพทย์ในอนาคต

 

4.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงขึ้น คาดว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอาจเพิ่มสูงขึ้นจากระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 1.5 องศาเซลเซียสภายใน พ.ศ. 2573 - 2595 ส่งผลให้หลายภูมิภาคต้องเผชิญกับความผันผวนของภูมิอากาศในระดับความรุนแรงที่มากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น เช่น คลื่นความร้อน ภาวะฝนทิ้งช่วง ภัยแล้ง และพายุ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ อันจะสร้างความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจคาดการณ์ว่าความเสียหายอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะมีมูลค่าถึง 1.0 - 3.3 % ของผลผลิตมวลรวมของโลก ภายใน พ.ศ. 2603 และมูลค่าความเสียหายจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 – 10%  ภายใน พ.ศ. 2643 หากไม่มีการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

โดยภาคการเกษตรจะได้รับความเสียหายมากกว่าภาคการผลิตอื่นเนื่องจากต้องพึ่งพาสภาพอากาศและฤดูกาลตามธรรมชาติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลให้ปริมาณผลผลิตทางกรเกษตรลดลง ระยะเวลาการให้ผลผลิตเปลี่ยนแปลงไป หรือพื้นที่เกษตรในบางพื้นที่อาจไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้จากผลกระทบของภัยแล้งที่ยาวนานหรือน้ำท่วมซ้ำซาก อันจะส่งผลกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้น้อย

ในขณะเดียวกัน สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปยังส่งผลทำให้การแพร่ระบาดของโรคตามฤดูกาลมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น รวมทั้งยังเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติช้ำในหลายพื้นที่ของโลก

เนื่องจากอากาศร้อนทำให้พาหะนำโรคติดต่อบางชนิดเพิ่มจำนวนเร็วขึ้น โดยเฉพาะยุง แมลงวัน และหนู ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคมีผลกระทบต่อสังคม ทั้งในมิติของสุขอนามัยประชาชน ชุมชนและเศรษฐกิจครัวเรือน นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศยังส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงและปริมาณออกชิเจนที่ละลายน้ำลดลง เกิดการสูญเสียทรัพยากรชายฝั่งจาก การกัดเชาะที่รุนแรง และจำนวนสัตว์ทะเลลดลงจากการที่ทะเลมีความเป็นกรดสูงขึ้น อีกทั้งพื้นที่ ราบใกล้ชายฝั่งทะเลจะถูกน้ำทะเลท่วม สร้างความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน ส่งผลให้ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่น้ำท่วมต้อง อพยพย้ายถิ่นฐาน โดยกลุ่มคนผู้มีรายได้น้อยจะเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความสามารถในการปรับตัวต่ำ และอาจไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาใช้ชีวิตได้ดังเดิม

5.ความพยายามระดับโลกในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามความตกลงปารีสที่ประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญากรอบการทำงานแห่งสหประชาชาติ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) จำนวน 197 ประเทศ ได้มีมติเห็นชอบร่วมกันที่จะจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยการควบคุมให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 และ 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี พ.ศ. 2572 ได้นั้นจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกลง 25% และ 55% เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2561 และหากจะควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเชียส ในปี พ.ศ. 2593 พบว่าจะต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของโลกลงเป็นศูนย์

ที่ผ่านมา ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมของประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย ในขณะที่ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกและในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว จึงมีความเป็นไปได้ที่ประเทศกำลังพัฒนาจะถูกกดดันมากขึ้นในอนาคตเพื่อให้มีการดำเนินการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง

ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ได้ตั้งเป้าว่าจะบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในช่วงปี พ.ศ. 2593 - 2603 เช่น อาร์เจนตินา บราชิล แคนาดา ชิลี จีน และสหราชอาณาจักร

6.พลังงานหมุนเวียนและยานยนต์ไฟฟ้า กระแสความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี แบตเตอรี่ ได้สร้างแรงกดดันให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและใช้ทรัพยากร

ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในสาขาการผลิตที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ สาขา พลังงาน และสาขาการคมนาคมขนส่ง ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาการผลิตฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

รวมทั้งมีการคิดค้นการพัฒนายานยนต์สมัยใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าจากแบตเตอรี่หรือเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเพื่อตอบสนองความต้องการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกและการใช้งานยานยนต์สมัยใหม่ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก โดยในปี 2562 ตันทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก ประกอบด้วย พลังงานชีวภาพ พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม มีแนวโน้มลดต่ำลงอยู่ในระดับที่เทียบเท่าหรือต่ำกว่าตันทุนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสชิล และคาดว่าพลังงานหมุนเวียนจะมีต้นทุนรวมลดลงต่ำกว่าตันทุนการผลิตแบบดั้งเดิมภายในปี 2570

ทั้งนี้ พบว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในปี 2563 การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนคิดเป็นสัดส่วนสูงกว่า 1 ใน 4 ของพลังงานทั้งหมดของโลก3 และมีสัดส่วนการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตถึง 3 ใน 4 ของการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของโลก

อีกทั้ง ยังพบว่าแนวโน้มการใช้พลังงานในด้านคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะในส่วนของยานพาหนะส่วนบุคคล ในปี 2563 มีปริมาณการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกเติบโตสูงขึ้นถึง 40% ต่อปีและคาดว่ายานยนต์ไฟฟ้าจะมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 1 ใน 3 ของโลกภายใน 10 ปีข้างหน้า และมีอย่างน้อย 18 ประเทศ/เขตปกครอง ที่มีแผนในการระงับการจำหน่ายยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและสนับสนุนให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้งานยานพาหนะทางเลือกอย่างยานยนต์ไฟฟ้าภายในปี พ.ศ. 2593 เช่น นอร์เวย์ ญี่ปุ่น สวีเดน แคลิฟอร์เนีย ไต้หวัน และอิสราเอล เป็นต้น

7.เศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดของ ประเทศในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีนที่คาดว่าจะมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกภายในระยะเวลา 10 ปี จะมีบทบาทในการกำหนดระเบียบเศรษฐกิจการเมืองโลกมากขึ้น จนนำมาสู่สถานการณ์ที่อยู่ภายใต้แรงกดดันระหว่างขั้วอำนาจใหม่ทางตะวันออกกับขั้วอำนาจดั้งเดิมอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังคงมีแนวโน้มที่จะดำเนินนโยบายและมาตรการกีดกันทางการค้าและเทคโนโลยีต่อประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง

โดยคาดว่าสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจจะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและจะส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากห่วงโช่มูลค่าโลกมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงใกล้ชิดกับมหาอำนาจทั้งสองประเทศดังกล่าว ในขณะเดียวกันแนวโน้มความตึงเครียดระหว่างจีนและอินเดีย จากความพยายามในการขยายชอบเขตอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนในภูมิภาคผ่านกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP อาจส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจการค้าการลงทุนทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกด้วยเช่นกัน โดยคาดว่าอินเดียจะเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดภายในปี พ.ศ. 2570 และมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นลำดับต้นของโลก

ซึ่งความตึงเครียดระหว่างจีนและอินเดียดังกล่าวอาจส่งผลต่อรูปแบบความร่วมมือและการสร้างพันธมิตรในระดับภูมิภาค รวมถึงธรรมเนียมปฏิบัติและกติการะหว่างประเทศที่ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องการค้า เทคโนโลยี ความมั่นคงทางไซเบอร์ จนถึงเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการดำเนินงานด้านภูมิอากาศที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วย

โดยพบแนวโน้มที่สำคัญเกี่ยวกับประเด็นด้านความมั่นคงทางสาธารณสุขที่กลายเป็นสมรภูมิของภูมิศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ จากการใช้ยุทธศาสตร์การทูตวัคซีนที่เข้มข้นขึ้น ทั้งในลักษณะของนโยบายชาตินิยม ที่มีการกว้านซื้อ กักตุน และกีดกันการส่งออกวัคซีนไปยังประเทศต่าง ๆ เพื่อให้ประเทศตนได้รับวัคซีนก่อนหรือการใช้วัคซีน ยา รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นในช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดทั่วโลก เป็นเครื่องมือแสดงอิทธิพลในเวทีการเมืองโลก ทั้งเพื่อการสานสัมพันธ์ ตอกย้ำความเป็นพันธมิตร หรือกระทั่งการกีดกันเพื่อกดดันชาติที่มีข้อพิพาทต่อกันอยู่เดิมของประเทศที่มีอำนาจต่อรองเหนือชาติอื่นซึ่งมาพร้อมกับความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริตข้ามชาติเพิ่มขึ้นด้วย

ประเด็นความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งที่มีมูลเหตุจากการขัดกันของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และอิทธิพลทางการเมือง นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศแบบพหุภาคี สร้างภาวะกดดันต่อการแสดงบทบาทขององค์กรระหว่างประเทศ

แนวโน้มในการเข้าแทรกแชงทางเศรษฐกิจของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นเพื่อพยุงสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศ อันเป็นผลเนื่องมาจากการได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยพบการใช้เครื่องมือทั้งทางการเงินและการคลัง ส่งผลให้เกิดภาวะการก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยรัฐบาลจำนวนมากจะอยู่ในสถานะขาดดุลงบประมาณ และเกิดแรงผลักดันให้หลายประเทศเลือกดำเนินนโยบายพึ่งพาตนเอง จนกระทั่งการดำเนิน นโยบายชาตินิยมที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงภายใน เช่น เทคโนโลยีอาหาร พลังาน การแพทย์ และอุตสาหกรรมภาคการผลิต

8.ความเปราะบางทางสังคม แนวโน้มสำคัญซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อวิถีทางสังคมในอนาคตมีพื้นฐานมาจากความแตกแยกในสังคมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความเหลื่อมล้ำ ประกอบกับผลจากภาวะ เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ส่งผลให้คนจำนวนมากขาดความเชื่อถือในการบริหารจัดการภาครัฐ จนเกิดเป็นกระแสความไม่พอใจในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่ที่แสดงออกถึงความไม่พอใจในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลจากการกระทำของคนรุ่นก่อนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ความไม่เป็นธรรมในสังคม ความสามารถของรัฐในการจัดการปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ โดยจะพบสถานการณ์ความไม่สงบในรูปแบบที่รุนแรงขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น

มีการสร้างข่าวปลอมและเผยแพร่ข้อมูลเท็จที่แนบเนียนขึ้นด้วยการใช้สื่อสังคมบั่นทอนความเชื่อมั่นต่อภาครัฐ บ่มเพาะความคิดในกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้ต่อต้านสถาบันการปกครองเดิม จนเกิดเป็นกระแสนิยมในการไม่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในรูปแบบต่าง ๆ กระทั่งขัดขวางการดำเนินงานของรัฐ จนถึงขั้นปลุกระดมให้เกิดความรุนแรงโดยอ้างความชอบธรรมของประชาชน ตอกย้ำความแตกแยกทางสังคมระหว่างผู้ที่มีความเห็นแตกต่าง ซึ่งเป็นการลดคุณค่าของเสรีภาพ การสื่อสารสาธารณะ ประชาสังคม และหลักนิติธรรมให้อ่อนแอลง

ส่งผลให้ขาดเสถียรภาพทางการเมือง และคาดการณ์สถานการณ์การดำเนินนโยบายและนิติบัญญัติได้ยากซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นทั่วโลกในระยะ 10 ปีนี้

 

9.อนาคตของงาน โลกแห่งการทำงานในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรโลก เนื่องจากสัดส่วนประชากรวัยแรงงานส่วนใหญ่ซึ่งจะมีบทบาทโดดเด่นในอนาคตจะเป็นกลุ่มประชากรเจนเนอเรชั่นวายที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2523 – 2543 ที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล และมีทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากคนรุ่นก่อน

โดยมีคุณลักษณะในการปรับตัวในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เน้นความยืดหยุ่นและความสมดุล ระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว เพื่อตอบสนองความต้องการและความสนใจของตนมากกว่าเป้าหมายด้านความมั่นคงในอาชีพ' มีค่านิยมที่ต้องการค้นหาโอกาสและความท้าทายใหม่ ๆ จะส่งผลให้มี อัตราการเปลี่ยนงานและการย้ายถิ่นฐานสูงขึ้น จึงคาดว่าจะส่งผลให้การจ้างงานในระยะต่อไปมีรูปแบบ ที่หลากหลายมากขึ้น โดยมีแนวโน้มว่าจะมีการจ้างงานที่มิใช่รูปแบบมาตรฐานเพิ่มมากขึ้น

เช่น การจ้างานชั่วคราว การจ้างงานบางช่วงเวลา การจ้างงานตามความต้องการ และงานอิสระ ควบคู่ไปกับรูปแบบใหม่

ในการทำงาน เช่น การทำงานทางไกล การทำงานจากบ้านหรือจากที่อื่น ๆ ผ่านระบบออนไลน์ โดยอยู่ภายใต้ชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น 2 ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความสมดุลในชีวิต รวมไปถึงช่วยลดผลกระทบจากภาวะวิกฤติที่กระทบต่อความสามารถในการเดินทางไปทำงาน สอดคล้องกับการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจแบบ Gig Economy และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตใหม่ ๆ นำไปสู่การขยายโอกาสการมีส่วนร่วม ในกำลังแรงงานและเป็นแหล่งรายได้เสริม อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อาจส่งผลให้เกิดการขยายตัว ของแรงงานนอกระบบ ซึ่งขาดความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม รวมถึงแรงงานอาจเผชิญความเสี่ยงจากความมั่นคงในการจ้างงานที่ลดลง

นอกจากนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะส่งผลให้งานบางประเภทเลือนหายไป และเกิดงานประเภทใหม่ขึ้นมาทดแทน โดยระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มีแนวโน้มจะเข้ามาทดแทนงานที่มีลักษณะของการทำซ้ำหรือเป็นแบบแผน ส่งผลให้เกิดความต้องการแรงงานที่มีทักษะ

ความสามารถเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น วิศวกรหุ่นยนต์ หรือผู้เชี่ยวชาญปัญญาประดิษฐ์ และการเข้าสู่สังคมสูงวัยยังมีแนวโน้มทำให้งานในอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพมีจำนวนเพิ่มขึ้น ตลอดจนกระแสความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมจะส่งผลให้งานสีเขียวทวีความสำคัญในตลาดแรงงานมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การเกิดขึ้นของงานในอาชีพใหม่ ๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงข้างต้นนำไปสู่ความต้องการทักษะของแรงงาน ในลักษณะใหม่ ๆ โดยนอกเหนือจากทักษะทางปัญญาหรือทักษะเชิงเทคนิค อาทิ สะเต็ม (STEM)

โดยทักษะทางพฤติกรรมหรือทักษะด้านมนุษย์ อาทิ ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร หรือการทำงานเป็นทีม จะเป็นที่ต้องการและเป็นงานสำหรับอนาคต เนื่องจากเป็นทักษะเฉพาะที่เทคโนโลยีสมัยใหม่ยังไม่สามารถทดแทนแรงงานมนุษย์ได้