ยังเป็นบวก แม้ต้นสัปดาห์หน้าอาจผันผวนจากการลด GDP ของ IMF

ยังเป็นบวก แม้ต้นสัปดาห์หน้าอาจผันผวนจากการลด GDP ของ IMF

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับขึ้นหลังสหรัฐฯ - หลังสภาบรรลุข้อตกลงขยายเพดานหนี้ชั่วคราว แม้จะมีผลถึงเพียงธ.ค.

แต่การขยายเพดานหนี้โดยความตกลงร่วมของเดโมแครตและรีพับริกัน (แทนที่จะเป็นเดโมแครตพรรคเดียว) เป็นสัญญาณบวกถึงการต่อรอง ที่ทำให้เราคาดว่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะมีบางผลลัพธ์ที่ตลาดพึงพอใจ อาทิ การปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคล (ปธน.ไบเดน เสนอเพิ่มภาษีจาก 21% เป็น 28%) ซึ่งจะเป็นบวกกับแนวโน้มกำไรบจ.สหรัฐฯ หลังตลาดรับรู้ข่าวสารเชิงลบเกี่ยวกับการปรับขึ้นภาษีไปในระดับหนึ่งแล้ว

คาดการณ์กำไรกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 3/64 คาดเพิ่มขึ้น 35% YoY แต่ลดลง 22% QoQ ภาพรวมผลการดำเนินงานธนาคารขนาดใหญ่โดดเด่นกว่าธนาคารขนาดเล็ก โดยธนาคารที่คาดจะรายงานกำไรเติบโต YoY แข็งแกร่ง ได้แก่ BBL, KBANK, KTB, SCB ขณะที่กำไรไตรมาส 4/64 มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามปัจจัยฤดูกาล และจะเป็นจุดต่ำสุดของปี ก่อนที่เราคาดว่าภาพรวมกำไรกลุ่มธนาคารปี 2565 จะเติบโตขึ้น 20% เรายังคงน้ำหนักการลงทุนที่มากกว่าตลาด โดยมีหุ้นเด่นคือ BBL (ราคาเหมาะสม 154 บาท) และ KBANK (ราคาเหมาะสม 172 บาท)

CPF แนวโน้มกำไรอ่อนแอก่อนฟื้นในไตรมาส 4 แนวโน้มกำไร 3Q64 คาดจะยังลดลง yoy และ qoq จากแรงกดดันหลายปัจจัย 1) ยอดขาย การส่งออกไก่แปรรูปลดลง , ราคาสุกร ที่ลดลงทั้งในไทย (ราว -10%yoy, -8%qoq). เวียดนาม (ราว -33%yoy, -23%qoq) และจีน 2) ต้นทุนสูงขึ้น ทั้งข้าวโพด และกากถั่วเหลือง สูงขึ้น yoy (ทรงตัว qoq) และค่าใช้จ่าย SG&A ที่เพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 3) รับรู้ Biology loss (Mark to market ราคาสุกร ไก่ ณ สิ้นงวด) เพิ่มขึ้นจาก 2Q64 ที่มี Biology loss ราว 525 ล้านบาท ภาพรวมกำไร CPF 3Q21 เบื้องต้นที่คาดน่าจะอยู่ในช่วงราว 1 - 1.5 พันล้านบาท 4) แนวโน้ม 4Q21 คาดกำไรสุทธิจะเร่งตัวขึ้นจากการการรับรู้กำไรพิเศษจากการโอนธุรกิจโลตัสให้ MAKRO ขณะที่กำไรปกติคาดฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไป โดยยังเห็นปัจจัยกดดันจากทั้งราคาสุกร และไก่ ในแต่ละประเทศ

ธีมการลงทุนระยะสั้น 1) กลุ่มโภคภัณฑ์ป้องกันเงินเฟ้อ PTTEP, PTTGC, IVL, TOP, BANPU 2) การเพิ่มเพดานหนี้เป็น 70% และแผนกู้เงินเพิ่ม จะทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรขยับขึ้น ซึ่งบวกกับกลุ่มธนาคารและประกัน อาทิ BBL, KBANK, SCB, TIPH, THRE, BLA 3) หุ้นธีมเปิดเมืองยังน่าสนใจแม้อาจย่อจากมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการผ่อนคลายกทม.ที่น่าจะล่าช้าไปจาก 15 ต.ค. CPN, CRC, MINT, CENTEL, ERW, BA 4) เรามองทยอยสะสม สื่อสาร สาธารณูปโภค ADVANC, DTAC, FTREIT, WHART, GULF, GPSC, EGCO, RATCH, EASTW, WHAUP, TTW 5) เก็งกำไรทางเทคนิค WIIK, FORTH, FSMART, TNP, TWPC, NER, HFT, BEC, CPI, TKS, SKN, MAJOR, CPN, ERW

ภาพรวมกลยุทธ์: กลับมาสู่แนวโน้มขึ้นทดสอบ 1,660-1,680 จุด แม้อาจมีแกว่งหรือย่อระยะสั้น โดยกลุ่มพลังงานที่กลับมาแข็งแกร่งพร้อมกันจากปัญหาขาดแคลนพลังงานและอากาศหนาว ทำให้บรรยยากาศรวมของ SET Index เป็นบวก //หุ้นแนะนำ: IVL*, KBANK*, TIPH*, FORTH*

แนวรับ: 1,615-1,625/ แนวต้าน : 1,635-1,650 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%

 

 

 

ประเด็นการลงทุน

ศบค.จ่อเคาะบินเต็มลำ - กพท.เสนอ ศบค.ผ่อนคลายการบินให้สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้เต็ม 100% จากกำหนดเพดาน 75% ชี้บินไม่เกิน 2.30 ชม. ความเสี่ยงต่ำ หวังเริ่มบังคับใช้ 15 ต.ค.

EGCO - ส่งบริษัทย่อยเข้าซื้อหุ้น 17.46% ใน “เอเพกซ์” บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานหมุนเวียนในสหรัฐฯ คาดลงนามสัญญาเสร็จสิ้นในไตรมาส 4/64 หวังปูพรหมแผนลงทุนโครงการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต

SCB – ผนึก “มิลเลนเนียม” กรุ้ปฯ เปิดตัว “ALPHA X” จับตลาดบน ปล่อยกู้กลุ่มพรีเมียม-ลักชัวรี่ เริ่มให้บริการได้ภายในไตรมาส 4/64 พร้อมเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 300 ล้านบาท ภายใน 1 ปี รองรับการขยายธุรกิจ

INSET - ไฟเขียวเพิ่มทุน พร้อมแจกวอร์แรนต์ฟรี 2:1 ให้กับกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มสภาพคล่องและเตรียมเงินทุนรองรับการขยายธุรกิจในอนาคต

SVI เข้าซื้อกิจการ TPP – SVI แจ้งข่าวตลท.เข้าซื้อ Tohoku Pioneer (TPP) ผู้ผลิตชิ้นส่วน-อุปกรณ์เครื่องกล มีพื้นที่การผลิตกว่า 15,000 ตารางเมตร คาดว่าการซื้อกิจการจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย.64

ประเด็นติดตาม: -  8 ต.ค.: US Employment Report/ 12 ต.ค.: IMF ออกรายงานเศรษฐกิจ โลก ฉบับใหม่ /13 ต.ค.: OPEC Monthly report/ 17 ต.ค. วันสุดท้ายทูลเกล้ารัฐธรมมนูญใหม่

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)