เป็นบวกแม้อาจผันผวนบ้างจากมุมมองการขึ้นดอกเบี้ยของกรรมการเฟด

เป็นบวกแม้อาจผันผวนบ้างจากมุมมองการขึ้นดอกเบี้ยของกรรมการเฟด

มีทั้งสัญญาณบวกและลบจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ประเด็นสำคัญจากการประชุมเฟดเมื่อคืนนี้ ได้แก่ 1) เฟดคงดอกเบี้ยนโยบายตามคาด และส่งสัญญาณจะเริ่มลด QE ในเร็วๆนี้

2) การลดการผ่อนคลาย (QE tapering) ที่มีกำหนดน่าจะเสร็จสิ้นภายในกลางปี 2565 ทำให้ตลาดมองว่าระดับของการลดการซื้อพันธบัตรต่อเดือน จะอยู่ที่ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าที่ตลาดประเมิน 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งประเด็นนี้เป็นบวกเนื่องจากเฟดยังคงอีดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบต่อเนื่อง แม้จะน้อยลง 3) มุมมองอัตราดอกเบี้ยของกรรมการเฟดรายคน (Dot plot) ส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยอาจเกิดขึ้นเร็วกว่าเดิม (ขึ้นดอกเบี้ยปี 2565 จาก 7 เป็น 9 คน / ขึ้นดอกเบี้ยปี 2566 จาก 13 เป็น 17 คน) ซึ่งมุมมองดังกล่าวส่งผลให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น และอาจเป็นปัจจัยทำให้ตลาดในระยะสั้นผันผวนได้ // อย่างไรก็ตามภาพรวมความเคลื่อนไหวของเฟดไม่ได้แปลกไปกว่าที่ตลาดคาด และทำให้นักลงทุนไม่น่าตกใจเป็นพิเศษ

SCB ปรับโครงสร้างซึ่งจะเป็นบวกกับ Valuation ของหุ้น ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เปิดเผยแผนการปรับโครงสร้าง มุ่งสู่ติจิตอลมากขึ้นและจัดกลุ่มธุรกิจใหม่เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) บริการธนาคารแบบเดิม 2) สินเชื่อเพื่อการบริโภคและบริการทางด้านดิจิตัล 3) แพลตฟอร์มดิจิตัลและบริการด้านเทคโนโลยี เนื้อหาสำคัญ คือการนำกระแสเงินสดจากธุรกิจธนาคารแบบเดิมไปลงทุนในธุรกิจและบริการแบบใหม่ที่มีแตราการเติบโตสูง ขณะที่ธนาคารจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากเดิมที่เป็นเพียงตัวกลาง เป็นคนตัดสินใจจัดสรรเงินลงทุนไปในธุรกิจที่เหมาะสม โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารเป็น Holding company ที่ให้อำนาจกับผู้บริหารในแต่ละธุรกิจมากขึ้น และคาดหวังให้บริษัทย่อยสามารถเข้าระดมทุนและยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยวางเป้าหมายการเติบโตของกำไรจากปัจจุบันที่ 1.5-2 เท่า และ market cap ที่ 1 ล้านล้านบาท (ปัจจุบัน 3.7 แสนล้านบาท) ใน 5 ปีข้างหน้า  // เรามีมุมมองเชิงบวกไม่ใช่กับตัวเลขกำไร แต่คือการปรับตัวที่สอดคล้องกับภาวะการแข่งขันและเร็วกว่าธนาคารอื่น 

รวมถึงรูปแบบในการทำงานและตั้งเป้าหมายของทีมย่อยแบบสตาร์ทอัพที่จะทำให้การทำงานมีความคล่องตัว ซึ่งจะทำให้ SCB เป็นตัวเลือกที่ดีกว่าธนาคารอื่นที่ยังไม่ปรับตัว // ขณะที่แผนการแลกหุ้นเป็นหุ้นใหม่และจ่ายปันผลพิเศษ จะเกิดขึ้นในไตรมาส 2/65 และหลังการแลกหุ้นแล้วเราจึงยังไม่ให้น้ำหนักปัจจัยบวกนี้มากนัก

ธีมการลงทุนระยะสั้น 1) การเพิ่มเพดานหนี้เป็น 70% และแผนกู้เงินเพิ่ม จะทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรขยับขึ้น ซึ่งบวกกับกลุ่มธนาคารและประกัน อาทิ BBL, KBANK, SCB, TIPH, THRE, BLA 2) หุ้นธีมเปิดเมืองยังน่าสนใจแม้อาจย่อจากมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการผ่อนคลายกทม.ที่น่าจะล่าช้าไปจาก 15 ต.ค. CPN, CRC, MINT, CENTEL, ERW, BA 3) เรามองทยอยสะสม สื่อสาร สาธารณูปโภค ADVANC, DTAC, FTREIT, WHART, GULF, GPSC, EGCO, RATCH, EASTW, WHAUP, TTW 4) เก็งกำไรทางเทคนิค MDX, VNG, SKN, WIIK, FSMART, MFEC, KTC, ACE, AQUA, SUPER, ESTAR, NUSA, EVER, ORI, AMANAH, SMD, EE, RICHY, ICN, SHR, ACE, ETC

ภาพรวมกลยุทธ์: ลุ้นยืนเหนือ 1,620-1,623 จุด ซึ่ง จะทำให้ภาพการแกว่งเปลี่ยน กลับมามีโครงสร้างเชิงบวก กลุ่มธนาคาร สื่อสาร ยังช่วงประคองตลาด การเก็งกำไรหุ้นรายตัว ไฟฟ้าชุมชนและกลุ่มบรรจุภัณฑ์แบบฟิล์มหลายตัวน่าสนใจ การเก็งกำไรควรกำหนดจุดตัดขาดทุนและแบ่งทำกำไรทุกครั้ง//หุ้นแนะนำ: SCB, AJ*, TPS*, MENA*

แนวรับ: 1,610/ แนวต้าน : 1,623-1,630 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
 

ประเด็นการลงทุน

สรุปพีพีพีสายสีแดงเดือน ก.ย. - ร.ฟ.ท.เตรียมสรุปเกณฑ์พีพีพีให้เอกชนร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายเดือน ก.ย. นี้ เล็งเปิดประกวดราคาในเดือน ม.ค.-ก.พ. ปีหน้า 

AOT – บอร์ดอนุมัติขยายสัญญาใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ จากเดิมเหลือ 11 ปี ยาวเป็น 30 ปี สิ้นสุด ก.ย. 64 พร้อมประเมินชำระผลตอบแทนขั้นต่ำตั้งแต่ปี 65-94 เป็นยอดเงินรวม 85,447 ล้านบาท

SCB - ประกาศปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ตั้งโฮลดิ้ง SCBX แลกหุ้น SCB เข้าจดทะเบียนแทน แปลงจากแบงก์สู่กลุ่มฟินเทค 

TPCH - ออกหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 1.5 พันล้านบาท อายุ 2 ปี 9 เดือน ขายให้สถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ ชูอัตราผลตอบแทน 4.50% ต่อปี เตรียมนำเงินส่วนใหญ่ไปใช้รองรับแผนการขยายโครงการโรงไฟฟ้าและชำระคืนหนี้

ประเด็นติดตาม: -  22 ก.ย.: BOJ meeting /  23 ก.ย.: FOMC meeting, BOE meeting, US Initial Jobless Claims, EU Manufacturing PMI เดือน ก.ย., ปิดเผยรายชื่อผู้ผ่านการประมูลไฟฟ้าชุมชน / 24 ก.ย.: US 10-year TIP Auction

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)