KBANK หลายมาตรการช่วยลูกหนี้ได้ให้กับลูกหนี้ไปแล้ว

KBANK หลายมาตรการช่วยลูกหนี้ได้ให้กับลูกหนี้ไปแล้ว

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2565/66 ขึ้นอีก 6%/3% และปรับเพิ่มราคาเป้าหมายปี 2565F เป็น 160 บาท (จากเดิม 150 บาท)

แนวปฏิบัติใหม่ของ ธปท. ส่งผลดีต่อแบงก์

แนวปฏิบัติใหม่ของ ธปท. ให้คงมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบปัญหาไปได้อีกสองปีจนถึงสิ้นปี 2566 ส่งผลดีต่อ KBANK ในแง่ของการ freeze สถานะของลูกหนี้ที่ประสบปัญหาเอาไว้ และผ่อนคลายเกณฑ์การตั้งสำรองไปอีกสองปี ซึ่งนานพอที่จะทำให้ธุรกิจของลูกหนี้ที่ประสบปัญหาพลิกฟื้น และกลับมาดำเนินการตามปกติได้ ทั้งนี้ ตามแนวปฏิบัติใหม่ ธปท. สนับสนุนให้ธนาคารต่าง ๆ ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านทั้งการลดอัตราดอกเบี้ย และลดหนี้ลง ซึ่งจะกดดันให้ทั้ง EIR และ margin ของ
สินเชื่อลดลง แต่เราคิดว่าธนาคารจะได้อานิสงส์จากการผ่อนคลายเกณฑ์การจัดชั้น NPL และการตั้งสำรองที่ลดลงซึ่งจะมีน้ำหนักมากกว่า

 

หลายมาตรการช่วยลูกหนี้ได้ให้กับลูกหนี้ไปแล้ว

KBANK ออกมาตรการหลายด้านเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่ม SME และสินเชื่อรายย่อยไปแล้ว รวมประมาณ 2.32 แสนล้านบาท โดยมีทั้งดอกเบี้ยที่ศูนย์สำหรับ SME, คิดดอกเบี้ย 3% สำหรับสินเชื่อผู้บริโภคแบบไม่มีหลักประกัน, พักชำระค่างวด, ปรับเงื่อนไขสินเชื่อแบบมีกำหนดเวลา ฯลฯ ซึ่งมาตรการช่วยเหลือเหล่านี้ช่วยหนุนให้สินเชื่อของ KBANK โตแรงกว่าธนาคารอื่น ๆ ในปี 2563 และ 1H64 ทั้งนี้เนื่องจากมาตรการเหล่านี้รวมอยู่ในผลการดำเนินงานปี 2563-64 ไปเรียบร้อยแล้ว เราจึงมอง
ว่าผลกระทบต่อ yield และ NIM ของ KBANK น่าจะจำกัด

 

 

สินเชื่อโตเกินเป้าจะทำให้กำไรโตดีกว่าคาด

เนื่องจาก KBANK อัดฉีดเม็ดเงินใหม่เข้าไปให้ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง สินเชื่อจึงขยายตัวถึง+6% YTD (มากกว่าประมาณการปีนี้ของเราที่ +4.6%) ซึ่งหากเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นใน 2H64 จะทำให้ประมาณการของเรามี upside อีก โดยสินเชื่อที่ขยายตัวเพิ่มทุก ๆ 1% จะทำให้ประมาณการกำไรของเรามี upside เพิ่มอีกประมาณ 1.8% โดยประมาณการปัจจุบันของเราใช้สมมติฐานอัตราการขยายตัวของสินเชื่อปี 2564/65 ที่ปีละ 6%

 

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2565/66 ขึ้นอีก 6%/3 และปรับเพิ่มราคาเป้าหมายปี 2565F เป็น 160 บาท

เราปรับประมาณการกำไรโดยอิงจากสมมติฐานดังต่อไปนี้ i) ปรับ credit cost เป็น 170bps/160bps (จากเดิม 180bps/160bos) ii) ปรับอัตราการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมเป็น 8.5%/8.5% (จากเดิม 6%/6%) iii) ปรับลด NIM เป็น 3.04%/3.2% (จากเดิม 3.2%/3.2%) และ iv) คงสัดส่วนต้นทุน/รายได้เอาไว้เท่าเดิมที่ 44%/44% ในขณะเดียวกัน เรายังคงสมมติฐานอัตราการเติบโตของสินเชื่อปี 2565/66 เอาไว้เท่าเดิมที่ 6%/8% ซึ่งเมื่อใช้ P/BV ที่ 0.8x ทำให้เราได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 160 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 150 บาท

 

Risks

กฎเกณฑ์ของทางการบีบให้ต้องลดดอกเบี้ยลง, NPL และยอดกันสำรองเพิ่มขึ้น.