“ค่าน้ำ-ค่าไฟ”การกลับมาของภาระค่าครองชีพ หลังสิ้น“มาตรการรัฐ ส.ค.64”

“ค่าน้ำ-ค่าไฟ”การกลับมาของภาระค่าครองชีพ หลังสิ้น“มาตรการรัฐ ส.ค.64”

ภาวะรายได้ไม่พอใช้สำหรับรายจ่าย เป็นสถานการณ์ทางการเงินของครัวเรือนไทยทุกหย่อมหญ้า ดังนั้นรัฐบาลจึงออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนเพื่อลดค่าครองชีพให้สามารถพยุงตัวเองรอดได้ในช่วงที่โควิดทำให้การหารายได้อยู่บนหลักการว่าถ้าไม่เสี่ยงก็เสียโอกาส

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติลดค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ เฉพาะอย่าง องค์กรไม่แสวงหากำไร และการสูบน้ำเพื่อการเกษตร (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) เป็นระยะเวลา 2 เดือน ระหว่างเดือนก.ค.-ส.ค. 2564 เพื่อลดภาระค่าครองชีพประชาชนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 โดยใช้ค่าไฟฟ้าเดือนก.พ. 2564 เป็นค่าไฟฟ้าฐานในการคิดคำนวณส่วนลด

 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. สำหรับบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้สิทธิใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก 2. สำหรับบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้คิดดังนี้ 2.1) หากใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าไฟเดือน ก.พ. 2564 ให้คิดค่าไฟฟ้าตามหน่วยการใช้จริง 2.2) หากใช้ไฟฟ้ามากกว่าค่าไฟเดือน ก.พ. 2564 หากไม่เกิน 500 หน่วย ให้คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยของเดือน ก.พ. 2564 2.3) หากใช้ 501 - 1,000 หน่วย ให้คิดค่าไฟเท่ากับหน่วยของเดือน ก.พ. 64 บวกด้วยหน่วยที่มากกว่าหน่วยของเดือน ก.พ. 2564 ในอัตรา50% 2.4) หากใช้มากกว่า 1,000 หน่วย ให้คิดค่าไฟเท่ากับหน่วยของเดือน ก.พ. 2564 บวกด้วยหน่วยที่มากกว่าหน่วยของเดือน ก.พ. 2564 ในอัตรา 70% ทั้งนี้ให้เป็นส่วนลดก่อนการคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม 3. สำหรับกิจการขนาดเล็ก ให้สิทธิใช้ไฟฟ้าฟรี 100 หน่วยแรก 4.            สำหรับกิจการขนาดกลาง ขนาดใหญ่ เฉพาะอย่าง องค์กรไม่แสวงหากำไร และการสูบน้ำเพื่อการเกษตร ให้ยกเว้นการเรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้าต่ำสุด (Minimum Charge) ไปจนถึงสิ้นเดือนธ.ค.2564

ด้าน ค่าน้ำประปานั้น การประปานครหลวง (กปน.) มีภารกิจหลัก ในการจัดหา ผลิต และจำหน่ายน้ำประปาให้บริการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 ก.ค.2564 ให้ลดค่าน้ำประปา 10 % สำหรับบ้านที่อยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) สำหรับใบแจ้งค่าน้ำเดือนส.ค.-ก.ย. 2564 โดยไม่ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ

จากมาตรการของภาครัฐได้ส่งผลต่อภาระค่าครองชีพของประชาชน วัดได้จากดัชนีเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดว่าเงินในกระเป๋าเรามีมูลค่าลดลงในสัดส่วนเท่าไหร่ หากเงินเฟ้อมีอัตราเพิ่มสูงถือว่าค่าเงินในกระเป๋าลดลง ตามสัดส่วนภาระค่าครองชีพด้านต่างๆที่มีอยู่ ซึ่งสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เผยถึงเดือนส.ค.ที่ผ่านมาเงินเฟ้อลดลง 0.02% มีสาเหตุสำคัญจากมาตรการลดภาระค่าครองชีพของภาครัฐในการลดค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่ากระแสไฟฟ้าและค่านำ้ประปา                   

ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดหลายชนิดลดลงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า เนื้อสุกร ไก่สด ผักและผลไม้ ในขณะที่ราคาไข่ไก่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้แม้ว่าราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานจะขยายตัว แต่เป็นอัตราที่น้อยกว่าเดือนที่ผ่านมา โดยปัจจัยดังกล่าวเป็นแรงกดดันให้เงินเฟ้อในเดือนนี้ ปรับลดลง 

ดังนั้นในทางกลับกันเงินเฟ้อในเดือนก.ย. 2564 มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวในระดับที่ไม่สูงมากนัก โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสิ้นสุดมาตรการลดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ซึ่งสิ้นสุดในเดือนส.ค. อีกทั้งราคาพลังงานมีแนวโน้มทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย จากการเพิ่มกำลังการผลิตของผู้ผลิตโลก ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ที่มีแนวโน้มเริ่มคลี่คลาย 

อย่างไรก็ตาม ราคาอาหารสดและการต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐเป็นปัจจัยผันแปรสำคัญที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อในเดือนก.ย.ได้

ทั้งนี กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2564 จะอยู่ระหว่าง0.7 – 1.7 %(ค่ากลางอยู่ที่ร้อยละ 1.2) ซึ่งเป็นอัตรา

ที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง แต่ก็มีแผนจะทบทวนอีกครั้งในเดือน ก.ย.นี้ 

การบริหารจัดการให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ สอดคล้องกับเงินเฟ้อกำลังเป็นความท้าทายอีกด้านของรัฐบาลเพราะหลายประเทศกำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจไม่ฟื้นแต่เงินเฟ้อเพิ่ม 

ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดหลายชนิดลดลงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า เนื อสุกร ไก่สด ผักและผลไม้ ในขณะที่ราคาไข่ไก่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้แม้ว่าราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานจะขยายตัว แต่เป็นอัตราที่น้อยกว่าเดือนที่ผ่านมา โดยปัจจัยดังกล่าวเป็นแรงกดดันให้เงินเฟ้อในเดือนนี้ ปรับลดลง