เกาะกระแส ‘Fintech’ เทรนด์ที่มาแรงต่อเนื่องในปี 2021

เกาะกระแส ‘Fintech’ เทรนด์ที่มาแรงต่อเนื่องในปี 2021

“Fintech” ได้แทรกซึมเขาไปอยู่ในทุกกิจกรรมการดำเนินชีวิต และดูเหมือนว่าการแพร่ระบาดของ "โควิด 19" จะยิ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดการนำมาประยุกต์ใช้มากขึ้น

หลายท่านอาจจะคิดว่า “Fintech” เป็นเรื่องไกลตัว แต่จริงๆ แล้ว มันได้ก้าวเข้ามามีบทบาทในหลากหลายกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็น การโอนเงิน การชำระค่าบริการ ผ่านระบบ Mobile Banking การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต/เดบิต กระทั่งสมัยนี้เราสามารถให้ “Robot” ช่วยจัดพอร์ตการลงทุน หรือ ที่เรียกว่า Robo-Advisor กันได้แล้ว รวมถึงธุรกิจประกันภัยก็มีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เช่น การนำ Smart Watch มาใช้ในการติดตามพฤติกรรมของผู้เอาประกัน เพื่อนำสถิติด้านสุขภาพมาเชื่อมโยงกับการคำนวณเบี้ยประกันในรอบถัดไป

“Cashless Society” คำคุ้นหู หนึ่งในธุรกรรมของ Fintech ที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

คำว่า “Cashless Society” อาจจะเป็นคำที่คุ้นหูสำหรับใครหลายคน แต่จากข้อมูลพบว่า จริงๆ แล้ว การใช้จ่ายโดยไม่ใช้เงินสด (Non-Cash Transactions) ไม่มากอย่างที่คิด ตัวอย่าง ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมทางการเงิน ยังมีการใช้จ่ายโดยไม่ใช้เงินสด (Non-Cash Transactions) เพียง 45% เท่านั้น  กระทั่งในยุโรปเอง การใช้จ่ายโดยใช้เงินสด ก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่

source: ShiftProcessing.com data as of January 2021

source: ShiftProcessing.com data as of January 2021

ดังนั้น “Cashless Society” หรือ “สังคมไร้เงินสด” ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก โดยเฉพาะจากคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมนี้ จากงานวิจัยของ PWC คาดการณ์ว่า ปริมาณการใช้จ่ายโดยไม่ใช้เงินสดจะเติบโตขึ้นถึง 3 เท่า ภายในปี 2030 ซึ่งข้อมูลตรงนี้อาจบ่งชี้ได้ว่าสังคมไร้เงินสดเต็มรูปแบบที่จะช่วยหนุนอุตสาหกรรม Fintech คงอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

ภายในปี 2024 Digital/Mobile-Wallet และ Credit/Debit-Card จะมีสัดส่วน 85% ของธุรกรรมใน E-Commerce ธุรกิจ E-Commerce ถือเป็นกุญแจสำคัญของการเติบโตในธุรกิจ Fintech ยิ่งผู้คนหันมาซื้อสินค้าในรูปแบบ E-Commerce มากขึ้นเท่าใด ปริมาณธุรกรรมก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น จากงานวิจัยของ Fisglobal จะเห็นว่า การใช้จ่ายบนแพลตฟอร์ม E-Commerce ผ่าน Digital/Mobile Wallet ในปี 2020 มีสัดส่วนราว 44.5% และคาดการณ์ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 51.7% ในปี 2024

โดยการใช้จ่ายผ่านบัตร Credit/Debit ก็จะยังเป็นที่นิยมต่อไปจนถึงปี 2024 หากนับรวมทั้ง 3 ช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Digital/Mobile Wallet, Credit Card และ Debit Card จะคิดเป็นสัดส่วนราวๆ 85% ของการใช้จ่ายบนแพลตฟอร์ม E-Commerce เรียกได้ว่าเป็นการแทนที่การชำระเงินแบบดั้งเดิมอย่าง Bank Transfer (การโอนเงินผ่านธนาคาร) ไปโดยสิ้นเชิง

source: Fisglobal “The Global Payment Report” 2021 source: Fisglobal “The Global Payment Report” 2021

อีกหนึ่งช่องทางที่มีโอกาสเติบโตสูงในธุรกิจ Fintech คือการใช้จ่ายในรูปแบบ “Buy Now Pay Later” หรือ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” โดยจุดเด่นของบริการนี้คือ ไม่มีอัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระ ไม่ต้องใช้บัตรเครดิต อีกทั้งยังมีตัวเลือกให้ผ่อนชำระที่ยืดหยุ่นกว่า เช่น จะเลือกแบ่งชำระภายในเวลาระยะเวลาสั้นๆ รายสัปดาห์ หรือจะเลือกแบ่งชำระในระยะเวลาที่นานกว่าเป็นรายเดือนก็ได้ แต่หากผู้ซื้อไม่สามารถชำระเงินได้ตามที่กำหนด ก็จะต้องเสียค่าปรับเป็นข้อแลกเปลี่ยนแทน

ล่าสุดบริษัท Paypal ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการ บริษัท Paidy ผู้ให้บริการซื้อสินค้า online สัญชาติญี่ปุ่น ที่สามารถให้ลูกผ่อนชำระสินค้าได้ในรูปแบบ “Buy Now Pay later” ด้วยเม็ดเงิน $2.7 billion หรือ ราวๆ 88,000 ล้านบาท ถือเป็นหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่า ธุรกิจนี้จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในอนาคตอันใกล้

ธุรกรรมหลายอย่างประสบความสำเร็จโดยใช้เบื้องหลังใช้ Fintech ในการให้บริการ

หลายๆ กิจกรรมทางการเงิน โดยเฉพาะทุกการโอนเงินในรูปแบบ Digital รวมไปถึงการใช้จ่ายในบัตรเครดิตหรือเดบิต ก็ล้วนแล้วแต่ต้องมีการประมวลผลข้อมูลอยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น เปรียบเสมือนโครงสร้างพื้นฐานของการโอนเงินบนโลก Digital คือ การใช้ Fintech ในการให้บริการ ตัวอย่างที่ชัดเจน และถือว่าเป็นเบอร์หนึ่งในด้านนี้ คือ บริษัท Visa โดยบริษัทฯ ถือเป็นผู้ให้บริการด้านการประมวลผลข้อมูลธุรกรรมทางการเงินที่มีปริมาณการชำระเงินผ่านเครือข่ายกว่า 8.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ซึ่งมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก

บริษัทด้านซอฟแวร์ ที่พัฒนาให้กับธุรกิจการเงินการธนาคารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจากธุรกิจธนาคารดั้งเดิมไปยัง Digital Banking เช่น บริษัท Temenos บริษัทสัญชาติสวิสเซอร์แลนด์ ผู้นำด้าน Software ที่ใช้ในธุรกิจ “การเงิน&การธนาคาร” คร่ำหวอดในวงการมากว่า 20 ปี มีลูกค้าที่เป็นองค์กรกว่า 3,000 รายทั่วโลก และมีลูกค้าซึ่งเป็นธนาคารยักษ์ใหญ่ใช้บริการเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงธุรกิจธนาคารที่กำลังเปลี่ยนตัวเองมาเป็น Digital Banking เพื่อรองรับการเติบโตของการใช้งานในอนาคต

เราเฝ้าดูปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นของธุรกิจ Fintech ในก่อนระบาดของ COVID และภายหลังจนถึงปัจจุบัน ยังคงเชื่อว่า การเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Fintech จะยังมีโอกาสอีกมาก ตราบใดที่โลกแห่งเทคโนโลยียังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หลังจากนี้เชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกมาก อาทิ สกุลเงินหยวนดิจิตอล ซึ่งธนาคารกลางจีนเริ่มประกาศใช้ไปแล้วในบางมณฑล และจะประกาศใช้ในงาน Beijing 2022 Winter Olympic Games อีกด้วย ยังไม่นับรวมธนาคารกลางอื่นๆ ที่จะเปลี่ยนเงินไปเป็นดิจิทัลซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น

ดังนั้น ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าเทรนด์ในธุรกิจด้าน Fintech ยังคงเป็นจุดเริ่มต้นและมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ถือว่าเป็นอีกหนึ่งธีมการลงทุนที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.ทิสโก้ หรือ TISCO Contact Center โทร. 0 2633 6000 กด 4, 0 2080 6000 กด 4 และ www.tiscoasset.com หรือ แอปพลิเคชัน TISCO My Funds ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่า น่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์ แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมายทั้งหลายที่ปรากฏ อยู่ในรายงานฉบับนี้เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว 

source : CNBC, investor.visa.com, temenos.com