คลัสเตอร์โรงงานฉุดส่งออกชะลอสั่งซื้อสินค้าอาหารไทย

คลัสเตอร์โรงงานฉุดส่งออกชะลอสั่งซื้อสินค้าอาหารไทย

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ประเมินแนวโน้มการส่งออกไตรมาส 3-4 ของปี 2564 อาจจะขยายตัว 8-10% และทำให้ทั้งปีขยายตัวได้ 10-12%

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้หลายประเทศทั่วโลกมีการกระจายฉีดวัคซีนให้กับประชาของตนเองไปแล้วจำนวนมาก โดยเฉพาะประเทศผู้นำเข้าสินค้าจากไทย เช่น สหรัฐ ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 53% สหภาพยุโรป (อียู) 60.1% จีน 63.5% ญี่ปุ่น 47.2% ซึ่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆได้ตามปกติ และส่งผลให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจนเป็นผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย

สรท.จึงได้มีการปรับเป้าการส่งออกในปี 2564 จากเดิมขยายตัว 6-7% เป็นขยายตัว 10-12% ถือเป็นการปรับครั้งที่ 2 โดยการส่งออกของไทยได้รับปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เช่น ตลาดสหรัฐมีการส่งออกในเดือนก.ค.ขยายตัว 22.5% ตลาดอียู 46.5% ตลาดจีน 42% 

สำหรับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมก็ยังขยายตัวได้ดีทั้งกลุ่มอาหาร ยางพารา ผลไม้สด แข่งแข็งและแห้ง รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง โดยในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาการส่งออกไทยมีมูลค่า 22,650 ล้านดอลลาร์ และคาดว่าในเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ ยังมีแนวโน้มการส่งออกได้ดี และน่าจะอยู่ในระดับเดือนละ 21,000-22,000 ล้านดอลลาร์ เพราะขณะนี้ออเดอร์การสั่งซื้อสินค้ายังเป็นไปด้วยดี

คลัสเตอร์โรงงานฉุดส่งออกชะลอสั่งซื้อสินค้าอาหารไทย

“การส่งออกในไตรมาส 3 คาดว่าการส่งออกจะขยายตัว 8-10 % ส่วนไตรมาส 4 ยังคงต้องจับตามองเป็นพิเศษเพราะมีปัจจัยภายนอกที่เข้ามากดดันการส่งออกของไทยทั้งเรื่องของโควิด-19 การติดเชื้อในโรงงาน ปัญหาการขนส่งสินค้า ซึ่งส่งผลกระทบให้ภาคการผลิตหยุดชะงักหรือไม่สามารถทำการผลิตได้อย่างเต็มที่ แต่ สรท.ก็ยังมั่นใจว่าส่งออกปีนี้จะขยายตัวที่ 10-12%”

ส่วนกรณีที่การส่งออกไทยจะขยายตัวไปถึง 15% ถือเป็นเป้าที่ท้าทายและเป็นไปได้น้อย เพราะมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างทั้งค่าระวางที่สูงขึ้น ซึ่ง สรท.จะหารือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหา

ทั้งนี้ สรท.ยังมีความเป็นห่วงการแพร่ระบาดของโควิดที่เข้าไปในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้ต้องปิดโรงงานบางส่วนกระทบต่อกำลังการผลิตประมาณ 5-10% โดยเฉพาะใน 4 กลุ่ม คือ อาหาร ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และสิ่งทอ ซึ่งมีสัดส่วนต่อการส่งออกมากว่า 50% ของการส่งออกภาพรวม ซึ่งแนวโน้มการติดเชื้อในหลายโรงงานก็ยังเพิ่มขึ้น ทำให้โรงงานต่างๆยังต้องตั้งการ์ดสูงในการป้องกันทั้งมาตรการ “บับเบิลแอนด์ชีล” มาตรการ Factory Quarantine (FQ) หรือ Factory Accommodation Isolation (FAI) การตรวจเชื้อโควิด โดยใช้ชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือ Antigen Test Kit (ATK) เพื่อป้องกันไม่ได้กระทบต่อภาคการผลิตไปมากกว่านี้

 

สำหรับมาตรการเหล่านี้ส่งผลต่อต้นทุนการบริหารงานซึ่งทางสรท.ขอให้รัฐช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายอย่างน้อยคนละ 10,000 บาท โดยโรงงานอุตสาหกรรมและภาคการผลิตที่เริ่มเข้ามาตรการ FQ tion Isolation (FAI) ในช่วงตั้งต้นของการดำเนินมาตรการ (One Time Cost) สนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ทางสาธารณสุข อาทิ ชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือ ATK ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีพนักงานบางส่วนติดเชื้อ และต้องมีการตรวจติดตามพนักงานอื่นที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นระยะ อย่างน้อย 7-14 วันต่อครั้ง ซึ่งเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูง

รวมถึงขอให้มีการควบคุมราคาชุดตรวจ ATK ให้อยู่ในราคาที่เหมาะสม และ เร่งฉีดวัคซีนให้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกให้ครอบคลุมโดยเร็ว เพื่อช่วยให้แรงงานลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและมีรายได้ต่อเนื่องซึ่ งที่ผ่านมาภาคการผลิตได้รับการฉีดวัคซีนเพียง 10-15 %ถือว่าน้อยมาก

การคาดการณ์การส่งออกรายสินค้าปี 2564 ประกอบไปด้วย 

ข้าว คาดขยายตัว 0% โดยราคาข้าวไทยต่ำที่สุดในรอบ 2-4 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง อินเดีย ราคาข้าวของอินเดียอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าข้าวไทย 20 ดอลลาร์สหรัฐ ประกอบกับค่าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้น การหมุนเวียนตู้สินค้าที่ค่อนข้างตึงตัวทำให้ภาระต้นทุนของผู้ประกอบการส่งออกสูงขึ้น รวมถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป เน้นการซื้ออาหารกลับไปรับประทานที่บ้าน ส่งผลให้ธุรกิจร้านอาหารและภัตราคารที่เป็นลูกค้าหลักหดตัวลง ปรับคาดการณ์การส่งออกข้าวโดยรวมในปี 2564 จาก 6 ล้านตัน เหลือ 5.5 ล้านตัน

ยางพารา คาดขยายตัว 20% โดยการส่งออกยางพาราขยายตัวลดลงจากเดือนก่อน แม้ความต้องการถุงมือยางยังคงอยู่ในระดับที่สูง แต่เนื่องจากปริมาณยางในภาพรวมปรับตัวลดลง ผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดน้อยอันเนื่องมาจากมีฝนตกชุกในพื้นที่และขาดแคลนแรงงาน ส่วนราคายางในภาพรวมปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกันกับตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ มีการหดตัวลงโดยได้รับปัจจัยกดดันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตยางพารามากขึ้น ซึ่งส่งผลให้หลายบริษัทและโรงงานต้องหยุดหรือชะลอการผลิตลง ปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้า ค่าระวางเรือยังคงอยู่ในระดับสูง อีกทั้งประเทศมาเลเซียมีการขยายเวลาล็อกดาวน์

อาหารทะเล แช่แข็ง กระป๋องแปรรูป คาดว่าขยายตัว 3-5% ภาพรวมการส่งออกอาหารทะเลเดือน ม.ค.-ก.ค.ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สินค้ากุ้ง ปลาหมึก และปลา มีอัตราการเติบโตของการส่งออกเพิ่มขึ้น 7.86% โดยเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหรัฐ และญี่ปุ่น ฟื้นตัวได้ดีต่อเนื่อง ในทางกลับกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในโรงงานเริ่มส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประเทศคู่ค้าเริ่มมีสัญญาณชะลอคำสั่งซื้อและการส่งมอบสินค้าล่าช้าออกไป โดยเฉพาะจีนที่เพิ่มความเข้มงวดมาตรการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สินค้านำเข้าส่งผลให้มูลค่าการส่งออกอาหารทะเลไปจีนซบเซาและทำให้ภาพรวมการส่งออกอาหารทะเลหดตัวลงเล็กน้อย

ยานพาหนะ คาดว่าขยายตัว 10-15% การส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 เติบโต 42% ส่งออกราว 70,590 คัน ขณะที่การส่งออก 7 เดือนที่ผ่านมา เติบโต 42% โดยเฉพาะในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐ เนื่องจากความต้องการของประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและฐานส่งออกปีที่แล้วค่อนข้างต่ำ 

ทั้งนี้ ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการระบาดในไทยและประเทศเพื่อนบ้านอาจกระทบต่อการนำเข้าชิ้นส่วน ทำให้ชิ้นส่วนในการผลิตขาดแคลน รวมถึงการระบาดในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปจนถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการผลิต และปัญหาค่าระวางและการขาดแคลนตู้สินค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้น ปัญหาขาดแคลนชิป