บทเรียน 'ลำไย' ยกมาตรการ รับจีนตรวจเข้ม 'ผลไม้ไทย'

บทเรียน 'ลำไย' ยกมาตรการ รับจีนตรวจเข้ม 'ผลไม้ไทย'

การที่จีนแจ้งเตือนประกาศระงับส่งออกลำไย เนื่องจากตรวจพบเพลี้ยแป้งปนเปื้อนเกินข้อตกลงในพิธีสารนั้นนับเป็นบทเรียนสำคัญที่ไม่ควรเกิดขึ้นอีก ต่อไปปัจจุบันจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่ไทยส่งออกผลไม้เกิน 80 %ของการส่งออกผลไม้สดทั้งหมด

พิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่กรมวิชาการเกษตร เสนอให้จีนพิจารณาเพื่ออนุญาตให้ 56 โรงคัดบรรจุ หรือ ล้ง ลำไย ที่ตรวจพบเพลี้ยแป้งจำนวนไม่มาก สามารถส่งออกได้ตามปกติ นั้น ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ที่เกษตรกรและล้ง ต้องให้ความร่วมมือ ในการสุ่มตรวจหาแมลงศัตรูพืชมากขึ้น และจะใช้เป็นพื้นฐานการสุ่มตรวจในผลไม้ชนิดอื่นๆต่อไป

 

โดยการซื้อขายลำไยได้เปลี่ยนไปจากอดีต ที่เกษตรกรจะเก็บ คัดแยกตามเกรดแพ็ค ลงเข่ง ตะกร้า หรือ มัดจุกโดยก้านยาวไม่เกิน15 เซนติเมตร แล้วนำมาส่งให้ล้ง ซึ่งจะทำให้ล้งมีการตรวจสอบคัดแยกไปในตัวแต่ปัจจุบัน ล้งจะซื้อเหมาสวนแล้วส่งคนงานไปเก็บ แพ็คแล้วส่งล้ง เข้ารมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือกำมะถัน นำเข้าตู้สินค้า สุ่มตรวจที่หน้าด่าน 3 % ปิดผนึก แล้วส่งออก

 

สำหรับการตรวจสอบหน้าด่าน นั้นอาจจะมีปัญหากรณีที่สินค้ามีจำนวนมาก และสินค้ามาถึงเวลาค่ำ ไฟฟ้าแสงสว่างอาจไม่เพียงพอ และทำให้มีแมลงศัตรูพืชเล็ดรอดไปได้ ดังนั้นเมื่อรู้ปัญหาแล้ว กรมวิชาการเกษตรจึงต้องปิดช่องโว่ ดังกล่าว โดยเกษตรกรต้องการปรับปรุงการจัดการที่สวน การเก็บเกี่ยว โดยคนงานของล้งหรือเกษตรกรเอง ต้องป้องกันกำจัด และคัดแยกลำไยที่มีเพลี้ยแป้งปะปนออก เมื่อลำไยมาถึงล้ง ต้องมีเจ้าหน้าที่ของล้งเอง สุ่มตรวจอย่างน้อย 3 ครั้ง ว่ามีแมลงติดมาหรือไม่ก่อนส่งเข้าโรงรม กำมะถัน

 

 “เมื่อรมเสร็จแล้ว ให้สุ่มอีก 3 ครั้ง ก่อนให้เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร สุ่มตรวจ เพื่อออกใบรับรองโรคแมลงศัตรูพืช (QC) ปิดผนึก หรือ seal ส่งไปที่ด่านจะไม่มีการสุ่มตรวจ และการ seal จะต้องไม่มีรอยเปิดหรือเปลี่ยนแปลงจนกว่าจะถึงปลายทาง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีการปนเปื้อนแมลงศัตรูพืชระหว่างทาง อย่างแน่นอน”

การกำหนดจุดสุ่มตรวจศัตรูพืชเพิ่มขึ้น รับสินค้าและคัดแยก ก่อนรม หลังรม การจัดการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น หลอดไฟส่องสว่างและอุปกรณ์ตรวจสอบศัตรูพืช ติดภาพศัตรูพืชที่ต้องคัดแยกหรือปฏิเสธการรับวัตถุดิบ รวมถึงมีพื้นที่ตรวจสอบศัตรูพืช เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นมาตรการที่เพิ่มขึ้นมา

 

นอกจากนี้ยังต้องปรับปรุงการตรวจสอบและออกใบรับรองสุขอนามัยพืช ( PC) โดยการเพิ่มอัตราสุ่มจากเดิม 3%เป็นเป็น 10%ในกลุ่มโรงคัดบรรจุ 66 ราย หากมีการตรวจพบศัตรูพืชกักกันครั้งที่ 1 จะระงับการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชเป็นระยะเวลา 7 วัน และหากมีการตรวจพบศัตรูพืชกักกันครั้งที่ 2 จะระงับการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชเป็นระยะเวลา 3 เดือน สำหรับโรงคัดบรรจุที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม 66 ราย กรมวิชาการเกษตรจะเพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสินค้าเป็นระดับในอัตรา 3, 5 และ 7 % อย่างต่อเนื่อง

 

ปัจจุบันลำไยในเขตภาคเหนือ เหลือผลผลิตในพื้นที่ประมาณ 30 % เท่านั้นคาดว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวได้หมดในสินเดือน ส.ค.นี้ แต่ลำไยทางจังหวัดจันทบุรี กำลังทยอยออกสู่ตลาดต่อเนื่องไปจนถึงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งต้องให้ความเข็มงวด และยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อใช้เป็นมาตรฐาน โดยผลไม้ที่ส่งออกในตลาดจีนเช่น ทุเรียน มังคุด ส้มโอ มะขามหวาน และเงาะ ที่จีนอนุมัติให้ส่งออกได้ในเดือน ส.ค. นี้

 

"การปนเปื้อนแมลงศัตรูพืช ในทุเรียน ที่มีผลใหญ่จะดูแลง่ายกว่าเมื่อเทียบกับผลไม้ที่มีขาดเล็ก ดังนั้นการสุ่มตรวจจึงต้องถี่และมากขึ้น เพราะปัญหานี้จะต้องไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป เพราะจะส่งผลกระทบกับการส่งออกผลไม้ของประเทศทั้งหมด “

 

ทั้งนี้ จีนตรวจพบศัตรูพืชกักกัน (เพลี้ยแป้ง) ในลำไยที่ส่งออกจาก ไทยไปจีน จึงขอให้ฝ่ายไทยระงับการส่งออกลำไยด้วยตัวเองก่อนซึ่งมีการแจ้งเตือนให้ระงับ 2 ครั้ง ได้แก่ 1. ระงับโรงคัดบรรจุครั้งแรก เมื่อเดือนมี.ค.2564 จำนวน 9 แห่ง ซึ่งกรมฯ ได้จัดส่งรายงาน ผลการปรับปรุงแก้ไขของโรงคัดบรรจุให้จีนพิจารณาแล้วเมื่อเดือนพ.ค.และมิ.ย.ที่ผ่านมา

 

  1. ระงับโรงคัดบรรจุครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 13 ส.ค.2564 จำนวน 66 แห่ง ซึ่งมีบางส่วนที่ทับ ซ้อนกับครั้งแรกอยู่บ้างกรมวิชาการเกษตรจึงได้จำแนกกลุ่มโรงคัดบรรจุและจัดส่ง ข้อมูลโรงคัดบรรจุและสวนที่มีความเสี่ยงสูงและความเสี่ยงต่ำ พร้อมทั้งมาตรการแก้ไขของโรงคัดบรรจุและสวนให้ ฝ่ายจีนพิจารณา เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2564 ความก้าวหน้าจากนั้นเมื่อวันที่ 17 ส.ค. ฝ่ายจีนแจ้งผลการประเมินมาตรการป้องกันการควบคุมการส่งออกของไทย