หุ้นกลุ่มพลังงานกดตลาด (7 ก.ค.64)

หุ้นกลุ่มพลังงานกดตลาด (7 ก.ค.64)

วันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวขึ้น จากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน สาเหตุจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวทำระดับสูงต่อเนื่อง

รวมถึงหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มค้าปลีก ประกอบกับมีปัจจัยบวกเรื่อง ครม. เห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขจัดหาวัคซีนไฟเซอร์จำนวนประมาณ 20 ล้านโดส ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,591.43 จุด +12.15 จุด +0.77% มูลค่าการซื้อขาย 69,485 ลบ. ต่างชาติ +53.73 ลบ. TFEX +17,197 สัญญา ตราสารหนี้ +157.12 ลบ.

ปัจจัยบวก

+ สัปดาห์นี้ญี่ปุ่นจะส่งวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าอีกหลายล้านโดสให้กับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ตามข้อตกลงการบริจาคแบบทวิภาคี
+ รัฐบาลอังกฤษเตรียมยกเลิกมาตรการกักตัวสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบแล้วเริ่มกลางเดือนส.ค.เป็นต้นไป
+ สรท.ประเมินการส่งออกไทยปี 64 ขยายตัว 7% และมีโอกาสเติบโตถึง 10% เนื่องจากการฟื้นตัวแข็งแกร่งของเศรษฐกิจโลก เงินบาทอ่อนค่า และราคาน้ำมันสูงแตะ $70 ต่อบาร์เรล
+ ที่ประชุมครม.มีมติเห็นชอบมาตรการสินเชื่ออิ่มใจช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่มให้มีสภาพคล่องที่เพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจต่อไปได้
+ ครม.เห็นชอบการจัดหาซิโนแวก-ไฟเซอร์-โมเดอร์นาใช้เป็นวัคซีนหลัก-วัคซีนทางเลือก

ปัจจัยลบ

- ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 208.98 จุด -0.60% หุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงหลังราคาน้ำมันดิบร่วงหนัก และหุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวลดลงตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิดปรับตัว ร่วงลง 1.79 ดอลลาร์ -2.4% ปิด $73.37 ต่อบาร์เรล การซื้อขายผันผวนเนื่องจากนลท.กังวลหลังจากกลุ่มโอเปคและโอเปคพลัสยังไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับนโยบายการผลิตน้ำมันจนเป็นเหตุให้ต้องเลื่อนประชุมโดยไม่มีกำหนด
- PMI ภาคบริการของสหรัฐ อยู่ที่ระดับ 64.6 ในเดือนมิ.ย. ลดลงจากระดับ 70.4 ในเดือนพ.ค. และต่ำกว่าตัวเลขประมาณการเบื้องต้นเดือนมิ.ย.ที่ 64.8 เล็กน้อย
- ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 60.1 ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 64.0 ในเดือนพ.ค. ต่ำกว่าวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 63.5
- ส.อ.ท. เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิ.ย.64 อยู่ที่ระดับ 80.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 82.3 ในเดือน พ.ค.64 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยมีปัจจัยจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกสาม
- กรมสรรพากรยอมรับว่าศึกษาการเก็บภาษีขายหุ้น

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวลงตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยยังมีแรงกดดันจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวลงแรง กดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,580-1,595 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

• ส่งออกเดือน พ.ค. ขยายตัว AH SAT NER STA KCE HANA SMT ASIAN
• Defensive Stock ADVANC TTW EASTW BGRIM
• หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลและเครื่องมือแพทย์ CHG EKH BDMS BCH SMD TM
• หุ้นแนะนำจาก IAA BDMS BEM CPALL GPSC KBANK TU

หุ้นรายงานพิเศษ

                                   CPN – Analyst Meeting

                           (Bloomberg Consensus 59.20 บาท)

•CPN ตกลงกับ MAJOR เข้าถือหุ้น SF สัดส่วน 30.36% ของหุ้นทั้งหมด โดยจะทำ Big Lot ผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ราคาหุ้นละ 12 บาท คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 7.766 ล้านบาท คาดว่าจะทำรายการแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนส.ค. 64 และบริษัทเตรียม tender offer ผู้ถือหุ้นอื่นของ SF ในราคาหุ้นละ 12 บาทภายในวงเงิน 17,817 ล้านบาทรวมใช้งบลงทุนราว 2.55 หมื่นล้านบาท โดยจะใช้แหล่งเงินทุนจากการกู้ยืม

•สินทรัพย์ที่ได้มามีมูลค่ารวม 3.5 หมื่นล้านบาท ปัจจุบัน SF เป็นเจ้าของศูนย์การค้า 18 โครงการ เมื่อจบดีล CPN จะเป็นเจ้าของศูนย์การค้าขนาดใหญ่ 2 แห่งคือเซ็นทรัล เวสต์เกต และเมกาบางนา ทำให้พื้นที่ให้เช่ารวมเพิ่มขึ้น 24% เป็น 2.3 ล้านตรม. และมีที่ดินรอพัฒนา 3 แปลงในทำเลรังสิต บางใหญ่ และบางนา ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการเติบโตของรายได้

•ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อดีลนี้ว่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการเติบโตในอนาคตและมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการพัฒนาโครงการที่หลากหลายประเภทและหลากทำเล ทั้งนี้ การควบรวมงบการเงินทำให้ผลประกอบการปี 64 มี upside จากประมาณการปัจจุบันของ Bloomberg Consensus ที่ระดับ 8,444 ล้านบาท -12% YoY ขณะที่คาดการณ์กำไรปี 64 ของ SF ราว 1,250 ล้านบาท ทั้งนี้ปลายมี.ค. 64 มี D/E 1.75 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ระดับ 1.28 เท่า cost of fund ค่อนข้างต่ำที่ระดับ 2.06% โดยคาดการกู้เงินจะไม่กระทบฐานะการเงิน

หุ้นมีข่าว

•MENA ผู้ให้บริการขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จ ขนส่งสินค้าอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้งจัดจำหน่ายวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือในการก่อสร้าง โดยครอบคลุมพื้นที่เขตธุรกิจสำคัญทั่วประเทศ รวมถึงเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
•ช่วงปี 2561-63 มีรายได้เท่ากับ 661 ลบ. 694 ลบ. และ 615 ลบ. ตามลำดับ ส่วนกำไรสุทธิเท่ากับ 36 ลบ. 42 ลบ. 35 ลบ. โดยมีปัจจัยการเติบโตหรือลดลงของรายได้ขึ้นกับภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้งวด 1Q64 บริษัทมีรายได้และกำไรสุทธิเท่ากับ 153 ลบ. -14%YoY และ 10 ลบ. -22%YoY ตามลำดับ
•ราคา IPO 1.20 บาท (Trailing PE = 27.6) จำนวน IPO 184 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่า 220.8 ลบ. มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ลงทุนโครงการในอนาคต 2) ชำระคืนหนี้สิน และ 3) เงินทุนหมุนเวียน

(+) BGRIM ( ฺBloomberg Consensus 55.00 บาท) กางแผนลงทุน 10 ปี อัดงบ 3 แสนล้านบาท ดันกำลังการผลิตแตะระดับ 10,000 เมกะวัตต์ หนุนเป้ารายได้เพิ่มเป็น 1 แสนล้านบาท ภายในปี 73 ลั่นไม่มีแผนเพิ่มทุนในระยะ 5 ปีนี้ พร้อมเร่งปิดดีล M&A ทั้งในและต่างประเทศ กำลังผลิตรวม 300-500 เมกะวัตต์ ประกาศ 7 ยุทธศาสตร์ ก้าวสู่ผู้ผลิตพลังงานชั้นนำระดับโลก(ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) FTE (Bloomberg Consensus - บาท) แววยอดขายครึ่งปีหลังพุ่ง เดินหน้าประมูลงานโรงงาน-กฟผ. มูลค่า 200 ล้านบาท หวังได้รับงานในไตรมาส 3/2564 ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท เติมแบ็กล็อกในมือจาก 450 ล้านบาท คาดกว่า 70% รับรู้เป็นรายได้ปีนี้ ชี้เหตุเพลิงไหม้โรงงานซอยกิ่งแก้วหนุนความต้องการระบบดับเพลิงเพิ่มขึ้น (ที่มา ทันหุ้น)

(+) BC (ราคาเหมาะสม - บาท) ลุยธุรกิจกัญชาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ หลังได้รับใบอนุญาตนำเข้าเมล็ดกัญชาและปลูกกัญชาเพื่อศึกษาวิจัยแล้ว พร้อมกางแผนเตรียมเปิดศูนย์คลินิกดูแลสุขภาพด้านกัญชา ภายในศูนย์การค้าและโรงแรมในเครือที่ภูเก็ต เชียงใหม่ ปักธงเปิดสาขาแรกได้ภายในต้นปีหน้า ตั้งเป้าเปิด 15-50 แห่ง หวังกวาดรายได้ 20 ล้านบาทต่อแห่ง (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตา

ในประเทศ  

7 ก.ค. ประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน ธปท. เผยแพร่รายงานนโยบายการเงิน ตลท. แถลงข้อมูลสรุปภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์

15 ก.ค. รัฐบาลเตรียมเปิด “สมุย พลัส โมเดล”

15 - 21 ก.ค. หุ้นกลุ่มธนาคารประกาศงบการเงินงวด 2Q64

สัปดาห์ที่ 4 ส.อ.ท. แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า

สัปดาห์ที่ 5 สศค.รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค สศอ. แถลงดัชนีอุตสาหกรรม

30 ก.ค. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

ต่างประเทศ

7 ก.ค. FOMC เปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 15-16 มิ.ย. (เช้าวันที่ 8 ก.ค.) จีนเปิดเผยทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือนมิ.ย.

8 ก.ค. สหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จาก EIA

9 ก.ค. จีนเปิดเผยดัชนี CPI& PPI เดือนมิ.ย.

          สหรัฐรายงานสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนพ.ค.

13 ก.ค. จีนรายงานยอดนำเข้า, ส่งออก และดุลการค้าเดือนมิ.ย. สหรัฐรายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนมิ.ย.