Bank Sector (2 ก.ค.64)

Bank Sector (2 ก.ค.64)

กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

  • What’s new

BOT ดประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวานเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของภาคธนาคารใน 1Q21 ธปท.ประเมินว่าระบบธนาคารไทยยังคงแข็งแกร่งโดยมีเงินกองทุนและการกันสำรองหนี้เสียในระดับสูง ซึ่งจากรายงานธนาคารพาณิชย์ไทยโดยรวมมีระดับเงินกองทุน (BIS ratio) ที่ 20% และการอัตราการตั้งสำรองเพื่อรองรับผลขาดทุนจากหนี้เสีย (coverage ratio) ที่ 150% ใน 1Q21

 

ด้าน GDP มีการฟื้นตัวโดยมีการหดตัวน้อยลงที่ 2.6% ใน 1Q21 เทียบกับการลดลง 4.2% ใน 4Q20 อย่างไรก็ดี สินเชื่อในระบบแม้จะยังสามารถขยายตัวได้ แต่เป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงเหลือ 3.8% จาก 5.1% ในไตรมาสก่อนหน้า สาเหตุหลักเป็นผลจากฐานที่สูงในปีที่ผ่านมาหลังภาคธุรกิจหลายแห่งมีการเปลี่ยนกลยุทธ์ในการระดมเงินทุนจากเดิมในตลาดตราสารหนี้เป็นเข้าหาสินเชื่อธนาคารมากขึ้นเนื่องจากภาวะตลาดการเงินที่ไม่ปกติทำให้อัตรดอกเบี้ยจากการออกตราสารหนี้หรือหุ้นกู้อยู่ในอัตราที่สูง โดยสินเชื่อภาคธุรกิจขนาดใหญ่ฃะลอตัวลงจาก 13.5% ใน 4Q20 สู่ 6.9% ใน 1Q21 ขณะที่สินเชื่อ SME ฟื้นตัวขึ้นจาก -2.8% เป็น -1.0% และสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นจาก 4.4% เป็น 5.3%

 

ด้านสัดส่วน NPL ปรับลดลงสู่ 3.10% จาก 3.12% ขณะที่กลุ่มกล่าวถึงเป็นพิเศษ (special mention) ลดลงจาก 6.62% เป็น 6.41% สอดคล้องสินเชื่อที่อยู่ในมาตรการความช่วยเหลือที่ลดลงจากระดับสูงสุด 7.2ล้านลบ. ในกลางปี 2020 เป็น 3.9ล้านลบ. ในไตรมาสก่อนและ 3.7ล้านลบ. ใน 1Q21 การตั้งสำรองรวมจึงลดลงจาก 7.2หมื่นลบ. ใน 2Q20 และ 5.2หมื่นลบ. ใน 4Q20 เป็น 4.2หมื่นลบ. ใน 1Q21

 

  • Analysis

เรามองว่าการเติบโตของสินเชื่อจะเร่งตัวในระยะถัดไป เนื่องจากภาคธุรกิจมีแนวโน้มต้องการสภาพคล่องมากขึ้นในการต่อสู้กับผลกระทบจากการระบาดรอบใหม่ของโควิด 19 และการฟื้นกิจการหลังการระบาด แม้แนวโน้มคุณภาพของสินทรัพย์จะดูดีขึ้น แต่ผลกระทบจากการระบาดระลอกสามยังไม่สะท้อนในข้อมูลของ 1Q21 เรามองการระบาดรอบล่าสุดตั้งแต่เม.ษ. 2021 มาอาจทำให้สินเชื่อเข้าสู่มาตรการความช่วยเหลือมากขึ้น อย่างไรก็ตามเราอาจเห็นสัดส่วน NPL เพิ่มขึ้นไม่ได้มากแต่การตั้งสำรองจะสูงขึ้น เนื่องจากธปท. ผ่อนคลายการจัดชั้นสินเชื่อแต่สนับสนุนให้ธนาคารตั้งสำรองมากขึ้นเพื่อรองรับความเสี่ยง ธปท.ชี้แจ้งความเป็นไปได้ในการลดดอกเบียนโยบายเพิ่มทำได้ยากเนื่องจากไม่สามารถลด FIDF ให้เป็น 0% อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้ว่าธปท. จะขยายมาตรการผ่อนผันของ FIDF เป็น 0.23% (จากเดิม 0.46%) ไปอีกปี เรามองว่าธปท.อยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออกในการรับแรงกดดันจากสังคมและรัฐบาลให้ออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม ขณะที่มาถึงขีดจำกัดของนโยบายทางการเงินแล้ว ดังนั้นเรามองกรณีฐานว่าธปท.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายแต่ลดเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อย พวกเครดิตการ์ด, สินเชื่อจำนำทะเบียนรถและสินเชื่อส่วนบุคคล 1-2% คล้ายกับปีที่แล้ว

 

  • Action/ Recommendation

เราคงให้น้ำหนักกลุ่มธนาคารมากกว่าคลาดโดยมี KBANK (ราคาเป้าหมาย 162) และ BBL (ราคาเป้าหมาย 155บาท) เป็นหุ้นเด่น