สร้างตัวสไตล์ ‘Bearhug’ ธุรกิจที่ไปไกลกว่า ‘ยูทูบเบอร์’

สร้างตัวสไตล์ ‘Bearhug’ ธุรกิจที่ไปไกลกว่า ‘ยูทูบเบอร์’

บทสัมภาษณ์ของ ซารต์ และ กานต์ เจ้าของช่อง "Bearhug" ในบทบาท "ยูทูบเบอร์" สู่เจ้าของ "ธุรกิจ" ที่ขาดทุน 17 ล้าน แล้วไง!

ก็เจ๊งอะค่ะ ที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ปิดไป 3 บริษัทแล้วทั้งเปิดคอร์สออนไลน์สอนทำยูทูบ บริษัทขายขนมจากเมืองจีน ผงโรยปิดผมล้าน มาอันล่าสุดก็ชานมกระป๋องในเซเว่นซึ่งอันนี้เรามาดุล่าสุดขาดทุนไป 17 ล้าน

น้อยคนที่จะกล้าออกมายอมรับว่าธุรกิจที่ตนเองทำกำลังล้มเหลว และมียอดขาดทุนแบบใจหาย แต่ไม่ใช่กับ ซารต์ ปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช และ กานต์ อรรถกร รัตนารมย์ อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง เจ้าของช่อง Bearhug ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 3 ล้านคน ที่ออกมาบอกเล่าว่าธุรกิจชานมกระป๋องที่ทำขายขาดทุนมากถึง 17 ล้าน 

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนไปพูดคุยกับ ซารต์ และ กานต์ Bearhug บทบาทของ นักธุรกิจ” นอกเหนือจากเจ้าของช่องยูทูบ พร้อมเทคนิคการก้าวข้ามคำว่า “ล้ม  หรือ “เจ๊ง ที่มือใหม่ต้องรับให้ได้หากจะเริ่มต้นทำธุรกิจ 

  • การกระโดดข้ามจาก อินฟลูเอนเซอร์ ยูทูบเบอร์ สู่ เจ้าของธุรกิจ 

จุดเริ่มต้นก็คือการทำชาแนล Bearhug แล้วอยากท้าทายประสบการณ์ใหม่ๆ โดยการทำธุรกิจ แบบว่ามีคนติดตามเราเยอะเป็นหลักล้าน

ซารต์ บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจในแบบเรียบง่าย ในปัจจุบัน ซารต์ และ กานต์ ถูกรู้จักจากการเป็นยูทูบเบอร์ในช่อง Bearhug ที่มีผู้ติดตามจำนวน 3.61 ล้านคน และช่อง Sunbeary ที่มีผู้ติดตามจำนวน 2.82 ล้านคน 

162461626441

162461627114

เพราะการมีคนรู้จัก มีตัวตนบนหน้าโซเซียลมีเดีย จนเกิดฐานแฟนคลับ อาจจะทำให้ธุรกิจมีจุดสตาร์ทไกลกว่าคนอื่นๆ แต่เหตุผลลึกๆ ของการทำธุรกิจนอกเหนือจากการเป็นยูทูบเบอร์ของ กานต์ คือการเก็บในสิ่งที่ชอบไว้ทำ แม้ว่าจะไม่มีคำว่ารายได้มาเกี่ยวข้อง 

คิดว่าตั้งแต่แรกๆ แล้วว่าเราไม่ได้อยากทำยูทูบไปจนถึงอายุ 50 หรือ 60 ปี จะไม่นั่งวิปัสสนาเป็นครีเอเตอร์อยู่นานขนาดนั้น  กานต์กล่าว 

ซารต์ย้ำว่า เราไม่ได้อยากทำยูทูบเบอร์เป็นอาชีพที่ต้องหารายได้ พวกเราค่อนข้างเครียดในตอนที่ได้เงินสปอนเซอร์มา หลายคนอาจจะคิดว่าช่อง Bearhug รับเงินมาเยอะ สุดท้ายแล้วก็มาพร้อมความรับผิดชอบที่สูงมาก เครียดเป็นวันสองวันเลยว่าทำยังไงให้คนดูเราโอเค ลูกค้าโอเค ของที่ลูกค้าจ้างมาต้องขายออกด้วย ซึ่งคิดว่าถ้าเรารับงานแบบนี้ไปตลอด ต้องเป็นเส้นเลือดในสมองแตกแน่

เราอยากทำยูทูบเบอร์แบบอยากทำอะไรก็ทำ ไม่ใช่เราต้องหาเงินจากมัน ก็เลยคิดว่าต้องมีธุรกิจอื่นแล้ว เพราะเราไม่ถนัดเอาคนดูมาหากินจริงๆ 

  • ธุรกิจจาก Bearhug ที่มากกว่า Bearhug

ธุรกิจที่เป็นที่รู้จักของ ซารต์ และ กานต์ นอกจากการเป็นยูทูบเบอร์คือ ร้านชานมBear House ที่มีทั้งหมด 8 สาขาทั่วกรุงเทพ แต่จากคลิป “*บทเรียนล้ำค่า* หัดทำธุรกิจด้วยหัวใจ แต่กำไรไม่เหลือของช่อง Bearhug ที่ทั้งคู่ออกมาบอกเล่าถึงการทำธุรกิจแล้วขาดทุน ทำให้ผู้คนไม่น้อยไม่รู้ว่านอกจาก ยูทูบเบอร์ เจ้าของร้านชานม ทั้งคู่ยังมีธุรกิจอื่นๆ อีก 

หลังจากที่เราทำยูทูบเบอร์ เราทำหลายธุรกิจมาก คือก่อนหน้านี้ไม่ได้เล่าให้ใครฟัง เรามีแรงบันดาลใจในการสอน แบบว่ามาทำธุรกิจการสอนดีกว่า ก็เลยเริ่มทำ คอร์สสอนออนไลน์ เก็บค่าคอร์สเป็นจำนวนสำหรับคนที่เข้ามาดู ซึ่งก็ปิดไป แล้วเราก็มีธุรกิจเที่ยวเมืองจีน รับของเล่น ขนมจากจีนมาขาย อันนี้ปิดเหมือนกัน แล้วก็มีทำธุรกิจผงโรยผมล้าน ล่าสุดคือธุรกิจชานมกระป๋องที่เพิ่งปิดไป 

ซารต์ เล่าว่า ธุรกิจชานมกระป๋องที่เพิ่งปิดไป มันเกิดจากความผิดพลาดในเรื่องการดูงบบัญชีที่ไม่ได้ตรวจสอบตลอดเวลา ด้วยความที่ทำหลายอย่าง แล้วก็ไม่ได้โฟกัสสักอย่าง พอดูยอดอีกทีก็ขาดทุนเกือบ 17 ล้าน เป็นบทเรียนราคาแพง นอกจากนี้ธุรกิจอื่นๆ ที่ปิดตัวไป ก็เพราะว่าตัวของ ซารต์ และ กานต์ รวมถึงหุ้นส่วนอื่นๆ มองว่ามันคืองานเสริม พอมันเป็นงานเสริม มันก็เลยไม่มีใครจริงจังธุรกิจก็เลยไม่รอด เลยเป็นบทเรียนไป

สรุปแล้วธุรกิจในมือของ ซารต์ และ กานต์ ที่ยังเปิดกิจการอยู่มีทั้งหมด 3 บริษัท ร้านชานม Bear House ภายใต้บริษัท 21ซันแพสชั่น จำกัด เยลลี่ 0 แคลลอรี่ ตรา Sunsu บริษัท ซันซุโซลูชั่น จำกัด และ บริษัท แบร์ฮักโปรดักชั่น จำกัด ผู้ผลิตช่องยูทูบ Sunbeary และ Bearhug 

  • ทำธุรกิจแบบอยากรู้ อยากลอง ต้องมีอะไรรองรับบ้าง

เงินค่ะ  มีอาชีพ คือตอนที่เราทำธุรกิจ เรายังมีรายได้จากการทำยูทูบอยู่ เราไม่ได้ทิ้งทุกอย่างเพื่อไปทำธุรกิจเลย  ซารต์ตอบคำถามข้างต้น 

กานต์กล่าวว่า เรามีรายได้จากยูทูบ เราสองคนซื้อประกัน เราสองคนอุดเรื่องกองทุน เราสองคนอุดเรื่องทุกอย่าง ต่อให้เราเจ๊งทางธุรกิจ อย่างน้อยเรามั่นใจแล้วว่าโอเคเราจะเจ๊งได้ที่สุดประมาณนี้แหละ ไม่ได้แบบชีวิตเสียหาย แบบ100% ขนาดนั้น ต้องมีการวางแผนสำรองไว้ระดับหนึ่ง 

ต้องมีเงินสดรองรับไว้ว่าเราจะไม่ตายจากการลองทำอะไรใหม่ๆ 

ซึ่งวิชาที่กานต์อยากแนะนำให้แก่คนที่อยากเริ่มธุรกิจ คือ วิชาเบื้องต้นทางด้านบัญชี 

วิชาที่ควรรู้เลยคือบัญชีขั้นต้น ภาษีเบื้องต้น ภาษีบุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจ เป็นพื้นฐานที่จะต้องรู้ ต่อให้ทำธุรกิจอะไรเราก็ต้องรู้ เราจะได้ไม่กลัวในการอ่านงบ ในการจ่ายภาษี แล้วก็อีกวิชาหนึ่งที่จะต้องรู้ก็คือ HR อย่างน้อยเรารู้แล้วว่าหลักๆ เรามีลูกทีมอะไรยังไง ดูแลยังไง 

  • นิยามของคำว่า ล้ม หรือ เจ๊ง และเทคนิคการให้กำลังใจตัวเองในวันที่ธุรกิจไปต่อไม่ได้ 

ล้ม ก็เหมือนเดินๆ ไปแล้วเราสะดุดล้ม แป๊บนึงแล้วเราก็ลุกขึ้นมาใหม่ แต่ว่าคำว่าเจ๊ง ผมมองว่ามันคือการที่เราเป็นหนี้เป็นสิน เรากอบกู้ไม่ได้ละ พอละบ้ายบายดีกว่า ฉันเลิก เจ๊ง คำว่าล้มเป็นเรื่องทั่วไปที่คนทำธุรกิจจะต้องเคยล้ม แล้วก็ลุกกานต์ กล่าว 

ซารต์เสริมว่า ส่วนของการให้กำลังใจตัวเอง ซารต์ไม่ใช่คนที่รวยมาก่อน เลยคิดว่าถ้าเกิดสุดท้ายแล้ว ถ้าเราเจ๊งแค่ไหน เราก็กลับก็กลับไปใช้ชีวิตที่จุดเริ่มต้นของเราได้ แล้วถ้ากำลังใจเรายังมีเราก็หาใหม่ได้เรื่อยๆ เราเกิดมาก็ไม่ได้มีตังมากอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นลองลงทุนกับเงินที่เรามีอยู่ ในช่วงเวลาที่เรามีแรงกายดีกว่า เราอายุไม่ถึง 30 ถ้าเราอายุ 40 50 มีลูกแล้ว เราอาจจะเสี่ยงมากในการที่ต้องเริ่มต้นอะไรใหม่ ตอนนี้เลยเชื่อว่าช่วงวัยนี้เป็นอะไรที่พร้อมที่สุดแล้ว 

รีบๆ ลืม 

ชีวิตมันต้องก้าวต่อ เขาว่ากันว่าคนล้มอย่าข้ามเป็นเรื่องจริง เวลาเราเจอใครล้มอย่าไปสมน้ำหน้าเขาว่า ในที่สุดก็ล้มสักที เป็นเรื่องธรรมดา ในการทำธุรกิจยังไงก็ต้องมีล้ม แค่ลุกให้เร็วเท่านั้นเองส่วนเรื่องเจ๊ง บางอย่างต้องตัดใจเจ๊ง และต้องฟื้นให้เร็ว

  • สิ่งที่อยากบอกแก่คนเริ่มต้นธุรกิจ  

ทำเองรวยเองทุกอย่างอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดี ถ้าเราอยากให้บริษัทเติบโตเราต้องให้คนมาทำแทนเรา แล้วเราก็มานั่งดูงบ ดูในสิ่งที่เจ้าของควรทำ ตอนนี้ก็คืออยู่ในขั้นสร้างทีมเริ่มต้นซารต์เริ่มต้น โดยย้ำว่า มันมีทั้งความสนุก ไม่สนุก และกลัวที่เราจะเจอสิ่งที่ไม่รู้ทุกวัน พอมันผ่านไปได้แล้วก็รู้สึกว่าเราเติบโตขึ้นอีกนิดนึงแล้วนะ ตอนน้ีต้องการการสร้างทีมที่แข็งแรง เพราะตั้งแต่โควิด มีแต่ความไม่แน่นอนในองค์กรเยอะมาก 

 ทุกอย่างเราไม่รู้ว่ามันสำเร็จไหม เราต้องมาลองดูก่อน เราชอบไหม มันไปได้ไหม หลายอย่างเราคิดแต่เราไม่ทำ สุดท้ายเราก็ไม่รู้คำตอบว่ามันจะออกมาเป็นยังไง สุดท้ายสิ่งที่เราคิดแล้วมันไม่สำเร็จก็อยากให้มีกำลังใจกับตัวเองเยอะๆ เพราะว่าถ้าเรามีกำลังใจเราจะสร้างอะไรใหม่ก็ได้ แต่เมื่อไรก็ตามที่เราท้อ เราไม่เก่ง อย่างนั้นอย่างนี้ เราอาจจะเจ๊งถาวรไปเลยก็ได้ 

ด้านกานต์ ให้มุมมองว่า ฝากถึงเด็กรุ่นใหม่ ทำธุรกิจอาจจะไม่ใช่ธุรกิจแรกของเราก็ได้ เราอาจจะต้องเจออีก 5 6 7 ธุรกิจ ต้องปิดบริษัท เปิดบริษัท และต้องไปศึกษาเรื่องของบัญชีให้ดี 

อาจจะคิดว่าเราเป็นเจ้าของธุรกิจสบายๆ  ถือเงิน จ้างลูกจ้างทำงาน ความจริงมันตรงกันข้าม ก็แค่ยอมรับมันและอยู่กับมัน