SIMAT - ซื้อ (9 มิ.ย.64)

SIMAT - ซื้อ (9 มิ.ย.64)

ลูกกตัญญู หนุนกำไรแม่ทำ New high

บ.ลูก ฮินชิสึ (HST) ผู้นำธุรกิจ Silk screen เพียงหนึ่งเดียวของไทยจากการประชุมนักวิเคราะห์ เราประเมินกำไรของ บ.ฮินชิสึ (SIMAT ถือหุ้น 70% ทำธุรกิจผลิตชิ้นงานประเภทลาเบลและพิมพ์งาน Silk screen บนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ... ดูรูปตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในรูปที่ 4) ปีนี้จะเติบโตราว +49%YoY เป็น 122 ล้านบาท (สุทธิหลังหัก Minorities interest แล้วจะเท่ากับ 86 ล้านบาท) จาก i) การ Restock สินค้าทั่วโลก ส่งผลให้ความต้องการสินค้า
เพิ่มขึ้นแบบเร่งตัวขึ้น (ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยฯ บล. เคจีไอ ไต้หวัน คาดการ Restock ทั่วโลกจะเร่งตัวขึ้นต่อเนื่องไป Peak ราวๆกลางปี 2565) ii) ในประเทศไทยมีเพียงบ.ฮินชิสึ (HST) ที่สามารถพิมพ์งานประเภท Silk screen บนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าได้มาตรฐาน iii) สมมติฐานอัตรากำไรขั้นต้นของงานพิมพ์ Silk
screen สูงราว ±40% และด้วยความที่มีคู่แข่งน้อยรายจึงสามารถต่อรองราคากับคู่ค้าได้ แม้ต้นทุนการผลิตอย่างเม็ดพลาสติกจะปรับขึ้นตามราคาน้ำมัน

ทั้งนี้ เราคาดยอดขาย 3 ปีข้างหน้าของ บ.ฮินชิสึ (HST) จะเติบโตเฉลี่ยปีละ33% CAGR 2564 - 66 โดยสมมติฐาน CAPEX ปี 2564 - 66 ปีละ 60 ล้านบาท 100 ล้านบาท และ 100 ล้านบาท ตามลำดับ และคาด SIMAT เตรียม IPO บ.ฮินชิสึ (HST) ในปี 2565 โดยล่าสุด บ.ฮินชิสึ (HST) ได้ทำการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด แล้วเมื่อเดือน ก.พ.2564

USO เน็ตห่างไกล เริ่มต้นเก็บดอกผล 2H64 นี้

SIMAT ชนะการประมูลโครงการ Universal Service Obligation: USO หรือโครงการเน็ตห่างไกล ในปี 2561 มูลค่าโครงการรวม 2.1 พันล้านบาท แบ่ง
ออกเป็น 2 เฟส คือ เฟสแรกมูลค่า 630 ล้านบาท เป็นเฟสการจัดหาอุปกรณ์และติดตั้ง (รับรู้เกือบ 100% ใน 1Q64) และเฟสที่ 2 คือ ขั้นตอนการบริหารจัดการและบำรุงรักษาต่อเนื่อง 5 ปี มูลค่ารวม 1.47 พันล้านบาท (คาดจะเริ่มรับรู้กลางปี 2564 นี้) และเราประเมินอัตรากำไรขั้นต้นของเฟสที่ 2 ไว้ราว 40% หรือคิดเป็นกำไรขั้นต้นเฉลี่ยปีละ 118 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 5 ปี (2564 - 68) ตัวถ่วงอย่างอินเตอร์เนตบรอดแบรนด์ อาจได้เป็นไพ่ Joker ตัวพลิกเกม
ธุรกิจอินเตอร์บรอดแบรนด์ถือเป็นทุกขลาภ ที่ถ่วงผลการดำเนินงานของ SIMAT ตลอดหลายปีที่ผ่านมา หลังจากที่ SIMAT ชนะการประมูลการติดตั้งโครงข่ายอินเตอร์เนตความเร็วสูงในพื้นที่ จ. นครราชสีมา และ จ.เชียงใหม่และเตรียมทำการส่งมอบให้ CAT แต่ทาง CAT ปฏิเสธการรับมอบโครงข่ายฯ ทำให้ SIMAT ต้องรับโครงข่ายฯมาบริหารจัดการธุรกิจอินเตอร์บรอดแบรนด์เอง และประสบปัญหาขาดทุนมาตลอด (ปี 2563 ขาดทุน -11 ล้านบาท และคาดปี 2564 จะยังมีผลขาดทุนอีกราว -12 ล้านบาท)

ล่าสุดในปี 2561 ศาลปกครองชั้นต้นตัดสินให้ SIMAT ชนะคดีและได้รับค่าชดเชย 53 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี อย่างไรก็ดีในปี 2562 ทาง
SIMAT ได้ทำการยื่นฟ้องเพิ่มเติมด้วยมูลค่าเงินชดเชยราว +400 ล้านบาทต่อศาลปกครองสูงสุด ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด
คาดกำไรสุทธิปี นี้ 139 ล้านบาททำจุดสูงสุดใหม่ / ลุ้นจ่ายปันผลครั้งแรกคาดกำไรปี 2564 เติบโต +240% YoY เป็น 139 ล้านบาท ซึ่งหากเป็นตาม
ประมาณการฯ ส่วนกำไรสะสมจะพลิกกลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบหลายปี ทำให้คาดว่าหลังการรายงานงบการเงินปี 2564 ในช่วงต้นปี 2565 มีโอกาสที่
SIMAT จะสามารถจ่ายปันผลได้เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี โดยเราประเมินปันผลจ่ายสำหรับปี 2564 ไว้เท่ากับ 0.04 บาท/หุ้น

แนะนำ “ซื้อ” ราคาเหมาะสม 6.8 บาท/หุ้น

ประเมินมูลค่าเหมาะสม SIMAT ด้วยวิธี Sum of the parts ได้เท่ากับ 6.8 บาท โดย ธุรกิจฮินชิสึ (HST) มูลค่า 4.1 บาท อิง PE 30 เท่า / ธุรกิจงานรับเหมาระบบฯ 2.1 บาท อิง PE 25 เท่า / ธุรกิจอินเตอร์เนตบรอดแบรนด์ 0.52 บาท (Discount 20% จากมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ณ สิ้นปี 2563) ... ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในรูปที่ 2 โดย ณ ราคาเหมาะสมที่เราประเมินคิดเป็น Forward PE 30 เท่า