Investment Strategy (1 มิ.ย.64)

Investment Strategy (1 มิ.ย.64)

ไทย: ข้อมูลล่าสุดบ่งชี้ถึงการหดตัวของเศรษฐกิจ

  • What’s new

ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยรายงานเศรษฐกิจเดือนเม.ย. มีผลจากการระบาดระลอกที่สามที่เห็นได้ชัด สะท้อนในการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ที่ชะลอตัวลง ในฝั่งซัพพลาย รายได้ภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 14.2% yoy (ผลผลิต +0.8% และราคา +13.3%) ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 18.8% yoy (จากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว: -19.1%) แต่ลดลง 16.2% mom ในทุกอุตสาหกรรม อัตราการใช้กำลังการผลิต (s.a) ลดลงสู่ 64.8 จาก 65.2 ในมี.ค. ในฝั่งความต้องการ การบริโภคภาคเอกชนลดลง 4.3% mom จากการลดลงในทุกหมวดหมู่ การลงทุนภาคเอกชนลดลง 3.1% mom จากการนำเข้าสินค้าทุน (-1.9%) และยอดขายเครื่องจักรในประเทศ (-6.5%) ตลาดแรงงานยังอ่อนแอ; อัตราการว่างงานยังคงสู่และชั่วโมงทำงานลดลงเป็นผลจากการระบาดรอบล่าสุด

 

  • Analysis

สถานการณ์ Covid-19 มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมมากกว่า ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากข้อบังคับที่เข้มงวดขึ้นและการใช้จ่ายในประเทศที่อ่อนแอลง ซึ่งทำให้เศรษฐกิจจะหดตัวมากขึ้น (qoq) ใน 2Q21 อย่างไรก็ตามหากประเทศไทยสามารถลดข้อบังคับที่มีต่อธุรกิจ และใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมกับการกระจายวัคซีนที่เร็วขึ้น เศรษฐกิจจะถึงระดับต่ำสุดภายในหกเดือนข้างหน้า วิจัยกรุงศรี ประมาณการ GDP ไทยหดตัว 0.5% qoq (เทียบกับคาดการณ์ของ Bloomberg consensus ระหว่าง -1.3% qoq ถึง -0.4%) คาดการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2021 ลดลงสู่ +2.0% จาก +2.2% ทั้งนี้ ธปท. อาจปรับคาดการณ์การเติบโตของ 2021 GDP ในการประชุมคณะกรรมการการเงินในเดือนนี้