KTB - ซื้อ

KTB - ซื้อ

มุ่งเติบโตจากฐานลูกค้าของรัฐบาล ในรูปแบบแพลตฟอร์มใหม่

Event

ประชุมนักวิเคราะห์, ปรับเพิ่มประมาณการกำไร, ปรับเพิ่มราคาเป้าหมายปี 2564F, ปรับเพิ่มคำแนะนำ

lmpact

เป็นธนาคารที่ดำเนินการตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

KTB ยืนยันว่าธนาคารยังมีสถานะเป็นธนาคารของรัฐ และจะสนับสนุนโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ โดยจะทำหน้าที่ดำเนินการตามมาตรการให้กับประชาชนผ่านแอพลิเคชั่นบนมือถือ ซึ่งนับเป็นจุดแข็งของ KTB และจะทำให้ธนาคารสามารถทำเงินได้มหาศาลจากฐานลูกค้าเพื่อสร้างการเติบโตในอนาคต โดยธุรกิจใหม่อาจจะดำเนินการภายใต้ KTB โดยตรงผ่านกลุ่มบริษัทในเครือซึ่งกำลังจะตั้งขึ้นมา นอกจากนี้ KTB ก็ได้ปรับโครงสร้างบริษัทที่อยู่ภายใต้ธนาคาร และวางตำแหน่ง KTB Advisory เป็นบริษัทโฮลดิ้ง

จะมุ่งเติบโตจากฐานลูกค้าของรัฐบาล โดยมองเป็นช่องทางใหม่ในการสร้างการเติบโต

เราคิดว่า KTB กำลังพิจารณาจะตั้งแพลตฟอร์มใหม่ในด้าน digital banking ซึ่งจะแตกต่างจากธนาคารอื่น ๆ โดยฐานลูกค้าจะมาจากฐานลูกค้าของรัฐบาลที่ใช้ แอพลิเคชั่นมือถือของรัฐบาล เราคาดว่าธุรกิจในกลุ่มนี้อาจจะรวมถึง การบริหารจัดการ e-wallet ของฐานลูกค้าที่ใช้แอพลิเคชั่นมือถือของรัฐบาล, ธุรกิจ
ประกันออนไลน์ (e-insurance), การปล่อยกู้ออนไลน์ให้กับผู้บริโภค (e-consumer lending), และบริการด้านการเงินอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ซึ่ง KTC (บริษัทลูกของ KTB กำลังอยู่ระหว่างยื่นขอใบอนุญาต)

สินเชื่อจะโตในระดับปานกลาง ในขณะที่ credit cost ผ่านช่วง peak ไปแล้ว

สินเชื่อของ KTB โต 12% ในปี 2563 โดยประมาณ 75% มาจากสินเชื่อที่ปล่อยกู้ให้กับรัฐบาล และอีก 25% มาจากสินเชื่อผู้บริโภค (จดจำนอง และสินเชื่อรายย่อยส่วนบุคคล) ดังนั้น สัดส่วนของสินเชื่อภาครัฐจึงเพิ่มขึ้นเป็น 16% ในปี 2563 (จาก 9% ในปี 2562) กดให้ NIM ในพอร์ตของธนาคารลดลงเหลือ 2.7% ในปี 2563 (จาก 3.1% ในปี 2562) สำหรับในระยะต่อไป การเติบโตของสินเชื่อ KTB จะมาจากการปล่อยกู้ให้กับรัฐบาล โดยธนาคารตั้งสำหรับปีนี้เอาไว้ที่ประมาณ 4-5% ถึงแม้ว่าการขยายสินเชื่อให้กับรัฐบาลเพิ่มขึ้นจะกดดัน NIM แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ช่วยให้ธนาคารลด credit cost ลงได้ โดย credit cost ในปี 2563 อยู่ที่ 192% (สูงกว่า credit cost ปกติประมาณ 120bps) เราคิดว่า credit cost ที่สูงเกินปกติอย่างมากช่วยหนุนให้สัดส่วน NPL coverage เพิ่มขึ้นเป็น >140% ในปี 2563 ทั้งนี้ ธนาคารคาดว่า NPL จะแกว่งขึ้นในปี 2564 แต่ credit cost ก็น่าจะยังคงอยู่ในช่วงประมาณ 125bps เพื่อรักษาระดับสัดส่วนNPL coverage เอาไว้ที่ประมาณ 120-130%

ปรับเพิ่มกำไรสุทธิปี 2564/65 ขึ้นอีก 24%/26% และปรับเพิ่มราคาเป้าหมายปี 2564F เป็น 16.5 บาท

การปรับประมาณการกำไรของเราสะท้อนถึง 1.) การปรับลด credit cost ปี 2564/65 ลงเหลือ 165bps (จากเดิมที่ 210bps/165bps 2.) การปรับลด NIM ลงเหลือ 2.9%/2.9% (จากเดิม 3.1%/2.9% 3.) การปรับสัดส่วนต้นทุน/รายได้เป็น 45%/45% (จากเดิมที่ 44%/49%) ซึ่งเมื่อเราปรับเพิ่ม P/BV ใหม่เป็น 0.6x (จากเดิมที่ 0.55x) ตาม ROE ที่ดีขึ้น ก็ทำให้เราได้ราคาเป้าหมายใหม่ปี 2564 ที่ 16.50 บาท (จากเดิมที่ 13.20
บาท)

Risks

NPL เกิดใหม่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้น, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้