KTB - ถือ

KTB - ถือ

ผลประกอบการ 4Q63 & 2563: Yield ลดลง

Event

กำไรสุทธิของ KTB ใน 4Q63 อยู่ที่ 3.8 พันล้านบาท (+23% QoQ แต่ -50% YoY) สูงกว่าประมาณการของเรา/consensus ประมาณ 20% เนื่องจากธนาคารตั้งสำรองต่ำกว่าคาด และรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น ในขณะที่กำไรสุทธิในปี 2563 อยู่ที่ 1.67 หมื่นล้านบาท (-43%) มาจาก NII (+5%) และ Non-NII (+11%) เป็นผลจากคชจ.ตั้งสำรองเพิ่มขึ้นอย่างมาก (+88%)

lmpact

ผลตอบแทนสินเชื่อ (Yield) ที่ลดลงฉุดให้ NII ลดลงใน 4Q63

Yield โดยรวมลดลงอย่างมากถึง 55bps QoQ และกดดันให้ margin ลดลง 33bps QoQ ส่งผลให้ NII ลดลง 7% QoQ และลดลง 3% YoY ในขณะที่สินเชื่อขยายตัว 2% QoQ และ 12% YoY เราคิดว่า yield ลดลงเพราะถูกกดดันจากโครงการให้ความช่วยเหลือโดยการลด yield ให้กับลูกหนี้ที่ประสบปัญหา ในขณะเดียวกัน การขยายสินเชื่อประเภท yield ต่ำ อย่างเช่น สินเชื่อธุรกิจ และ สินเชื่อรัฐบาล ก็เพิ่มแรกดดันต่อ yield ของสินเชื่อ และ margin

คุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานใน 4Q63

ในขณะที่ yield และ margin ถูกกดดัน รายได้ค่าธรรมเนียมก็เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย KTB จึงหันมากคคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจนทรงตัว QoQ ใน 4Q63 และไม่มีการบันทึกค่าใช้จ่ายลงทุนรายการใหญ่ ๆในงบ P/L ใน 4Q63 และปี 2563 ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในปี 2563 ลดลง 12%

คุณภาพสินทรัพย์

gross NPL โดยรวมลดลงเล็กน้อย -3% QoQ แต่ +4% YoY โดย NPL ที่เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยอาจจะสะท้อนถึงการปรับโครงสร้างหนี้มีปัญหาด้วยการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ด้วยการยืดอายุของสัญญาและอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากลูกหนี้ในอัตราที่ต่ำลง

Valuation & Action

การดำเนินงานหลัก ๆ ของ KTB อิงอยู่กับนโยบายรัฐบาล ดังจะเห็นได้จากการที่สัดส่วนสินเชื่อภาครัฐเพิ่มขึ้นถึง 100% คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 16% ของสินเชื่อรวมในปี 2563 ซึ่งในฐานะที่เป็นธนาคารของรัฐบาล KTB ได้ดำเนินนโยบายให้ความช่วยเหลือลูกหนี้มากกว่าธนาคารพาณิชย์แห่งอื่น ๆ ซึ่งเป็นแรงกดดันต่อ yield สินเชื่อ และ margin สำหรับในระยะต่อไป เรายังคงกังวลต่อต้นทุนการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงระบบรองรับการโตในรูปแบบดิจิทัลซึ่งจะกดดันผลการดำเนินงาน ดังนั้น เราจึงยังคงคำแนะนำ ถือ

Risks

NPL เกิดใหม่เพิ่มขึ้น และตั้งสำรองเพิ่มขึ้น, yield และ margin ลดลง