เทรดในกรอบแคบๆ ต่อไป

เทรดในกรอบแคบๆ ต่อไป

ปัจจัยต่างประเทศเป็นกลาง นักลงทุนส่วนใหญ่รอดูรายละเอียดฉบับเต็มของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้า

มุมมอง SET Index: ฝ่ายวิจัยฯ ประเมิน SET Index วันศุกร์ไซด์เวย์... หลังจากเมื่อวานนี้ตลาดหุ้นไทยปิดลบเล็กน้อย (อ่อนแอกว่าคาด) หลังจากหุ้นหลายตัวที่มี % ฟรีโฟลตต่ำ เผชิญความกังวลต่อแผนการทำประชาพิจารณ์ของ ตลท. เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมในการปรับเกณฑ์หุ้นเข้าดัชนีฯ และปรับสูตรการคำนวณดัชนีฯ... ขณะที่ในวันนี้ ปัจจัยต่างประเทศเป็นกลาง นักลงทุนส่วนใหญ่รอดูรายละเอียดฉบับเต็มของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้า ส่วนฝั่งในประเทศยังคงมีพัฒนาการเชิงบวกของสถานการณ์ COVID-19 และการที่ อย. ของไทยได้อนุมัติวัคซีนของ AstraZeneca แล้ว

ปัจจัยต่างประเทศ - เป็นกลาง: i) ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดน้ำมันทรงตัวในกรอบแคบๆ หลังนักลงทุนติดตามตัวเลขสำรองน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของ EIA ที่จะรายงานในคืนวันนี้ (รายงานล่าช้าเพราะสัปดาห์นี้ตลาดการเงินสหรัฐฯ หยุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา และมีพิธีสาบานตนของ ปธน. ไบเดนเมื่อวันพุธ) ii) ในฝั่งยุโรป ธ.กลางยุโรป (ECB) มีมติคงดอกเบี้ยระยะสั้น และมาตรการ QE ที่ระดับเดิม (1.85 ล้านล้านยูโรและทำ QE ถึง มี.ค. 2565)

ปัจจัยในประเทศ - เป็นบวกเล็กน้อย:  i) เมื่อวานนี้ กทม. มีมติผ่อนคลายกิจกรรม 13 ประเภทให้เปิดทำการได้ หลังจากสถานการณ์ COVID-19 เป็นไปในทางที่ดีขึ้น ii) ในส่วนของประเด็นทางเศรษฐกิจนั้นวันนี้ ก.พาณิชย์จะรายงานตัวเลขการค้าระหว่างประเทศเดือน ธ.ค. 2563 ซึ่ง consensus คาดว่ามูลค่า
การส่งออกของไทยในเดือนดังกล่าว จะลดลง 2.0% YoY

หุ้นเด่นวันนี้ ตามปัจจัยพื้นฐาน 

เก็งกำไร KBANK*, EPG*, SPRC*

- KBANK* (เป้าพื้นฐาน 161 บาท) 1) ประเมินแนวรับ 123 บาท / แนวต้าน 130 - 140 บาท (Stop loss 115 บาท) 2) วันนี้ฝ่ายวิจัยฯออกบทวิเคราะห์ ปรับประมาณการฯและราคาเป้าหมาย KBANK* ขึ้นหลังจากที่รายงานผลการดำเนินงาน 4Q63 ดีกว่าคาด และผู้บริหารเผยมุมมองที่ดีขึ้นต่อแนวโน้มในปี 2564 โดยเฉพาะในส่วนของคุณภาพสินทรัพย์ที่อยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ 3) PBV 0.72 เท่า ตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 1.2 เท่า ... คาดได้ Sentiment บวกเรื่องเกณฑ์ Free float ใหม่ ที่เป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้

- EPG* (เป้าพื้นฐาน 9.4 บาท) 1) ประเมินแนวรับ 8.3 บาท / แนวต้าน 8.85 - 9.0 บาท (Stop loss 7.7 บาท) 2) ประเมินแนวโน้มผลการดำเนินงานเริ่มฟื้นตัวทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจ i) Aeroflex ธุรกิจฉนวนยาง คาดรับอานิสงส์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ii) Aeroklas ธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ รับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ + ธุรกิจที่ออสเตรเลีย (TJM) พลิกกลับมาทำกำไรได้แล้ว iii) EPP ธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติก รับ Sentiment บวก จากการสั่งอาหารกลับบ้าน ในช่วงวิกฤตโควิด-19 3) PE ปี 2564/65 (ปิดงบ มี.ค.) ตํ่าเพียง 17.6 เท่า (ค่าเฉลี่ยในอดีต 23 เท่า)

- SPRC* (เป้าพื้นฐาน 9.8 บาท) 1) ประเมินแนวรับ 9.1 บาท / แนวต้าน 9.6 - 9.8 บาท (Stop loss 8.5 บาท) 2) ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินแนวโน้มค่าการกลั่นฟื้นตัวต่อเนื่องใน 1H64 จากดีมานด์พลังงานที่คาดฟื้นตัว ตามความคาดหวังเรื่องวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะดีมานด์น้ำมันอากาศยาน และการขนส่ง 3) ฝั่งอุปทาน ไม่มีกำลังการผลิตใหม่ในภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญ 4) PBV ±1.5 เท่ายังใกล้เคียง ค่าเฉลี่ยในอดีตราว 1.4 เท่า ขณะที่ผลการดำเนินงานปีนี้คาดจะ Turnaround เป็นกำไรราว 3.7 พันล้านบาท ROAE กลับมาบวกที่ 13.8% … ด้วยธีมการลงทุนเดียวกันนักลงทุนอาจพิจารณาเก็งกำไร ESSO* แนวรับ 8.7 บาท / แนวต้าน 9.2 - 9.5 บาท (Stop loss 8.45 บาท)

หุ้นมีข่าว


(0) กทม. ยังคงยึดการดำเนินการตามแผนการปรับเพิ่มค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารทั้งเส้น (เส้นหลัก+ส่วนต่อขยาย) ที่อัตราสูงสุดไว้ที่ 104 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.64 โดยผู้ว่า กทม. เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงแผนการดังกล่าวต้องมาจากคำสั่งรัฐบาลเท่านั้น (บางกอกโพสต์)

ความเห็น: เรายังคงมองข่าวดังกล่าวเป็นกลางต่อ BTS โดยเห็นว่า อัตราค่าโดยสารสูงสุดที่อัตรา 104 บาท อาจมีการพิจารณาจากรัฐบาล เพื่อให้มีข้อสรุปในประเด็นที่มีความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรามองว่าอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่เคยผ่านการเจรจาที่อัตรา 65 บาทจะได้รับการยอมรับจากผู้โดยสาร แต่ กทม. อาจต้องได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อลดภาระหนี้จำนวน 1 แสนล้านบาท (ซึ่งกทม. ได้รับภาระหนี้ดังกล่าวจากาคำสั่งการรับโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งเส้นมาจาก รฟม.) อย่างไรก็ตาม BTS ไม่ได้รับผลกระทบจากประเด็นอัตราค่าโดยสารสูงสุด เนื่องจากบริษัทรับรู้รายได้เพียงค่าจ้างบริหารสำหรับส่วนขยายจาก กทม. (ไม่ใช่ส่วนแบ่งรายได้จากค่าโดยสารในเส้นหลัก) เรายังคงแนะนำ ซื้อ BTS โดยให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 13.50 บาท

(0) 20 หุ้นได้เสียฟรีโฟลตใหม่ กองทุนดาหน้าปรับพอร์ต (ข่าวหุ้น) KBANK* เทรดสนั่นรับกำไร Q4 พุ่ง 1.3 หมื่นล้าน โต 51% จับตา 20 หุ้นได้เสียหลังปรับเกณฑ์ฟรีโฟลตใหม่ เป้ากองทุน Passive Fund ปรับพอร์ต BBL* ฟรีโฟลตสูง 98.6% ถูกเพิ่มน้ำหนักลงทุนมากสุด 125% ขณะที่ DELTA* ฟรีโฟลตต่ำ ถูกลดน้ำหนัก 49% พร้อมทั้งเสี่ยงหลุดจากดัชนี SET50 ด้าน KBANK* วิ่งสนั่นรับกำไรไตรมาส 4/63 ดีเกินคาด 1.3 หมื่นล้านบาท โต 51% ราคาเป้ าหมาย 136 บาท ส่วน SCB* งบ Q4 ขยับขึ้น 7%

(+) EA* ปักธงรายได้ปี 64 เติบโต 20% กำไรธุรกิจ EV เข้ามาหนุน หลังโรงแบตฯเสร็จ Q1 (ข่าวหุ้น) EA* กางแผนปี 64 ปั๊มรายได้เติบโต 20% จากปี 63 มั่นใจกำไรธุรกิจ EV เข้ามาหนุน หลังโรงงานแบตเตอรี่เฟสแรก 1 กิกะวัตต์เสร็จไตรมาส 1/64 พร้อมมองหาโอกาสขยายลงทุนธุรกิจไฟฟ้าเพิ่ม

(+) CHAYO ควงคู่ขาคิดใหญ่ เขย่าพอร์ตชน 7 หมื่นล้าน (ทันหุ้น) CHAYO ตัง้ งบซือ้ หนีเ้ข้าพอร์ต 1,200 ล้านบาท เผยอยู่ระหว่างขอใบอนุญาตจัดตัง้ CHAYO JV ขยายพอร์ตเข้าซื้อ ทรัพย์มีหลักประกันขนาดกลาง-ใหญ่ คาดชัดเจนภายในครึ่งแรกของปี 2564 มั่นใจดันสินทรัพย์ในพอร์ตแตะ 7 หมื่นล้านบาท
และเพิ่มเป็น 8 หมื่นล้านบาท ในปี 2565

(+) ยานยนต์กำไร Q4 มีแววเด้ง รับดีมานด์-AH ออเดอร์พุ่ง (ทันหุ้น) "กลุ่มยานยนต์" ฟื้น หลังส.อ.ท.ประกาศยอดขาย-ผลิตรถยนต์เดือนธันวาคม 2563 พุ่งต่อเนื่อง โบรกเกอร์ฟันธงพ้นจุดต่ำสุดแล้วส่องผลงาน Q4/2563 แววพลิกกำไรรับดีมานด์โต พร้อมชู AH-IHL-STANLY-SAT เด่น ด้านบอสใหญ่
"เย็บ ซู ชวน" ยิ้มรับโควิด-19 หนุนคนแห่ใช้รถยนต์เพิ่มหนุนออเดอร์ทะลัก จ่อทุ่มงบ 500 ล้านบาท อัพเครื่องจักรเพิ่ม ปูทางรับออเดอร์ใหม่

(+) CWT ชูไฟฟ้า-ออโต้แกร่ง ลุยส่งมอบรถ-เรือไฟฟ้า (ทันหุ้น) CWT ชี้ธุรกิจปี 2564 เริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวของกลุ่มออโต้ มั่นใจเติบโตมากกว่าปีก่อน ด้านธุรกิจพลังงานเตรียมขอ PPA สร้างโรงไฟฟ้าขยะเพิ่ม 9.9 เมกะวัตต์ คาดสิน้ ปี 2565 มีกำลังผลิตรวม 25 เมกะวัตต์ ส่วนธุรกิจรถ-เรือไฟฟ้า ส่ง
มอบได้ภายในครึ่งปีแรกของปี 2564 ดันรายได้ปีนี้แตะ 2,000 ล้านบาท